พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8810/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่า
จำเลยตกลงทำสัญญาเช่ารถยนต์คันพิพาทกับโจทก์ตามเอกสารซึ่งระบุว่า เป็นสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง มีกำหนด 48 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 19,100 บาท หรือคิดเป็นเงินค่าเช่าทั้งหมด 916,800 บาท และเงินประกันการเช่าอีก 57,300 บาท เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าจำเลยจะซื้อทรัพย์สินที่ให้เช่าหรือรถยนต์คันพิพาทได้ในราคา 200,000 บาท จึงรวมเป็นเงินที่ผู้เช่าหรือจำเลยจะต้องชำระทั้งหมดไม่น้อยกว่า 1,174,100 บาท โดยโจทก์คิดเป็นราคารถยนต์ คันพิพาทจำนวน 803,738.32 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 56,261.68 บาท สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่ง ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
โจทก์และจำเลยต่างมีความประสงค์ในทางสุจริตตามนัยแห่งมาตรา 6 และมาตรา 368 ว่า ต้องการจะใช้บังคับแก่กันในลักษณะเช่าทรัพย์หรือเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง จึงต้องอนุวัตน์ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญาดังกล่าวเป็นสำคัญ อีกทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาว่าด้วยทรัพย์สินที่เช่า ระยะเวลาการเช่า ค่าเช่าและเงินประกันการเช่า การประกันภัยและหน้าที่ของผู้เช่า การสูญหายและเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า การผิดสัญญา และการบอกเลิกสัญญาของผู้เช่า ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะของการเช่าทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 537 ถึงมาตรา 564 ทั้งสิ้น แม้จะมีข้อตกลงเป็นพิเศษที่กำหนดให้ผู้เช่าสามารถเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้โดยต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้ให้เช่าทราบไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนสัญญาเช่าจะสิ้นสุดลงก็เป็นแต่เพียงข้อยกเว้นในทางให้สิทธิแก่ผู้เช่าบางประการในการเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ก็ได้เท่านั้น กรณีมิใช่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่ารถยนต์แบบลิสซิ่งรายพิพาทจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2543)
โจทก์และจำเลยต่างมีความประสงค์ในทางสุจริตตามนัยแห่งมาตรา 6 และมาตรา 368 ว่า ต้องการจะใช้บังคับแก่กันในลักษณะเช่าทรัพย์หรือเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง จึงต้องอนุวัตน์ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญาดังกล่าวเป็นสำคัญ อีกทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาว่าด้วยทรัพย์สินที่เช่า ระยะเวลาการเช่า ค่าเช่าและเงินประกันการเช่า การประกันภัยและหน้าที่ของผู้เช่า การสูญหายและเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า การผิดสัญญา และการบอกเลิกสัญญาของผู้เช่า ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะของการเช่าทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 537 ถึงมาตรา 564 ทั้งสิ้น แม้จะมีข้อตกลงเป็นพิเศษที่กำหนดให้ผู้เช่าสามารถเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้โดยต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้ให้เช่าทราบไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนสัญญาเช่าจะสิ้นสุดลงก็เป็นแต่เพียงข้อยกเว้นในทางให้สิทธิแก่ผู้เช่าบางประการในการเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ก็ได้เท่านั้น กรณีมิใช่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่ารถยนต์แบบลิสซิ่งรายพิพาทจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2543)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8319/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์ยังไม่จดทะเบียน: จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนและโอนรถให้โจทก์ตามสัญญาและกฎหมาย
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนและเสียภาษีประจำปี ตกลงขายรถยนต์แก่โจทก์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สำหรับใช้เป็นยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังแรงแห่งเครื่องจักร ตามสภาพของตัวทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นสัญญาส่งมอบรถยนต์ในฐานะเป็นรถยนต์อันไม่ใช่เศษเหล็กและจำเลยต้องส่งมอบให้โจทก์ได้ผลใช้รถยนต์นั้นได้หมายความว่าจำเลยจะกระทำตามที่จำเป็นเพื่อให้โจทก์ได้จดทะเบียนรถนั้นเมื่อรถยนต์ที่จำเลยขายยังมิได้จดทะเบียนให้ถูกต้อง ต้องห้ามมิให้นำออกใช้ถือว่าจำเลยส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ของสัญญาซื้อขาย หมายถึงการชำระหนี้ของจำเลยไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ของสัญญา นอกจากนี้จำเลยยังมีความผูกพันที่จะต้องแจ้งการโอนรถให้โจทก์ต่อนายทะเบียนในลำดับต่อมาอีกด้วยแม้โจทก์จะมอบรถยนต์ให้แก่ ร. ครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อแล้วทั้งรถยนต์ที่จำเลยขายจำต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายครบถ้วนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ให้ครบถ้วนบริบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8295/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอรับสมัครเลือกตั้ง สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง การไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง
เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องที่ขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ผู้คัดค้านรับสมัครผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้คัดค้านไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้อง ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง: การแจ้งเหตุและการประกาศรายชื่อ
ผู้ร้องมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพราะเหตุเครื่องบินโดยสารล่าช้าผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่อาจแจ้งเหตุที่ตนไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งภายหลังจากวันเลือกตั้งตามกฎหมายได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องในประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อให้ผู้ร้องแจ้งเหตุขัดข้องหน้าที่ของผู้ร้องในการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งจึงยังไม่เกิดขึ้นจะถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ ผู้ร้องไม่เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8191/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาแก้เป็นจำคุกตลอดชีวิตและจำคุก 16 ปี 8 เดือน
เมื่อ ว. สายลับผู้ล่อซื้อไปถึงบ้านของจำเลยที่ 1 ตามที่นัดหมายก็ได้ซื้อแอปเปิ้ลจำนวน 2 กล่อง ไปให้จำเลยที่ 1 บรรจุเมทแอมเฟตามีนและจำเลยที่ 1 ได้นำกล่องแอปเปิ้ลให้จำเลยที่ 2 บุตรชายนำไปบรรจุเมทแอมเฟตามีนที่กระท่อมในส่วนตรงข้ามบ้านของจำเลยที่ 1 ว. ได้ให้ สัญญาณและเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมขณะที่จำเลยที่ 2 กำลังนำเอาเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนในกล่องกระดาษโดยยังมิได้ส่งมอบ ดังนี้ การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่างสายลับและจำเลยทั้งสองยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองอยู่ในระหว่างการพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
ขณะเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม จำเลยที่ 1 กำลังยืนถือวิทยุมือถืออยู่ที่หน้าบ้านเพื่อคอยดักฟังความเคลื่อนไหวของเจ้าพนักงานตำรวจ และสามารถมองเห็นกระท่อมร้างในสวนหน้าบ้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสถานที่จับจำเลยที่ 2 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนของกลาง ก่อนการจับกุม ว. ได้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 เพื่อขอวางมัดจำซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน100,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ไม่ตกลงและนัดให้ ว. ไปพบใหม่และวางมัดจำ 150,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โดยนัดรับเมทแอมเฟตามีนในวันจับกุม ดังนี้ เมื่อประกอบพยานหลักฐานอื่นตามสำนวนแล้วฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ขณะเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม จำเลยที่ 1 กำลังยืนถือวิทยุมือถืออยู่ที่หน้าบ้านเพื่อคอยดักฟังความเคลื่อนไหวของเจ้าพนักงานตำรวจ และสามารถมองเห็นกระท่อมร้างในสวนหน้าบ้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสถานที่จับจำเลยที่ 2 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนของกลาง ก่อนการจับกุม ว. ได้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 เพื่อขอวางมัดจำซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน100,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ไม่ตกลงและนัดให้ ว. ไปพบใหม่และวางมัดจำ 150,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โดยนัดรับเมทแอมเฟตามีนในวันจับกุม ดังนี้ เมื่อประกอบพยานหลักฐานอื่นตามสำนวนแล้วฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7959/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากความผิดยาเสพติดต้องมีฟ้องและพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่าย
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดตามป.อ.มาตรา 33 (2) ได้ก็ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่ยังมิได้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า เจ้าพนักงานตำรวจก็จับจำเลยพร้อมกับยึดยาเสพติดให้โทษดังกล่าวและธนบัตรของกลางได้เสียก่อน ธนบัตรของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102
เมื่อไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางเกิดขึ้นและโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบเงินของกลางโดยอ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางดังกล่าวได้และต้องคืนให้แก่เจ้าของ แม้จำเลยจะไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่ยังมิได้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า เจ้าพนักงานตำรวจก็จับจำเลยพร้อมกับยึดยาเสพติดให้โทษดังกล่าวและธนบัตรของกลางได้เสียก่อน ธนบัตรของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102
เมื่อไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางเกิดขึ้นและโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบเงินของกลางโดยอ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางดังกล่าวได้และต้องคืนให้แก่เจ้าของ แม้จำเลยจะไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7959/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากการกระทำผิดยาเสพติด ต้องมีฟ้องและพิสูจน์การกระทำความผิดฐานจำหน่ายด้วย
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ได้ก็ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่ยังมิได้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า เจ้าพนักงานตำรวจก็จับจำเลยพร้อมกับยึดยาเสพติดให้โทษดังกล่าวและธนบัตรของกลางได้เสียก่อน ธนบัตรของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102
เมื่อไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางเกิดขึ้นและโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบของกลางโดยอ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางดังกล่าวได้และต้องคืนให้แก่เจ้าของแม้จำเลยจะไม่ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่ยังมิได้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า เจ้าพนักงานตำรวจก็จับจำเลยพร้อมกับยึดยาเสพติดให้โทษดังกล่าวและธนบัตรของกลางได้เสียก่อน ธนบัตรของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102
เมื่อไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางเกิดขึ้นและโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบของกลางโดยอ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางดังกล่าวได้และต้องคืนให้แก่เจ้าของแม้จำเลยจะไม่ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7959/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากความผิดยาเสพติด: ต้องมีการฟ้องและพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายเสียก่อน จึงจะริบได้
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ได้ก็ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่ยังมิได้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า เจ้าพนักงานตำรวจก็จับจำเลยพร้อมกับยึดยาเสพติดให้โทษดังกล่าวและธนบัตรของกลางได้เสียก่อน ธนบัตรของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 102
เมื่อไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางเกิดขึ้นและโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบเงินของกลางโดยอ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางดังกล่าวได้และต้องคืนให้แก่เจ้าของ แม้จำเลยจะไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่ยังมิได้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า เจ้าพนักงานตำรวจก็จับจำเลยพร้อมกับยึดยาเสพติดให้โทษดังกล่าวและธนบัตรของกลางได้เสียก่อน ธนบัตรของกลางจึงไม่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 102
เมื่อไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางเกิดขึ้นและโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบเงินของกลางโดยอ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางดังกล่าวได้และต้องคืนให้แก่เจ้าของ แม้จำเลยจะไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7619/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในที่ดิน: โจทก์ครอบครองต่อเนื่องแม้มีผู้เช่า สิทธิยังคงอยู่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยซื้อจาก ป. มารดาจำเลย จำเลยมิได้ปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารและยอมรับข้อเท็จจริงว่ามารดาจำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์จริง ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย จำเลยต้องแสดงพยานหลักฐานให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยตามฟ้องมุ่งประสงค์เพื่อแย่งเอาสิทธิครอบครองของโจทก์มาเป็นของตนมิใช่กระทำในฐานะแทนผู้ใด หากพิสูจน์ไม่ได้ย่อมเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7615/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และการพิจารณาความผิดหลายกรรม
จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยมิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเฉพาะความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีกำหนด 5 ปี เพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 7 ปี 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี 9 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ทั้งปัญหานี้จำเลยไม่เคยยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ กรณีเป็นการต้องห้ามมิให้ยกขึ้นฎีกาอีกโสดหนึ่งด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
แม้เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนจะเป็นยาเสพติดอยู่ในประเภท 1 ด้วยกัน แต่ก็เป็นคนละชนิดกัน และเป็นความผิดตามกฎหมายคนละมาตรากัน จำเลยมีเจตนาในการครอบครองยาเสพติดให้โทษไว้ในลักษณะต่างกัน และจำเลยเองได้ให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องหรือตามสภาพของยาเสพติดแต่ละชนิดที่ประสงค์ในการมีอยู่ไม่เหมือนกัน จึงเป็นความผิดคนละกรรม
แม้เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนจะเป็นยาเสพติดอยู่ในประเภท 1 ด้วยกัน แต่ก็เป็นคนละชนิดกัน และเป็นความผิดตามกฎหมายคนละมาตรากัน จำเลยมีเจตนาในการครอบครองยาเสพติดให้โทษไว้ในลักษณะต่างกัน และจำเลยเองได้ให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องหรือตามสภาพของยาเสพติดแต่ละชนิดที่ประสงค์ในการมีอยู่ไม่เหมือนกัน จึงเป็นความผิดคนละกรรม