พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น แทนที่จะคัดค้านศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยในส่วนเนื้อหาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลนั้น ล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยการคัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร โดยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คแล้วกลับปฏิเสธการผ่อนชำระ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ระหว่างพิจารณา จำเลยและโจทก์ร่วมแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าคดีตกลงกันได้ โดยจำเลยจะชำระเงินตามเช็คพิพาท โดยชำระงวดแรกจำนวน 100,000 บาท งวดต่อไปทุกวันที่ 20 ของเดือนถัดไป โดยชำระไม่ต่ำกว่างวดละ 50,000 บาท และต้องชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันชำระงวดแรก โดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามรายงานกระบวนพิจารณาเป็นหลักฐานแสดงว่าจำเลยยอมรับผิดตามฟ้อง และคดีไม่จำต้องสืบพยานอีกต่อไป แต่จำเลยและโจทก์ร่วมตกลงให้ศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปเพื่อให้โอกาสจำเลยมีเวลาหาเงินมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ร่วม โดยจำเลยยังคงรับผิดในหนี้ตามเช็คทุกฉบับ รวมตลอดถึงโทษทางอาญาที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาในวันนัดที่เลื่อนไป จึงไม่มีการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลย ไม่มีการผ่อนผันลดจำนวนหนี้ลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของมูลหนี้ ต่อมาโจทก์ร่วมไม่ยอมรับเช็คธนาคาร (แคชเชียร์เช็ค) ที่จำเลยนำมามอบให้ และขอให้จำเลยผ่อนชำระหนี้งวดละไม่น้อยกว่า 150,000 บาท จำเลยยืนยันจะชำระหนี้ตามที่แถลงไว้ โจทก์ร่วมขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา จำเลยถอนคำให้การรับสารภาพพร้อมกับให้การปฏิเสธขอสู้คดีต่อไป ซึ่งศาลชั้นต้นสืบพยานของทั้งสองฝ่ายจนจบสิ้นกระแสความ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมและจำเลยว่าไม่ประสงค์ให้รายงานกระบวนพิจารณามีผลผูกพันให้โจทก์ร่วมและจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยฝ่ายใดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นอย่างอื่นไม่ได้ รายงานกระบวนพิจารณาจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และการผิดสัญญา ไม่ถือเป็นการละเมิด โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญา
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ของเจ้ามรดกที่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยตกลงว่าหากจำเลยได้รับมรดกมาเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยจะชำระหนี้ดังกล่าวทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ ถ้าทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับมาไม่พอแก่การชำระหนี้ จำเลยจะยกทรัพย์มรดกที่รับมาทั้งหมดให้โจทก์การที่จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ก็ดี หรือจำเลยไม่โอนทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ล้วนแต่เป็นการผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้หรือเรียกเอา ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213,215,222 หรือมาตรา 224 แล้วแต่กรณี การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายและสภาพหนี้ ผู้รับสภาพหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ของเจ้ามรดกที่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยตกลงว่าหากจำเลยได้รับมรดกมาเป็นจำนวนเท่าใดจำเลยจะชำระหนี้ดังกล่าวทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ ถ้าทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับมาไม่พอแก่การชำระหนี้จำเลยจะยกทรัพย์มรดกที่รับมาทั้งหมดให้โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ก็ดีหรือจำเลยไม่โอนทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ล้วนแต่เป็นการผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 , 215 , 222 หรือมาตรา 224 แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ 6 เดือน ตาม ม.563 พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์ เริ่มนับเมื่อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า แม้สัญญายังไม่สิ้นสุด
คำว่า ส่งทรัพย์สินที่เช่าตามถ้อยคำในมาตรา 563 ป.พ.พ. มิได้ให้คำจำกัดความไว้ และการส่งคืนทรัพย์สิน ที่เช่าตามมาตราดังกล่าว กฎหมายก็มิได้บัญญัติไว้ให้เกี่ยวเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือการบอกเลิกสัญญาเช่าและตามความในมาตรา 564 ถึงมาตรา 571 (ความระงับแห่งสัญญาเช่า) ก็ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า ถ้าได้มีการส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าแล้วให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุด ฉะนั้นอายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 563 จึงต้องเป็นเรื่องการส่งคืนทรัพย์ที่เช่าเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องคำนึงถึงสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือการบอกเลิกสัญญาเช่า
จำเลยได้ติดต่อขอเช่าและทำสัญญาเช่าอุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูง (ไลน์การ์ด) จากโจทก์จำนวน 43 ชุด โจทก์ได้ให้พนักงานนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปติดตั้งให้จำเลยเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้นจำเลยก็ได้รับประโยชน์หรือ ถือว่าได้ใช้อุปกรณ์ที่เช่าดังกล่าวตลอดมา ในระหว่างอายุสัญญาเช่าได้เกิดฝนตกหนักทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ในบริเวณที่อุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูง (ไลน์การ์ด) ติดตั้งอยู่ ทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับความเสียหาย 23 ชุด คิดเป็นเงิน 197,780 บาท การที่พนักงานของโจทก์ไปทำการรื้อถอนและเก็บอุปกรณ์ดังกล่าวคืนมานั้นหากไม่มีความชำนาญจะติดตั้งอุปกรณ์ไลน์การ์ดไม่ได้ เพราะไม่มีการดับไฟฟ้าแรงสูง ดังนั้นการที่พนักงานของโจทก์ไป รื้อถอนอุปกรณ์ดังกล่าวและเก็บเอามาทั้งหมดด้วยความยินยอมของจำเลยตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2535 และต่อมาโจทก์เรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายบางส่วนจำนวน 23 ชุด พฤติการณ์จึงพอถือได้ว่าได้มีการ ส่งคืนหรือทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมตามความหมายทั่ว ๆ ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2535 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความซึ่งไม่พักต้องคำนึงถึงว่าผู้ว่าการของโจทก์จะได้รับรู้หรือไม่อย่างไร เพราะมาตรา 563 มิได้บัญญัติถึงการรับรู้ของผู้เสียหายไว้ด้วยดังเช่น มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
จำเลยได้ติดต่อขอเช่าและทำสัญญาเช่าอุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูง (ไลน์การ์ด) จากโจทก์จำนวน 43 ชุด โจทก์ได้ให้พนักงานนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปติดตั้งให้จำเลยเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้นจำเลยก็ได้รับประโยชน์หรือ ถือว่าได้ใช้อุปกรณ์ที่เช่าดังกล่าวตลอดมา ในระหว่างอายุสัญญาเช่าได้เกิดฝนตกหนักทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ในบริเวณที่อุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูง (ไลน์การ์ด) ติดตั้งอยู่ ทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับความเสียหาย 23 ชุด คิดเป็นเงิน 197,780 บาท การที่พนักงานของโจทก์ไปทำการรื้อถอนและเก็บอุปกรณ์ดังกล่าวคืนมานั้นหากไม่มีความชำนาญจะติดตั้งอุปกรณ์ไลน์การ์ดไม่ได้ เพราะไม่มีการดับไฟฟ้าแรงสูง ดังนั้นการที่พนักงานของโจทก์ไป รื้อถอนอุปกรณ์ดังกล่าวและเก็บเอามาทั้งหมดด้วยความยินยอมของจำเลยตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2535 และต่อมาโจทก์เรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายบางส่วนจำนวน 23 ชุด พฤติการณ์จึงพอถือได้ว่าได้มีการ ส่งคืนหรือทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมตามความหมายทั่ว ๆ ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2535 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความซึ่งไม่พักต้องคำนึงถึงว่าผู้ว่าการของโจทก์จะได้รับรู้หรือไม่อย่างไร เพราะมาตรา 563 มิได้บัญญัติถึงการรับรู้ของผู้เสียหายไว้ด้วยดังเช่น มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าโดยความยินยอม และการริบเงินประกัน
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่า1 ปี 6 เดือน โจทก์ได้วางเงินประกันไว้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบตึกแถวคืนจำเลยในสภาพเรียบร้อย โจทก์ขอบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าและจำเลยยินยอมให้โจทก์เลิกสัญญาได้ จึงเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างสมัครใจตกลงเลิกสัญญาต่อกันแต่โจทก์จำเลยมีข้อตกลงในการเลิกสัญญาเช่าว่าโจทก์ยอมให้จำเลยริบเงินประกันได้จำเลยจึงมีสิทธิริบเอาเงินประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกสัญญาเช่าและการริบเงินประกัน: การยินยอมให้ริบเงินประกันเป็นผลให้จำเลยมีสิทธิริบได้
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่า1 ปี 6 เดือน โจทก์ได้วางเงินประกันไว้แก่จำเลย โจทก์ขอบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาและจำเลยยินยอมให้โจทก์เลิกสัญญาได้จึงเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างสมัครใจตกลงเลิกสัญญาต่อกัน แต่โจทก์จำเลยมีการตกลงในการเลิกสัญญาเช่าว่าเงินประกันต้องริบและโจทก์ยินยอมให้ริบได้ จำเลยจึงมีสิทธิริบเอาเงินประกันดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกสัญญาเช่าและการริบเงินประกัน หากมีข้อตกลงยินยอมให้ริบได้
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่า 1 ปี 6 เดือน โจทก์ได้วางเงินประกันไว้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบตึกแถวคืนจำเลยในสภาพเรียบร้อย โจทก์ขอบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าและจำเลยยินยอมให้โจทก์เลิกสัญญาได้ จึงเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างสมัครใจตกลงเลิกสัญญาต่อกัน แต่โจทก์จำเลยมีข้อตกลงในการเลิกสัญญาเช่าว่าโจทก์ยอมให้จำเลยริบเงินประกันได้ จำเลยจึงมีสิทธิริบเอาเงินประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทหลักทรัพย์จากข่าวเท็จ
โจทก์เป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. ตลอดจนเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นผู้บริหารในตำแหน่งประธานกรรมการ และมีหุ้นถืออยู่ร้อยละ 80.93 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ถือได้ว่าโจทก์มีความเกี่ยวพันกับบริษัทดังกล่าวเป็นพิเศษ ความเชื่อถือของประชาชนต่อธุรกิจของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. จึงอาศัยชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์เป็นสำคัญ ฉะนั้น เมื่อมีผู้กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงที่เป็นผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกิจการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. แล้ว โจทก์ก็ย่อมได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณทางทำมาหาได้ของโจทก์ด้วย แม้ว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. จะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ก็ตาม ดังนั้น การที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจากการแถลงข่าวอันเป็นเท็จของจำเลยทั้งสอง เป็นผลให้ประชาชนผู้ฝากเงินเกรงว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. จะไม่มีเงินให้ถอนคืนเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงินจึงมารุมถอนเงินมากผิดปกติ อีกทั้งจำเลยได้สั่งให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. หยุดกิจการ และให้โจทก์พ้นจากหน้าที่ การกระทำของจำเลยที่มีผลถึงโจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบเพื่อฉ้อโกงโดยมีวางแผนร่วมกัน การกระทำต่อเนื่องแสดงเจตนา
พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมปรึกษาหารือกันมาก่อนเป็นลำดับโดยให้จำเลยทั้งสองทำทีเป็นเข้าไปขอเช่าที่ดินจากผู้เสียหายทั้งสอง เพื่อสร้างความสนิทสนมไว้เบื้องต้นก่อน ซึ่งจะเป็นช่องทางที่จะชักนำผู้เสียหายทั้งสองเดินไปสู่หลุมพรางอันจำเลยทั้งสองกับพวกรวม5 คน ได้ทำกับดักเอาไว้ หลังจากนั้นจึงได้ชักนำผู้เสียหายทั้งสองไปที่บ้านหลังหนึ่งและให้ดื่มน้ำซึ่งผสมสารมึนเมา แล้วนำพาผู้เสียหายทั้งสองไปถอนเงินที่ธนาคาร และขอยืมเงินไปเล่นการพนันกำถั่วจนกระทั่งแพ้การพนันหมดเงินจำนวนดังกล่าว โดยจำเลยทั้งสองกับพวกไม่เคยปริปากพูดถึงเรื่องการเช่าที่ดินดังกล่าวในตอนแรกอีกเลย ซึ่งวิธีการเช่นนี้หากไม่มีการนัดแนะและร่วมกันวางแผนหาหนทางกันมาก่อนผลก็ย่อมจะเกิดขึ้นเป็นลำดับสอดคล้องเช่นนั้นไม่ได้ กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนาอันถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้สมคบกับพวกตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามปี จึงถือว่าจำเลยทั้งสองสมคบกับพวกตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานเป็นซ่องโจร