พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7539/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเวนคืนที่ชอบด้วยกฎหมายและการไม่มีละเมิดจากการสำรวจเพื่อเวนคืน
โจทก์ไม่ได้ปฏิเสธว่าที่ดินโจทก์ไม่ได้อยู่ในบริเวณที่ดินที่จะเวนคืนและยอมรับในหนังสือร้องเรียนว่าจำเลยที่ 4 กำหนดตำแหน่งที่ดินเวนคืนในที่ดินของโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม ดังนี้ เมื่อพิจารณาเอกสารประกอบกันแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯเมื่อพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยานอีกต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนแม้จะมีผลทำให้ที่ดินของโจทก์บางส่วนถูกเวนคืน แต่ก็เป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจกระทำได้ตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราชฯ ซึ่งใช้บังคับขณะตราพระราชกฤษฎีกาฯและมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ การตราพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้จึงเป็นไปโดยอำนาจแห่งกฎหมายไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดและยังเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามขั้นตอนของกฎหมายโดยชอบแล้วจำเลยที่ 4 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอำนาจให้กระทำหรือควบคุมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงมีสิทธิเข้าไปในที่ดินโจทก์เพื่อทำการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินที่ต้องถูกเวนคืนที่แน่นอน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนแม้จะมีผลทำให้ที่ดินของโจทก์บางส่วนถูกเวนคืน แต่ก็เป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจกระทำได้ตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราชฯ ซึ่งใช้บังคับขณะตราพระราชกฤษฎีกาฯและมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ การตราพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้จึงเป็นไปโดยอำนาจแห่งกฎหมายไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดและยังเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามขั้นตอนของกฎหมายโดยชอบแล้วจำเลยที่ 4 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอำนาจให้กระทำหรือควบคุมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงมีสิทธิเข้าไปในที่ดินโจทก์เพื่อทำการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินที่ต้องถูกเวนคืนที่แน่นอน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7382/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังแผนที่พิพาทเป็นพยานหลักฐาน และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 7450ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนขนย้ายบ้านพิพาทพร้อมทรัพย์สินต่าง ๆ และบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 7450 กับชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเดือนละ 380 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทภายใน 7 วัน ต่อมาโจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยได้คำนวณทุนทรัพย์ของที่ดินพิพาทรวมเป็นเงิน 620,000 บาท คำสั่งของศาลชั้นต้นนี้จะชอบหรือไม่ประการใดคู่ความทุกฝ่ายรวมทั้งจำเลยต้องรู้ หากจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องชอบที่จะยื่นคำร้อง ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณามีคำสั่งในเรื่องนี้ใหม่หรือโต้แย้งคัดค้านไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในภายหลังได้ แต่หากไม่ดำเนินการจนเกิดความผิดพลาดขึ้นก็จะกลับมาปฏิเสธเพื่อให้พ้นความรับผิดมิได้
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1จะได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้โดยอาจเข้าใจว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 และผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงไม่อาจรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้อีก
โจทก์อ้างแผนที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นสั่งยกเลิกการจัดทำแล้วเป็นเพียงการอ้างเอกสารเป็นพยานเท่านั้น ส่วนศาลจะรับฟังหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล และการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเอกสารที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือศาลต้องรับรองความถูกต้องเสียก่อน
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1จะได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้โดยอาจเข้าใจว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 และผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงไม่อาจรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้อีก
โจทก์อ้างแผนที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นสั่งยกเลิกการจัดทำแล้วเป็นเพียงการอ้างเอกสารเป็นพยานเท่านั้น ส่วนศาลจะรับฟังหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล และการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเอกสารที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือศาลต้องรับรองความถูกต้องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7382/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารและการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ในวันนัดพร้อม คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงรับข้อเท็จจริงว่าแผนที่พิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ศาลชั้นต้นจึงให้เลื่อนนัดชี้สองสถานไป ครั้งถึงวันนัดชี้สองสถาน จำเลยแถลงคัดค้านเรื่องเนื้อที่ตามแผนที่พิพาทจึงขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำแผนที่พิพาทใหม่ แต่โจทก์ไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ยกเลิกการทำแผนที่พิพาทกลาง ต่อมาโจทก์ได้อ้างพนักงานที่ดินผู้จัดทำแผนที่พิพาทมาเป็นพยานต่อศาล เพื่อเบิกความยืนยันถึงรายละเอียดและวิธีการจัดทำแผนที่พิพาทดังกล่าว พร้อมกันนั้นทนายโจทก์ได้ส่งเอกสารแผนที่พิพาทมาเป็นพยานต่อศาลด้วย กรณีจึงเห็นได้ว่า โจทก์เพียงแต่อ้างแผนที่พิพาทเป็นเอกสารฉบับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งศาลจะรับฟังหรือไม่ก็แล้วแต่ดุลพินิจของศาลทั้งการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเอกสารที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือศาลต้องรับรองความถูกต้องเสียก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานเอกสาร ถือเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อคดีจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้โดยอาจเข้าใจว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ก็ย่อมเป็นการไม่ชอบตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ดังนี้ ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงไม่อาจรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้อีก ทั้งศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยได้ด้วยเพราะเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6931-6932/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคดีปกครอง และการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอำนาจ
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าให้รวมสำนวนไว้ ย่อมมีผลเป็นการปฏิเสธที่จะส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลฎีกาพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6931-6932/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ และหลักเกณฑ์การส่งเรื่องตามรัฐธรรมนูญ
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าให้รวมสำนวนไว้ ย่อมมีผลเป็นการปฏิเสธที่จะส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6801/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความกับคดีแพ่งต่อคดีอาญาเช็ค: สิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้สละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับ และแม้ในสัญญาจะระบุเป็นข้อยกเว้นว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับถือว่ามีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายโดยชัดแจ้งตกเป็นโมฆะ และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารบันทึกการรับเงินเป็นหลักฐานการกู้ยืม การคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่าเงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไป ถ้า ป. (หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม 2537จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืมสำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึงว่า จำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดรวมกันแล้วก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งแล้ว
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินและการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงดอกเบี้ย
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่า เงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไป ถ้า ป.(หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืม สำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึง จำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ดังความในตอนท้ายที่ลงชื่อว่าผู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงิน: การตีความข้อตกลงและดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่า เงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไปถ้า ป. (หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม2537 จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืม สำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึงจำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ดังความในตอนท้ายที่ลงชื่อว่าผู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติหน้าที่: การควบคุมตัวผู้ต้องหา
เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเริ่มจับกุมโจทก์ ถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ครั้นเมื่อจับกุมโจทก์ได้ก็จะต้องควบคุมตัวโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ การควบคุมตัวโจทก์ไปส่งไปที่สถานีตำรวจจึงถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน หากเจ้าพนักงานตำรวจได้ ทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมตำรวจเป็นจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิด ที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหาย อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้"