พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัย ศาลไม่อาจอนุญาตขยายเวลาหากเหตุผลไม่สมควร
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 และวันที่ 5 มิถุนายน 2545 คำร้องทั้งสองฉบับยื่นต่อศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้เฉพาะเมื่อมีเหตุสุดวิสัย คำร้องฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 โจทก์อ้างว่า โจทก์มอบให้นิติกรเป็นผู้ยื่นคำร้องในวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 แต่นิติกรป่วยจึงไม่สามารถยื่นคำร้องได้ อีกทั้งคดีมีข้อเท็จจริงที่ยุ่งยากซับซ้อนและต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับ แต่คดีมีข้อเท็จจริงยุ่งยากหรือไม่ และโจทก์ต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับชั้นหรือไม่ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกาได้ ส่วนการที่นิติกรป่วยนั้น หากจะเป็นจริง โจทก์ก็เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลและสามารถกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกาถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 จึงไม่ชอบ และมีผลให้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกานับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2545 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ไม่ชอบไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุพิเศษ และต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา หากไม่เป็นไปตามนั้น ฎีกาไม่ชอบ
การขอขยายระยะเวลาฎีกาเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 และวันที่ 5 มิถุนายน 2545 คำร้องทั้งสองฉบับยื่นต่อศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้เฉพาะเมื่อมีเหตุสุดวิสัย คำร้องฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 โจทก์อ้างเหตุว่า โจทก์มอบให้นิติกรเป็นผู้ยื่นคำร้องในวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 แต่นิติกรป่วยจึงไม่สามารถยื่นคำร้องได้ อีกทั้งคดีมีข้อเท็จจริงที่ยุ่งยากซับซ้อนและต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับ ซึ่งคดีมีข้อเท็จจริงยุ่งยากหรือไม่ และโจทก์ต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับชั้นหรือไม่ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกาได้ ส่วนการที่นิติกรป่วยนั้น หากจะเป็นจริงโจทก์ก็เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลและสามารถกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกาถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 จึงไม่ชอบ และมีผลให้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกานับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2545 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ไม่ชอบไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง , 225 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ซึ่งล่วงเลยกำหนดยื่นฎีกาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้น ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานและผลผูกพันจากเอกสารการซื้อขาย แม้มีผู้รับมอบอำนาจช่วง และการกำหนดค่าทนายความ
ตามบัญชีพยานอันดับ 1 ในช่องชื่อพยาน โจทก์ระบุว่าผู้รับมอบอำนาจขออ้างตนเองเป็นพยานโดยมิได้ระบุที่อยู่ของพยานเป็นการระบุถึงสถานะของพยานโจทก์ว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่ปรากฏตามฟ้องว่าผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คือ ข. ส่วน ป. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก ข. แม้ตามหนังสือมอบอำนาจโจทก์ให้อำนาจข. มอบอำนาจช่วงได้ แต่สถานะของผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจช่วงต่างกันจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ระบุ ป. เป็นพยาน แต่โจทก์นำ ป. มาเบิกความเพื่อประกอบเอกสารที่แสดงว่า จำเลยสั่งซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างคงนำสืบเพียงว่า การที่กรรมการของจำเลยลงชื่อในใบสั่งซื้อคนเดียวแสดงว่าจำเลยมิได้ซื้อสินค้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์นำ ป. เข้าเบิกความ จำเลยก็มิได้คัดค้าน กรณีไม่ปรากฏว่าโจทก์ประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดี อีกทั้งจำเลยไม่เสียเปรียบและไม่เสียหาย ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงรับฟังคำเบิกความของ ป. ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
ตามหนังสือรับรองระบุว่า กรรมการของจำเลยมี 4 คน ซึ่งรวมทั้ง ว. ด้วย กรรมการ 2 คน ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยจึงมีผลผูกพันจำเลย แต่การที่ ว. ลงชื่อสั่งซื้อสินค้าโดยใช้ใบสั่งซื้อซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของจำเลย เมื่อโจทก์นำสินค้าไปส่ง พนักงานของจำเลยได้รับสินค้านั้น และต่อมา ว. ในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ โดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลยอีก ย่อมแสดงว่าจำเลยรู้แล้วยอมให้ ว. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีโดยพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นแล้ว แม้เป็นการยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์นั้นแต่ทนายโจทก์ได้ว่าคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
ตามหนังสือรับรองระบุว่า กรรมการของจำเลยมี 4 คน ซึ่งรวมทั้ง ว. ด้วย กรรมการ 2 คน ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยจึงมีผลผูกพันจำเลย แต่การที่ ว. ลงชื่อสั่งซื้อสินค้าโดยใช้ใบสั่งซื้อซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของจำเลย เมื่อโจทก์นำสินค้าไปส่ง พนักงานของจำเลยได้รับสินค้านั้น และต่อมา ว. ในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ โดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลยอีก ย่อมแสดงว่าจำเลยรู้แล้วยอมให้ ว. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีโดยพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นแล้ว แม้เป็นการยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์นั้นแต่ทนายโจทก์ได้ว่าคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ แม้ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าทนายความได้ หากทนายโจทก์ได้ปฏิบัติในการว่าคดี
ทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์ แต่ทนายโจทก์ได้ปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิทำให้การซื้อขายเป็นโมฆะ แม้จะอ้างอิง พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดิน
จำเลยที่ 2 มิใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อจำเลยที่ 1 จัดซื้อที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ผู้ที่มิใช่เจ้าของ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นเช่นเดียวกัน และการกระทำอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวซึ่งไม่มีผลตามกฎหมายจึงตกเป็นอันเสียเปล่า จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างการกระทำอันมิชอบเช่นนั้นว่าเป็นการจัดซื้อที่ดินตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 36 ทวิ ประกอบมาตรา 37 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินที่มีโฉนด สิทธิซื้อขายจากผู้ไม่มีสิทธิเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 2 นำที่ดินของโจทก์ไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่มีอำนาจแม้เจ้าพนักงานที่ดินจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินเพราะกระบวนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงมิใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นเช่นเดียวกัน และการกระทำอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งไม่มีผลตามกฎหมายย่อมตกเป็นอันเสียเปล่า จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างการกระทำอันมิชอบเช่นนั้นว่าเป็นการจัดซื้อที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 29 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินธรณีสงฆ์ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ การโอนที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายเป็นโมฆะ
เจ้าของเดิมอุทิศที่ดินให้แก่วัดโจทก์ตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ การโอนกรรมสิทธิ์จะต้องกระทำตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 คือ โอนกรรมสิทธิ์โดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา แม้ที่ดินดังกล่าวจะได้มีการทำนิติกรรมและจดทะเบียนโอนต่อกันมาหลายทอดจนถึงจำเลย เมื่อมิได้กระทำตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 จึงเป็นการโอนที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยออกจากที่ดินซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ได้ โดยหาจำต้องฟ้องเจ้าของเดิมและผู้รับโอนคนก่อนจำเลยไม่ กรณีไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินธรณีสงฆ์ต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ หากไม่เป็นไปตามนั้น การโอนเป็นโมฆะ
หากเจ้าของเดิมอุทิศที่ดินให้แก่วัดโจทก์และที่ดินตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง การโอนที่ธรณีสงฆ์จะต้องทำตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 คือ โอนโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา แม้ที่ดินจะได้มีการโอนต่อกันมาหลายทอดจนถึงจำเลยทั้งสอง เมื่อการโอนมิได้ทำตามกฎหมายจึงเป็นการโอนที่ต้องห้ามชัดแจ้ง ย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดพิพาท และขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยทั้งสองครอบครองอยู่ได้ โดยหาจำต้องฟ้องเจ้าของเดิมและผู้รับโอนคนก่อนจำเลยทั้งสองไม่ ฟ้องโจทก์ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดเล็กน้อย ศาลฎีกาชี้ ประเด็นสำคัญคือแสดงสภาพแห่งข้อหาชัดเจน
การบรรยายฟ้องคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง มิได้บังคับโจทก์ต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้องโดยแจ้งชัดด้วยตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์มุ่งประสงค์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระหนี้ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับอันมีมูลฐานมาจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ทำละเมิดเป็นพนักงานและหรือตัวแทนและหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 แสดงตัวรับสภาพความรับผิดต่อพนักงานของโจทก์ การที่ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะชื่ออะไร รถยนต์คันเกิดเหตุจะหมายเลขทะเบียนอะไร ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญและเมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้คดีโดยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดิน: การพิสูจน์การครอบครอง, อายุความ, และการกระทำความผิดกลางวัน
จำเลยเข้าไปปลูกมะพร้าวและสับปะรดในที่ดินพิพาทในเวลากลางวัน แม้พืชผลที่จำเลยปลูกจะอยู่ในที่ดินพิพาททั้งกลางวันและกลางคืนตลอดมาก็เป็นเพียงผลของการกระทำคือการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันเท่านั้น จะถือว่าจำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3) ไม่ได้