พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดกฎหมาย และผลผูกพันทางกฎหมายจากคำพิพากษาถึงที่สุด
วิธีพิจารณาความแพ่ง คำพิพากษา ผลผูกพัน (ม.145)พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (ม.42, 43)ป.วิ.พ. มาตรา 146พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42, 43
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอยอันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย มีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน ไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
ฎีกาเนฯ ตอนที่ 2/2544
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอยอันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย มีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน ไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
ฎีกาเนฯ ตอนที่ 2/2544
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยขู่เข็ญด้วยการใช้มีดคัตเตอร์ ทำให้ผู้เสียหายเกรงกลัวและยินยอมมอบทรัพย์สิน
จำเลยกับพวกอีก 1 คน พูดขอเสื้อช๊อปที่ผู้เสียหายสวมใส่อยู่ผู้เสียหายไม่ยอม จำเลยล้วงมีดคัทเตอร์ของกลางจากกระเป๋ากางเกงด้านหลังผู้เสียหายจับมือจำเลยข้างที่ถือมีดจึงถูกพวกของจำเลยชกที่แก้ม จำเลยเก็บมีดและชกผู้เสียหายที่ปาก ผู้เสียหายยอมถอดเสื้อช๊อปให้จำเลย ตามพฤติการณ์ที่จำเลยจับเสื้อช๊อปของผู้เสียหายไว้ขณะที่พูดขอเสื้อ ครั้นถูกปฏิเสธจำเลยจึงล้วงมีดคัทเตอร์ออกมาจากกระเป๋ากางเกงด้านหลัง เมื่อผู้เสียหายถูกพวกของจำเลยต่อย จำเลยก็เข้าชกต่อยผู้เสียหายจนกระทั่งได้เสื้อช๊อปของผู้เสียหายมาเช่นนี้ เข้าลักษณะเป็นการคุกคามขู่เข็ญให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่กายหากผู้เสียหายไม่ยอมตามที่จำเลยต้องการ ผู้เสียหายถอดเสื้อช๊อปให้จำเลยเพราะเกรงกลัวว่าจะถูกทำร้ายอีก จึงมิใช่การให้ทรัพย์ด้วยความสมัครใจ แต่เป็นไปเพราะอยู่ใต้อำนาจบังคับของจำเลยจำเลยได้ไปซึ่งเสื้อช๊อปของผู้เสียหายแล้วจึงหยุดขู่เข็ญพร้อมกลับลงจากรถโดยสารคันเกิดเหตุ เป็นเครื่องแสดงเจตนาว่าจำเลยประสงค์ต่อทรัพย์คือเสื้อช๊อปเป็นสำคัญจำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 83 ที่จำเลยอ้างว่าได้กระทำไปเพราะเป็นการแสดงความกล้าให้รุ่นพี่ของจำเลยเห็นว่าจำเลยมีความสามารถ จึงเป็นเพียงมูลเหตุจูงใจที่ชักนำให้จำเลยตัดสินใจกระทำความผิดนั้น ไม่มีผลให้จำเลยพ้นจากความรับผิดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาประสงค์ต่อทรัพย์สำคัญกว่ามูลเหตุจูงใจในการชิงทรัพย์ แม้จะอ้างเหตุแสดงความกล้า
จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในทันใดภายหลังเกิดเหตุและให้การวันเดียวกันนั้นว่า จำเลยกับ ต. ตกลงกันว่าหากพบเห็นนักศึกษาต่างโรงเรียนก็ให้แย่งเสื้อตัวที่นักศึกษาของสถาบันนั้นมาให้ได้ โดยไม่ปรากฏข้อความใดว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์ต่อทรัพย์ ทั้งพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาเช่นนั้น จำเลยก็มิได้กล่าวอ้างไว้ ตรงกันข้ามจำเลยกลับนำชี้ที่เกิดเหตุและแสดงท่าให้เจ้าพนักงานตำรวจถ่ายรูปไว้ประกอบคำรับสารภาพหลังจากรับทราบข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานชิงทรัพย์ ชั้นพิจารณาจำเลยก็มิเคยยกประเด็นขาดเจตนาลักทรัพย์ขึ้นแถลงต่อศาล คำรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยนั้นเชื่อว่าจำเลยกระทำด้วยความสมัครใจและตามความเป็นจริงเพราะจำเลยถูกจับกุมแทบจะทันใดภายหลังเกิดเหตุ จึงไม่อาจคิดหาข้อแก้ตัวเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดได้ทัน ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยจับเสื้อช๊อปของผู้เสียหายไว้ขณะที่พูดขอเสื้อ ครั้นถูกปฏิเสธจำเลยจึงล้วงมีดคัทเตอร์ออกมาจากกระเป๋ากางเกง เมื่อผู้เสียหายถูกพวกของจำเลยต่อย จำเลยก็เข้าชกต่อยผู้เสียหายจนกระทั่งได้เสื้อช๊อปของผู้เสียหายมา เข้าลักษณะเป็นการคุกคามขู่เข็ญให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่กายหากผู้เสียหายไม่ยอมตามที่จำเลยต้องการ ผู้เสียหายถอดเสื้อช๊อปให้จำเลยเพราะกลัวว่าจะถูกทำร้ายอีก จึงมิใช่การให้ทรัพย์ด้วยความสมัครใจแต่เป็นไปเพราะอยู่ใต้อำนาจบังคับของจำเลย จำเลยได้ไปซึ่งเสื้อช๊อปของผู้เสียหายแล้วจึงหยุดขู่เข็ญพร้อมกลับลงจากรถโดยสารคันเกิดเหตุ อันเป็นเครื่องแสดงเจตนาว่าจำเลยประสงค์ต่อเสื้อช๊อปเป็นสำคัญ จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนที่จำเลยอ้างว่ากระทำไปเพราะต้องการแสดงความกล้าและความสามารถให้รุ่นพี่ของจำเลยเห็นนั้นเป็นเพียงมูลเหตุจูงใจที่ชักนำให้จำเลยตัดสินใจกระทำความผิด ไม่มีผลให้จำเลยพ้นจากความรับผิดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์ด้วยการขู่เข็ญด้วยอาวุธและใช้กำลัง ผู้กระทำผิดอ้างเหตุจูงใจไม่มีผลต่อความผิด
จำเลยกับพวกอีก 1 คน พูดขอเสื้อช๊อปที่ผู้เสียหายสวมใส่อยู่ผู้เสียหายไม่ยอมจำเลยล้วงมีดคัทเตอร์ของกลางจากกระเป๋ากางเกงด้านหลังผู้เสียหายจับมือจำเลยข้างที่ถือมีดจึงถูกพวกของจำเลยชกที่แก้ม จำเลยเก็บมีดและชกผู้เสียหายที่ปาก ผู้เสียหายยอมถอดเสื้อช๊อปให้จำเลยตามพฤติการณ์ที่จำเลยจับเสื้อช๊อปของผู้เสียหายไว้ขณะที่พูดขอเสื้อ ครั้นถูกปฏิเสธจำเลยจึงล้วงมีดคัทเตอร์ออกมาจากกระเป๋ากางเกงด้านหลัง เมื่อผู้เสียหายถูกพวกของจำเลยต่อย จำเลยก็เข้าชกต่อยผู้เสียหายจนกระทั่งได้เสื้อช๊อปของผู้เสียหายมาเช่นนี้ เข้าลักษณะเป็นการคุกคามขู่เข็ญให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่กายหากผู้เสียหายไม่ยอมตามที่จำเลยต้องการ ผู้เสียหายถอดเสื้อช๊อปให้จำเลยเพราะเกรงกลัวว่าจะถูกทำร้ายอีก จึงมิใช่การให้ทรัพย์ด้วยความสมัครใจ แต่เป็นไปเพราะอยู่ใต้อำนาจบังคับของจำเลย จำเลยได้ไปซึ่งเสื้อช๊อปของผู้เสียหายแล้วจึงหยุดขู่เข็ญพร้อมกลับลงจากรถโดยสารคันเกิดเหตุ เป็นเครื่องแสดงเจตนาว่าจำเลยประสงค์ต่อทรัพย์คือเสื้อช๊อปเป็นสำคัญจำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 83 ที่จำเลยอ้างว่าได้กระทำไปเพราะเป็นการแสดงความกล้าให้รุ่นพี่ของจำเลยเห็นว่าจำเลยมีความสามารถ จึงเป็นเพียงมูลเหตุจูงใจที่ชักนำให้จำเลยตัดสินใจกระทำความผิดนั้น ไม่มีผลให้จำเลยพ้นจากความรับผิดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัตรโดยสารเครื่องบินเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องถูกริบ
การเดินทางออกนอกราชอาณาจักรทางเครื่องบิน ผู้เดินทางจำต้องมีบัตรโดยสารเครื่องบินสำหรับเที่ยวบนที่ตนจะเดินทางให้ถูกต้องเสียก่อนมิฉะนั้นการเดินทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นมิได้เพราะพนักงานสายการบินจะยินยอมให้เฉพาะผู้มีบัตรโดยสารเครื่องบินเท่านั้นผ่านขึ้นเครื่องบินได้ ผู้คัดค้านมีบัตรโดยสารเครื่องบินของกลางที่ระบุชื่อผู้เดินทางคือผู้คัดค้านถูกต้องตรงกับหนังสือเดินทางที่จะช่วยให้ผู้คัดค้านสามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้สำเร็จ และหากผู้คัดค้านเดินทางถึงที่หมายก็จะได้รับผลจากการนำยาเสพติดให้โทษออกนอกราชอาณาจักร เช่นนี้ บัตรโดยสารเครื่องบินของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่ช่วยเหลือเกื้อหนุนหรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นอุปกรณ์ให้ผู้คัดค้าน สามารถรับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องถูกริบเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31
ฎีกาผู้คัดค้านที่ว่า การกระทำของผู้คัดค้านยังไม่ถึงขั้นพยายามส่งยาเสพติดออกนอกราชอาณาจักรโดยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้กล่าวไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้กลับเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาผู้คัดค้านที่ว่า การกระทำของผู้คัดค้านยังไม่ถึงขั้นพยายามส่งยาเสพติดออกนอกราชอาณาจักรโดยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้กล่าวไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้กลับเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัตรโดยสารเครื่องบินเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องถูกริบตามกฎหมาย
การเดินทางออกราชอาณาจักรทางเครื่องบิน ผู้เดินทางจำต้องมีบัตรโดยสารเครื่องบินสำหรับเที่ยวบินที่ตนจะเดินทางให้ถูกต้องเสียก่อน มิฉะนั้นการเดินทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นมิได้ด้วยพนักงานสายการบินจะยินยอมให้เฉพาะผู้มีบัตรโดยสารเครื่องบินเท่านั้นผ่านขึ้นเครื่องบินได้ ผู้คัดค้านมีบัตรโดยสารเครื่องบินของกลางที่ระบุชื่อผู้เดินทางคือผู้คัดค้านถูกต้องตรงกับหนังสือเดินทางที่จะช่วยให้ผู้คัดค้านสามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้สำเร็จและหากผู้คัดค้านเดินทางถึงที่หมายก็จะได้รับผลจากการนำยาเสพติดให้โทษออกนอกราชอาณาจักร บัตรโดยสารเครื่องบินของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่ช่วยเหลือเกื้อหนุนโดยเป็นอุปกรณ์ให้ผู้คัดค้านสามารถรับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องถูกริบเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามพระราชบัญญัติ มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์และมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามกฎหมาย
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,8 ทวิ,72,72 ทวิเกิดจากผู้กระทำผิดมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิดจึงอยู่ที่การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการขออนุญาตมีและพาอาวุธปืนเป็นสำคัญ เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องรับโทษเป็นการเฉพาะตัวเจตนาของผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นคนละส่วนสามารถแยกออกจากเจตนากระทำความผิดฐานลักอาวุธปืนได้ชัดเจน แม้จะมีการกระทำเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์และมีอาวุธปืนเถื่อน การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านพักอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แล้วจำเลยลักอาวุธปืนพกของสามีผู้เสียหายไปโดยทุจริตและจำเลยพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควรและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่าจำเลยถือวิสาสะเข้าไปในบ้านพักของผู้เสียหายเพื่อนำอาวุธปืนไปใช้เพราะเคยปฏิบัติเช่นนี้มาก่อนและจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในทุ่งนา มิใช่หมู่บ้านหรือทางสาธารณะหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิเกิดจากผู้กระทำผิดมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิดจึงอยู่ที่การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการขออนุญาตมีและพาอาวุธปืนเป็นสำคัญ เมื่อผู้ใดฝ่าฝืน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องรับโทษเป็นการเฉพาะตัว เจตนาของผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นคนละส่วน สามารถแยกออกจากเจตนากระทำความผิดฐานลักอาวุธปืนได้ชัดเจนแม้จะมีการกระทำเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 ต้องเรียงกระทงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิเกิดจากผู้กระทำผิดมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิดจึงอยู่ที่การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการขออนุญาตมีและพาอาวุธปืนเป็นสำคัญ เมื่อผู้ใดฝ่าฝืน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องรับโทษเป็นการเฉพาะตัว เจตนาของผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นคนละส่วน สามารถแยกออกจากเจตนากระทำความผิดฐานลักอาวุธปืนได้ชัดเจนแม้จะมีการกระทำเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 ต้องเรียงกระทงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์, มีอาวุธปืน, พาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้รับสารภาพแล้ว ศาลยังคงพิจารณาเป็นหลายกรรม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านพักอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แล้วจำเลยลักอาวุธปืนพกของสามีผู้เสียหายไปโดยทุจริตและจำเลยพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควรและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่าจำเลยถือวิสาสะเข้าไปในบ้านพักของผู้เสียหายเพื่อนำอาวุธปืนไปใช้เพราะเคยปฏิบัติเช่นนี้มาก่อนและจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในทุ่งนา มิใช่หมู่บ้านหรือทางสาธารณะหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7,8 ทวิ,72,72 ทวิ เกิดจากผู้กระทำผิดมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิดจึงอยู่ที่การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการขออนุญาตมีและพาอาวุธปืนเป็นสำคัญเมื่อผู้ใดฝ่าฝืน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องรับโทษเป็นการเฉพาะตัว เจตนาของผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นคนละส่วน สามารถแยกออกจากเจตนากระทำความผิดฐานลักอาวุธปืนได้ชัดเจนแม้จะมีการกระทำเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ต้องเรียงกระทงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7,8 ทวิ,72,72 ทวิ เกิดจากผู้กระทำผิดมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิดจึงอยู่ที่การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการขออนุญาตมีและพาอาวุธปืนเป็นสำคัญเมื่อผู้ใดฝ่าฝืน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องรับโทษเป็นการเฉพาะตัว เจตนาของผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นคนละส่วน สามารถแยกออกจากเจตนากระทำความผิดฐานลักอาวุธปืนได้ชัดเจนแม้จะมีการกระทำเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ต้องเรียงกระทงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9820/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเช่ากรณีเวนคืน: ความเสียหายโดยตรงจากการขาดประโยชน์ใช้สอยทรัพย์สินที่เช่า
เงินค่าทดแทนในการเช่าที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนอันเป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องออกจาก ทรัพย์สินก่อนสัญญาเช่าระงับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 18 (3) เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่ผู้เช่าต้องขาดประโยชน์แห่งสิทธิการเช่าหรือเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าตลอดระยะเวลาก่อนสัญญาเช่าระงับ กรณีเช่นนี้ความเสียหายจริงต้องเป็นความเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการขาดประโยชน์ แห่งสิทธิการเช่าหรือเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าตลอดระยะเวลาก่อนสัญญาเช่าระงับเท่านั้น ค่าเช่าที่โจทก์อ้างว่าจะต้องไปเช่าที่อยู่ใหม่ที่ต้องเสียค่าเช่าสูงกว่าค่าเช่าเดิมเป็นเวลา 21 ปี มิใช่ความเสียหายโดยตรงจากการเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ตึกแถวที่เช่า ไม่เข้ากรณีที่จะเรียกเงินค่าทดแทนการเช่าตามมาตรา 18 (3) ได้ แต่การที่โจทก์ขาดประโยชน์เพราะไม่ได้ใช้ตึกแถวที่เช่าประมาณ 21 ปีนั้น เป็นความเสียหายจริงตามมาตรา 18 (3) โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในการเช่า