คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ เจตนาการณ์กุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุม ถือเป็นการละเมิดต่อรัฐ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานของรัฐเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
การที่เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดจำนองที่ดินจัดสรรโดยไม่สุจริต และการละเลยบทบัญญัติกฎหมายควบคุมการจัดสรรที่ดิน
โจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในโครงการบ้านจัดสรรจากจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนโครงการ โจทก์ได้ผ่อนชำระบางส่วนแล้ว ส่วนที่เหลือจะชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โดยจำเลยที่ 1 ได้มอบบ้านพิพาทให้โจทก์เข้าอยู่อาศัยแต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินที่อยู่ภายใต้การจัดสรรแล้วไปจำนองพร้อมบ้านพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ภายหลังจากที่หมู่บ้านจัดสรรดังกล่าวได้จัดสรรที่ดินขายแก่โจทก์แล้วนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะธนาคารผู้สนับสนุนโครงการควรกระทำการตรวจสอบหลักฐานการเป็นเจ้าของให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนจึงจะรับจดทะเบียนจำนองไว้ ประกอบกับจำเลยที่ 2 ย่อมต้องทราบหรือถือว่าได้ทราบว่ามีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ห้ามทำนิติกรรมใด ๆ อันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินจัดสรรเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ ทั้งไม่ปรากฏว่าในการทำนิติกรรมจดทะเบียนจำนองครั้งนี้ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการแล้วด้วย พฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้จงใจหรือแกล้งละเลยต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันมีไว้ด้วยเจตนารมณ์เพื่อป้องกันประชาชนผู้สุจริต โดยมุ่งประสงค์แต่ในทางที่จะได้กำไรเพียงสถานเดียว ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดจำนองที่ดินจัดสรรโดยธนาคารผู้สนับสนุนโครงการโดยไม่สุจริต ทำให้การจดจำนองเป็นโมฆะ
การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นบริเวณหมู่บ้านจัดสรรไปจำนองพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านพิพาทแก่จำเลยที่ 2 อีก ภายหลังจากที่หมู่บ้านจัดสรรดังกล่าวได้จัดสรรที่ดินขายแก่โจทก์แล้ว โดยปรากฏข้อความชัดเจนว่าโฉนดที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ภายใต้การจัดสรรแล้วประมาณ 2 ปี จำเลยที่ 2 ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้สนับสนุนโครงการหากได้กระทำการโดยสุจริตก็ควรจะได้เฉลียวใจหรือควรได้รู้ถึงว่าการมีบ้านพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังนั้นก็เนื่องจากจำเลยที่ 1 จัดสรรขายให้แก่ลูกค้าไปแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้กระทำการตรวจสอบหลักฐานการเป็นเจ้าของให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนจึงจะรับจดทะเบียนจำนองไว้ ประกอบกับจำเลยที่ 2 ในฐานะธนาคารผู้สนับสนุนโครงการย่อมต้องทราบหรือถือว่าได้ทราบว่ามีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ห้ามทำนิติกรรมใด ๆอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินจัดสรร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ ทั้งไม่ปรากฏว่าในการทำนิติกรรมจดทะเบียนจำนองครั้งนี้ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการแล้วด้วย พฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้จงใจหรือแกล้งละเลยต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันมีไว้ด้วยเจตนารมณ์เพื่อป้องกันประชาชนผู้สุจริตโดยมุ่งประสงค์แต่ในทางที่จะได้กำไรเพียงสถานเดียวถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายบ้านแยกจากที่ดินได้หากเจตนาตรงกัน แม้บ้านจะไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ดินนั้น
การซื้อขายบ้านในลักษณะที่คงสภาพอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ โดยแยกต่างหากจากที่ดินที่บ้านนั้นปลูกสร้างอยู่สามารถทำได้โดยชอบ เมื่อการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวมิได้ยึดถือแนวเขตที่ดินตามโฉนดเป็นตัวกำหนดที่ตั้ง ซึ่งจำเลยเป็นผู้รู้ข้อเท็จจริงนี้ดีและได้แสดงเจตนาขายบ้านและที่ดินพิพาทแก่โจทก์พร้อมกันได้ในคราวเดียว จึงเป็นการยอมรับสภาพในผลของสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นนั้นว่า เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและบ้านหลังดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว บ้านนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีทั้งที่มิได้อยู่บนที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แม้สิ่งปลูกสร้างมิได้ตั้งอยู่บนที่ดิน ก็สามารถทำได้โดยชอบ
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความระบุไว้แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยประสงค์จะดำเนินการจดทะเบียนสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามกฎหมายต่อไปในภายหน้า สัญญาฉบับนี้จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ที่จัดทำเป็นหนังสือมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง
การซื้อขายบ้านในลักษณะที่คงสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยแยกต่างหากจากที่ดินที่บ้านนั้นปลูกสร้างอยู่สามารถทำได้โดยชอบเมื่อปรากฏว่าการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวมิได้ยึดถือแนวเขตที่ดินตามโฉนดเป็นตัวกำหนดที่ตั้ง ซึ่งจำเลยเป็นผู้รู้ข้อเท็จจริงนี้ดีและได้แสดงเจตนาขายบ้านและที่ดินพิพาทแก่โจทก์พร้อมกันไปในคราวเดียวจึงเป็นการยอมรับสภาพในผลของสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นนั้นว่า เมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวแก่โจทก์แล้วบ้านนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีทั้งที่มิได้อยู่บนที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้กู้ยืมที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ทำให้การออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายการออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
++ ++++++++++++++++++++++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยและนายสุพลอินทรำพรรณ สามีของจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินนายฉัตรชัย เจริญผล ผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2539ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
ต่อมาจำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุดลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จำนวนเงิน 100,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.3 ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝาก
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ คดีนี้จำเลยและสามีร่วมกันกู้ยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1สำหรับการกู้ยืมเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" และประมวลรัษฎากร มาตรา 118บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น เมื่อสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 ต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยและสามีไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องบังคับจำเลยและสามีให้คืนเงิน 100,000 บาทแก่ตนมิได้ เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ แม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยจะได้ความว่า จำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายเสียแล้ว การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
++
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือว่าจำเลยกู้ยืมและทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากผู้เสียหายจริงข้อเท็จจริงจึงยุติว่า จำเลยกู้ยืมเงินจริง คดีไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานในคดี แม้สัญญากู้ยืมเงินมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินให้ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น
++ ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ให้ถูกต้องความผิดของจำเลยก็ยังไม่เกิด
++ ขณะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยและมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวกับจำเลยตลอดจนในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การกระทำของจำเลยก็ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
++ ที่จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายก็ไม่อาจทำให้สิทธิการร้องทุกข์ของผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่มีมาแต่เริ่มแรกพลิกฟื้นเกิดขึ้นโดยมีผลย้อนหลังไปได้คำฟ้องที่เสียไปก็ไม่อาจกลับคืนดีขึ้นมาได้อีก
++ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ความรับผิดทางอาญามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 บังคับว่าไม่ว่าพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานได้เพียงใด หรือไม่ก็มีบทบัญญัติบังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 อันเป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา การฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227นั้น
++ เห็นว่า ก่อนศาลจะฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย ต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า มีการกระทำครบองค์ประกอบเป็นความผิดสำเร็จตามกฎหมายเสียก่อน แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 มีองค์ประกอบความผิดที่เกี่ยวกับหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ว่า ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คชำระเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีประมวลกฎหมายรัษฎากรบัญญัติถึงการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งของสัญญากู้ยืมเงินกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง จึงแตกต่างจากหนี้ทางแพ่งอื่นทั่วไปเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้แจ้งชัดเช่นนี้ ย่อมไม่มีหนทางที่จะนำหลักกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาทำให้พลิกผันไปเป็นอย่างอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินไม่ปิดอากรแสตมป์ ทำให้หนี้ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ส่งผลให้การออกเช็คชำระหนี้ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหายแต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หลังพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และการเลือกนายกฯ
บทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯกำหนดให้สภาจังหวัดเป็นสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมิได้บัญญัติให้มีการเลือกประธานสภาและรองประธานสภาขึ้นใหม่ คงให้เลือกเฉพาะนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่านั้นแม้จะมีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ กำหนดให้มีการเลือกประธานสภาและรองประธานสภาขึ้นใหม่ก็ตามแต่เป็นกรณีมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1เรียกประชุมสภาเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานสภาจังหวัดมิได้ทำหน้าที่ดำเนินการประชุมทั้งที่อยู่ในที่ประชุมจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยังผลให้ผู้ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในการประชุมครั้งนั้นมิชอบไปด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงยังคงดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอยู่ และสามารถเรียกประชุมให้มีการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายได้ การประชุมในครั้งหลังจึงชอบด้วยกฎหมายและหาเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5085/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินเป็นการลงโทษ การคืนทรัพย์ให้เจ้าของผู้สุจริตต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เป็นการยกเว้นโทษจำเลย
การริบทรัพย์สินเป็นการลงโทษผู้กระทำความผิดหรือจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5) ประกอบมาตรา 33(1) ฉะนั้น การคืนของกลางแก่เจ้าของทรัพย์ผู้สุจริตหรือผู้ที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดถือเป็นข้อยกเว้นอันจะต้องพิจารณาโดยเคร่งครัด เพราะเท่ากับเป็นการยกเว้นโทษดังกล่าวให้แก่จำเลยไปด้วยในตัว
จำเลยนำรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ขับแข่งรถในทางอันเป็น การกระทำที่ผิดกฎหมาย ย่อมเป็นการผิดข้อสัญญาเช่าซื้อ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้ร้องตามข้อสัญญาโดยต้องชดใช้ราคา หากผู้ร้องต้องการใช้สิทธิแห่งตนโดยสุจริตและตามความประสงค์หลักในการทำสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องควรที่จะเรียกร้องเอาการชำระหนี้เรื่องราคาจากจำเลยให้ครบถ้วนตามข้อสัญญาเช่าซื้อ หาควรเรียกร้องเอารถจักรยานยนต์ของกลางอันอาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่จำเลยด้วยไม่ หรือนับเป็นการเบี่ยงเบนไม่เรียกร้องค่าเช่าซื้อเพื่อจะช่วยเหลือจำเลยมิให้ต้องรับโทษเต็มตามคำพิพากษาที่กำหนดไว้ พฤติการณ์ของผู้ร้องเป็นการขอคืนของกลางโดยไม่สุจริต
of 24