พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดลักทรัพย์ในสถานที่สาธารณะของมหาวิทยาลัย
จำเลยลักเอาเงินซึ่งใส่ไว้ในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายขณะที่วางไว้ที่โต๊ะอาหารภายในโรงอาหารของมหาวิทยาลัยที่ซึ่งนักศึกษาหรือประชาชนอื่นใด ผู้ที่เข้ามาติดต่อราชการกับมหาวิทยาลัยอันมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปนั่งรับประทานอาหารได้ เป็นที่ซึ่งอยู่ภายในบริเวณรั้วของมหาวิทยาลัย แต่โรงอาหารเป็นบริเวณนอกอาคารเรียนหรือนอกสถานที่ตั้งอันเป็นที่ปฏิบัติงานของราชการหรือข้าราชการตามปกติ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทบัญญัติ ป.อ.มาตรา335(8) จำเลยคงมีความผิดเพียงตามมาตรา 334
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'สถานที่ราชการ' ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) โรงอาหาร มหาวิทยาลัย ไม่ถือเป็นสถานที่ราชการ
จำเลยลักเอาเงินซึ่งใส่ไว้ในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายขณะที่วางไว้ที่โต๊ะอาหารภายในโรงอาหารของมหาวิทยาลัยที่ซึ่งนักศึกษาหรือประชาชนอื่นใด ผู้ที่เข้ามาติดต่อราชการกับมหาวิทยาลัยอันมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปนั่งรับประทานอาหารได้เป็นที่ซึ่งอยู่ภายในบริเวณรั้วของมหาวิทยาลัย แต่โรงอาหารเป็นบริเวณนอกอาคารเรียนหรือนอกสถานที่ตั้งอันเป็นที่ปฏิบัติงานของราชการหรือข้าราชการตามปกติ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) จำเลยคงมีความผิดเพียงตามมาตรา 334
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานเพียงพอเชื่อได้ว่าจำเลยกระทำความผิดลักทรัพย์ ศาลฎีกาพิพากษากลับ
จ. ไม่เคยรู้จักผู้เสียหายและจำเลยมาก่อน ทุกครั้งที่ จ. ได้พบเห็นจำเลยก็ได้บอกกล่าวยืนยันตลอดมาว่า จำเลยเป็นคนร้ายลักกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหาย จ. กับจำเลยไม่เคยมีเรื่องโกรธเคืองกันมาก่อน จึงไม่มีเหตุที่จะเบิกความใส่ร้ายจำเลยโดยปราศจากมูลความจริง จ. เห็นการกระทำของจำเลยหลายครั้งหลายหนรวมทั้งที่มีอากัปกิริยาเป็นพิรุธ ซึ่งเชื่อว่าจดจำจำเลยได้แม่นยำไม่ผิดพลาด พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุผลและน้ำหนักให้รับฟัง คำเบิกความของพยานโจทก์ระหว่างตัวผู้เสียหายกับ จ. ที่เบิกความแตกต่างกันไปบ้าง ถือว่าเป็นข้อแตกต่างในส่วนที่เป็นสิ่งประกอบเล็กน้อย แต่มิใช่เรื่องอันเป็นข้อสำคัญเกี่ยวกับการบ่งบอกหรือบ่งชี้ถึงลักษณะอาการของจำเลยโดยตรงหรือขัดกันระหว่างประจักษ์พยานโจทก์สองปากที่รู้เห็นรูปลักษณ์หรือวิธีการกระทำผิดของจำเลยที่แตกต่างกันหรือขัดกัน จึงไม่ถือเป็นข้อพิรุธอันน่าสงสัยและไม่ทำให้น้ำหนักของพยานหลักฐานโจทก์ที่รับฟังได้ต้องลดน้อยลง
โรงอาหารของมหาวิทยาลัยที่ซึ่งนักศึกษาหรือประชาชนอื่นใดผู้ที่เข้ามาติดต่อราชการกับมหาวิทยาลัยอันมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปนั่งรับประทานอาหารได้เป็นที่ซึ่งอยู่ภายในบริเวณรั้วของมหาวิทยาลัย แต่เป็นบริเวณนอกอาคารเรียนหรือนอกสถานที่ตั้งอันเป็นที่ปฏิบัติงานของราชการหรือข้าราชการตามปกติ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) คงมีความผิดตามมาตรา 334
โรงอาหารของมหาวิทยาลัยที่ซึ่งนักศึกษาหรือประชาชนอื่นใดผู้ที่เข้ามาติดต่อราชการกับมหาวิทยาลัยอันมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปนั่งรับประทานอาหารได้เป็นที่ซึ่งอยู่ภายในบริเวณรั้วของมหาวิทยาลัย แต่เป็นบริเวณนอกอาคารเรียนหรือนอกสถานที่ตั้งอันเป็นที่ปฏิบัติงานของราชการหรือข้าราชการตามปกติ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) คงมีความผิดตามมาตรา 334
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอุทธรณ์โดยผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นทนายความ และสิทธิในการฎีกาที่ยังไม่ได้รับการพิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น และตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาต หรือของตัวความเองอันเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทน หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7) ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 161 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา216 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา216 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงไม่ใช่ทนายความ และการฎีกาเรื่องโทษก่อนศาลอุทธรณ์พิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยได้ลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น และตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาตหรือของตัวความเองอันเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทน หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7) ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขได้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 161 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาของจำเลยเรื่องให้ลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษจำเลย เมื่อยังไม่ได้รับการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อดังกล่าวได้ เป็นการต้องห้ามหรือไม่ต้องด้วยองค์ประกอบแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงฟ้องอุทธรณ์โดยผู้ไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้คำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติใจความว่า ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาต หรือของตัวความเองเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทนหรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่นคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7)ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขประการใดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วย 161 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีน) ในวาระเดียวกัน ถือเป็นกรรมเดียว
เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนต่างก็เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) ซึ่งกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ลำดับที่ 20 ส่วนเฮโรอีนอยู่ในลำดับที่ 14 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวไว้ในครอบครองในวาระเดียวกัน ดังนั้น แม้วัตถุแห่งการกระทำความผิดจะต่างชนิดกันแต่ก็ต่างเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องค่าเวนคืน และการคืนค่าขึ้นศาลเกินจำนวนที่กำหนด
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำอุทธรณ์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอา ป.พ.พ.มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอา ป.พ.พ.มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: หากรัฐไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนด โจทก์มีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนต่อศาลได้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำอุทธรณ์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีมิใช่อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาทให้แก่โจทก์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีมิใช่อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14 ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินกว่า 200 บาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเหมาช่วงและแปลงหนี้: สิทธิเรียกร้องหนี้ที่ค้างชำระ และขอบเขตการพิพากษาของศาล
ตามสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่อยู่ระหว่างการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ซึ่งผู้เริ่มก่อการสามารถดำเนินการก่อหนี้หรือทำสัญญาใด ๆ ได้ยกเว้นกรณีตาม มาตรา 1102 และเมื่อจดทะเบียนบริษัทเสร็จจนมีสภาพเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์ก็ยอมรับผลแห่งสัญญาโดยเข้าทำงานจนเสร็จ จึงเป็นการให้สัตยาบันแก่สัญญาที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ตามมาตรา 1108 (2) สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ ขณะเดียวกันสัญญาที่ทำขึ้นก็ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง เพราะสัญญาทำขึ้นตรงกับเจตนาของคู่กรณี แม้ตอนแรกโจทก์จะใช้ชื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการประมูลงานและทำสัญญาดังกล่าวต่อกรมทรัพยากรธรณี แต่ต่อมาโจทก์จำเลยประสงค์จะแปลงหนี้ใหม่เปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญจากการใช้ชื่อแทนหรือจากตัวการตัวแทนมาเป็นผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง โดยโจทก์และจำเลยต่างยอมรับเอาข้อกำหนดตามสัญญารับจ้างดังกล่าวปฏิบัติต่อกันตลอดมา เป็นต้นว่า การทวงถามให้ชำระหนี้และปฏิบัติการชำระหนี้อันมีลักษณะทำนองเดียวกันกับข้อกำหนดในแบบสัญญาจ้างระหว่างกรมทรัพยากรธรณีกับจำเลย สัญญารับจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ในรูปของการที่ได้แปลงหนี้มาใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และมาตรา 351 โดยอนุโลม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) บัญญัติว่า "ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้" อันถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ที่ว่าศาลต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ซึ่งลูกหนี้หรือจำเลยอาจจะยังคงค้างชำระอยู่บางส่วน เจ้าหนี้หรือโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมูลหนี้ที่ยังค้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 ได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) บัญญัติว่า "ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้" อันถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ที่ว่าศาลต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ซึ่งลูกหนี้หรือจำเลยอาจจะยังคงค้างชำระอยู่บางส่วน เจ้าหนี้หรือโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมูลหนี้ที่ยังค้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 ได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง