คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ เจตนาการณ์กุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับรายละเอียดเล็กน้อย (หมายเลขทะเบียนรถ) ก่อนวันสืบพยาน ไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
การที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์ที่ 1 ขับ โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนเฉพาะเลขตัวท้ายตัวเดียว โดยให้เหตุผลว่าพิมพ์เลขผิดพลาดจึงขอแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงโดยยังเป็นรถยนต์คันเดิมอยู่ดังนี้ เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับรายละเอียดเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ตรงตามความจริง และยังเป็นการขอแก้ไขก่อนวันสืบพยาน ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขคำฟ้องส่วนนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเนื่องจากองค์คณะไม่ครบถ้วน ทำให้ไม่ต้องวินิจฉัยคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาขอให้รับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้ทำการไต่สวนต่อไป แต่เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนี้เนื่องจากผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาไม่ครบองค์คณะและให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและผลของกฎหมายที่ใช้บังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการพิจารณาคดี
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2543 แม้ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2543ยกเลิกพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 และให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมพ.ศ. 2543 เป็นพระธรรมนูญศาลยุติธรรม แต่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคดีจะถึงที่สุด"คดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาและผลของกฎหมายที่ใช้บังคับตามลำดับเวลาในคดีแพ่ง
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2543 ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้าย พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 ซึ่งเป็นพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่ใช้บังคับในขณะนั้น มาตรา 22 กำหนดให้ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวกันมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้นดังต่อไปนี้... (6) พิจารณาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องเกิน 40,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท... และวรรคท้าย กำหนดให้ ในคดีที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีแต่เพียงอำนาจพิจารณา ไม่มีอำนาจพิพากษา ตาม ...(6) เมื่อจะพิพากษาคดีจะต้องมีผู้พิพากษาอีกอย่างน้อยคนหนึ่งตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อในคำพิพากษา เป็นองค์คณะด้วย คดีนี้มีจำนวนเงินที่ฟ้อง 98,825 บาท ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องผู้พิพากษาคนเดียวจึงมีเพียงอำนาจพิจารณา แต่ไม่มีอำนาจพิพากษา แม้ต่อมาได้มี พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ยกเลิก พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 และพระธรรมนูญศาลยุติธรรมซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้าย พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 เป็นพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตาม พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 25(4) กำหนดให้ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท ก็ตาม แต่พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าจะถึงที่สุด คดีนี้จึงต้องบังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเดิมจนกว่าคดีจะถึงที่สุด คือ จะต้องให้ผู้พิพากษาอีกอย่างน้อยคนหนึ่งตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเป็นองค์คณะด้วย การที่คดีนี้ในศาลชั้นต้นมีผู้พิพากษาเพียงคนเดียวลงลายมือชื่อในคำพิพากษา จึงเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (เดิม) มาตรา 22 (6) และวรรคท้าย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่ให้มีผู้พิพากษาใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์ในเคหสถานเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะ มีองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(7)(8)
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันลักมือหมุนเครื่องยนต์รถไถนา 1 อัน และนอตขันแท่นเครื่องยนต์ 3 ตัว ของผู้เสียหายไป โดยเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืนในเคหสถานทรัพย์ที่ลักเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่ผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมและเป็นการกระทำผิดโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์ที่ถูกลักนั้นไป จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 336 ทวิ
โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรม จึงลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามมาตรา 335 วรรคสาม ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนทนายและผลกระทบต่อการอุทธรณ์ การไม่ยื่นอุทธรณ์ทำให้คำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 3 ในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ก่อนยื่นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอถอน ร. ออกจากการเป็นทนายความของตนและขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ร. จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 3 อีกต่อไป การที่ต่อมา ร. ยื่นอุทธรณ์ในฐานะทนายความของจำเลยที่ 3 โดยลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ ผู้เรียงและผู้พิมพ์ ซึ่งเป็นการเรียงและยื่นอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 3 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ เมื่อจำเลยที่ 3 และทนายความคนใหม่มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลขยายให้ ส่วนโจทก์ยื่นอุทธรณ์แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นให้ส่งสำนวนส่วนของจำเลยที่ 3 ไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง จึงชอบแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิยื่นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลเวนคืน: การฟ้องเรียกค่าทดแทนหลายครั้งตาม พ.ร.ฎ. เว้นคืนแต่ละฉบับต้องเสียค่าขึ้นศาลแยกกัน
ที่ดินของโจทก์ทั้งสามถูกเวนคืน 3 ครั้ง แต่ละครั้งที่ถูกเวนคืนเนื่องจากการดำเนินการโดยอาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนซึ่งตราออกมาคนละฉบับกัน โจทก์ทั้งสามมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาแต่ละฉบับต่างกันจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ของเงินค่าทดแทนที่ดินแต่ละครั้งที่ถูกเวนคืนที่โจทก์ทั้งสามฟ้องขอเพิ่มแยกต่างหากจากกันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาปลูกสร้างบ้านและการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดสัญญา
สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านมีใจความในข้อ 2.1, 2.2 และ 2.3 ว่าโจทก์จะชำระค่าจ้างในวันทำสัญญาเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท และให้ถือว่าเป็นการชำระเงินงวดที่ 1 และชำระเงินงวดอีกเป็นจำนวน 1,433,190 บาท โดยแบ่งชำระรวม 21 งวด ภายในวันที่ 20 ของเดือน และข้อ 2.4 มีว่า ส่วนที่เหลือจากการชำระตามข้อ 2.1, 2.2 และ 2.3 เป็นเงินจำนวน 3,694,110 บาท จะชำระเมื่องานก่อสร้างทุกอย่างแล้วเสร็จสมบูรณ์ แม้สัญญาดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลูกสร้างบ้านไปแล้วเสร็จไว้ก็ตาม ก็อนุมานได้ว่าภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระค่างวดครบ 22 งวด จำเลยจะต้องปลูกสร้างบ้านให้แก่โจทก์ให้ได้ไม่น้อยกว่าตามสัดส่วนของเงินค่าจ้างที่จำเลยได้รับชำระจากโจทก์ไปแล้ว แต่จำเลยไม่ได้เริ่มลงมือปลูกสร้างบ้านแต่อย่างใด โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามไปยังจำเลยถึงความคืบหน้าในการปลูกสร้างบ้าน และให้จำเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จสมบูรณ์ของการปลูกสร้างบ้าน แต่จำเลยก็มิได้มีหนังสือชี้แจงหรือโต้แย้งคัดค้านอย่างใด โจทก์ให้เวลาจำเลยอีก 4 เดือนเศษ จำเลยก็ยังไม่ปลูกสร้างบ้านให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยของเงินที่จำเลยจะต้องใช้คืนแก่โจทก์ไว้ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับชำระแต่ละงวดจนกว่าจะใช้คืนเสร็จ แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7
จำเลยให้การว่า บุคคลที่บอกเลิกสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านเป็นผู้ที่ไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญา โดยมิได้กล่าวอ้างว่าเพราะเหตุใดจึงไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญา เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเรื่องการมอบอำนาจให้ทนายความบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างปลูกสร้างบ้านและดอกเบี้ยคืน กรณีจำเลยไม่เริ่มงาน
สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านระบุว่าโจทก์จะชำระค่าจ้างในวันทำสัญญา150,000 บาท และให้ถือว่าเป็นการชำระเงินงวดที่ 1 และชำระเงินงวดอีก 1,433,190บาท โดยแบ่งชำระรวม 21 งวด ภายในวันที่ 20 ของเดือน ส่วนที่เหลือ 3,694,110บาท จะชำระเมื่องานก่อสร้างทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น แม้สัญญาไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลูกสร้างบ้านให้แล้วเสร็จไว้ แต่ก็อนุมานได้ว่าภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระค่างวดครบ 22 งวด จำเลยจะต้องปลูกสร้างบ้านได้ไม่น้อยกว่าตามสัดส่วนของเงินค่าจ้างที่จำเลยได้รับชำระไปแล้ว แต่จำเลยก็ไม่ได้เริ่มลงมือปลูกสร้าง โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามไปยังจำเลย และให้จำเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จสมบูรณ์จำเลยก็มิได้มีหนังสือชี้แจงหรือโต้แย้งคัดค้าน เมื่อตามหนังสือสอบถามโจทก์ให้เวลาจำเลยอีก 4 เดือนเศษ จำเลยก็ยังไม่ปลูกสร้างบ้าน ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า"เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม...." และวรรคสอง บัญญัติว่า "ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้" และมาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" ดังนั้น เมื่อสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยของเงินที่จำเลยจะต้องใช้คืนแก่โจทก์ไว้ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับชำระแต่ละงวดจนกว่าจะใช้คืนเสร็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สำเร็จเมื่อเบิกจ่ายเงิน การบันทึกข้อมูลเท็จเป็นเพียงกลอุบาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมตำแหน่งพนักงานพิธีการสินเชื่อทำบันทึกข้อมูลรายการขายลดเช็คอันเป็นเท็จ เป็นเพียงการใช้กลอุบายว่ามีลูกค้านำเช็คไปขายลดให้แก่โจทก์ร่วม แม้จะได้รับใบเสร็จรับเงินจากการขายลดเช็คแล้วนำไปเปิดบัญชีเงินฝากชื่อบัญชี ป. ซึ่งเป็นบัญชีปลอมที่ธนาคารโจทก์ร่วมเพื่อพักเงินที่จะลักไว้ แต่จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงินหรือในบัญชีเงินฝากปลอมยังเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โดยเฉพาะบัญชีเงินฝากเป็นเพียงหลักฐานควบคุมการฝากและถอนเงินของเจ้าของบัญชีเท่านั้นและการถอนเงินแต่ละครั้งจำต้องทำรายการถอนเงินในแบบพิมพ์ใบถอนเงิน ตราบใดที่ยังไม่มีการถอนเงินไปจากโจทก์ร่วม การเอาทรัพย์ไปก็ยังไม่เกิดขึ้น แม้จะเปิดบัญชีเป็นเท็จไว้ก็ยังถือไม่ได้ว่าการลักเงินสดสำเร็จแล้ว เมื่อจำเลยทำรายการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวเอาเงินสดของโจทก์ร่วมไป 4 ครั้ง คนละวันต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์4 กรรม มิใช่ 2 กรรม
of 24