พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหลังสิ้นสุดสัญญา ไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ แต่ต้องเป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ระบุว่า "ผู้กู้ยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราตามที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ ไป และผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนด โดยที่ผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบแต่อย่างใด" แสดงว่าเป็นการคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดให้โจทก์มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยจะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ดังนั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ แม้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยแบบไม่ทบต้นในอัตราที่ตกลงตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เพราะถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว และไม่ทำให้สภาพของดอกเบี้ยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีอยู่แต่เดิมต้องแปรเปลี่ยนไปเป็นเบี้ยปรับ แต่สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยย่อมมีอยู่ก่อนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเท่านั้น หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดคำนวณดอกเบี้ยโดยอาศัยตามประกาศของโจทก์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกจำกัดด้วยคำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้ แม้มีข้ออ้างใหม่
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการใส่ชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยทั้งสองฝ่ายรับว่า ที่ดินพิพาทมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของร่วมด้วย ศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว จำเลยที่ 3 จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่น โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวให้การว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจึงปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ คดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วน จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ โดยที่จำเลยที่ 3 มิได้ให้ความยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนสัญญา ดังกล่าวไม่ผูกพันกรรมสิทธิ์ ส่วนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ขอเพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ ในระหว่างพิจารณาของคดี ดังกล่าว โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ว่า จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แสดงเจตนาลวงฉ้อฉลโจทก์ด้วยการทำสัญญาประนีประนอมเพื่อให้ศาลพิพากษาตามยอมว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาท ทำให้โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้เสียเปรียบและเสียหาย และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีดังกล่าวโดยวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วนพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิของจำเลยที่ 3 โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นร่วมกับจำเลยที่ 1 ฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นการอ้างข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาเดิม โจทก์ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมซ้ำไม่ได้
จำเลยที่ 3 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ต่อศาลแพ่งว่า จำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ให้การว่าจำเลยที่ 3มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดหรือยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียว ต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยจำเลยที่ 3 มิได้ให้ความยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 3 พิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องขอให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในอีกคดีหนึ่ง โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาลวงและฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นการอ้างข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกจำกัดจากคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อน การฟ้องคดีใหม่ต้องไม่ขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 3 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ต่อศาลแพ่งว่า จำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่น ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ซึ่งคดีดังกล่าวโจทก์ให้การว่า จำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดหรือยอมให้จำเลยที่ 1เป็นตัวแทน จำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วน การที่จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ โดยพิพากษาให้เพิกถอนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของจำเลยที่ 3 จำนวน 3 ใน 7 ส่วน คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท และให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องร้องกันโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นร่วมกับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาลวงและฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ในการฟ้องขอให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลง สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247และกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินเหลือเวนคืน: เกิน 25 ตร.วา & ทุกด้านเกิน 5 วา ไม่ต้องซื้อ
ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีเนื้อที่มากกว่า 25 ตารางวา และทั้งสามด้านของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไม่มีด้านใดยาวน้อยกว่า 5 วา จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานต้องได้รับอนุญาตก่อน และการรื้อถอนเครื่องจักรเพื่อระงับเหตุชุมนุมไม่ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์
พระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 และ 13 กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต โดยห้ามมิให้ตั้งโรงงานก่อนได้รับใบอนุญาตและหากได้รับใบอนุญาตแล้วถ้าประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการโรงงานส่วนหนึ่งส่วนใดต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนเริ่มประกอบกิจการ ดังนั้นวันที่ออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานจึงมิใช่วันเริ่มประกอบกิจการดังกล่าว
แม้กระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ก็ตาม แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้นได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงานสถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการของโจทก์ได้ หาเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและบุกรุกไม่
เหตุแห่งการที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโจทก์ เนื่องจากรับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คน มาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามสั่งให้อุดท่อ พีวีซี และให้รื้อถอนเครื่องจักรในที่เกิดเหตุก็ด้วยเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป ทั้งเป็นการรื้อถอนตามอำนาจหน้าที่ซึ่งย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้างอันเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายจึงมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
แม้กระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ก็ตาม แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้นได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงานสถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการของโจทก์ได้ หาเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและบุกรุกไม่
เหตุแห่งการที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโจทก์ เนื่องจากรับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คน มาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามสั่งให้อุดท่อ พีวีซี และให้รื้อถอนเครื่องจักรในที่เกิดเหตุก็ด้วยเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป ทั้งเป็นการรื้อถอนตามอำนาจหน้าที่ซึ่งย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้างอันเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายจึงมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานในการตรวจสอบและยึดเครื่องจักร
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 12 และมาตรา 13 กำหนดไว้ชัดเจนว่าไม่ว่าจะเป็นการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตและต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเสียก่อนและเมื่อได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว หากประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบอีกครั้งหนึ่ง จะถือวันที่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการเป็นวันเริ่มประกอบกิจการโรงงานโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้
การที่มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535เท่านั้น มิใช่ว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องเป็นผู้สอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้น ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
โจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 มาตรา 12 จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงาน สถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปในที่ดินของโจทก์และยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและความผิดฐานบุกรุก
การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานเนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คนมาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จำเลยทั้งสามจึงมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายมิให้ลุกลามไปแม้การที่จะระงับการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์นั้น จำเลยทั้งสามได้สั่งให้อุดท่อพีวีซี ตลอดจนสั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุ ก็ด้วยประสงค์จะยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินโดยต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น มิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์
การที่มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535เท่านั้น มิใช่ว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องเป็นผู้สอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้น ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
โจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 มาตรา 12 จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงาน สถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปในที่ดินของโจทก์และยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและความผิดฐานบุกรุก
การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานเนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คนมาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จำเลยทั้งสามจึงมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายมิให้ลุกลามไปแม้การที่จะระงับการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์นั้น จำเลยทั้งสามได้สั่งให้อุดท่อพีวีซี ตลอดจนสั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุ ก็ด้วยประสงค์จะยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินโดยต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น มิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการโรงงานต้องได้รับอนุญาตและแจ้งก่อนเริ่มดำเนินการ การรื้อถอนเพื่อระงับเหตุไม่ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์
การตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตและต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเสียก่อน เมื่อได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว หากประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบอีกครั้งหนึ่งตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ มาตรา 12 และ 13 ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจะถือเอาวันที่หัวหน้าฝ่ายโรงงานสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้ เป็นวันเริ่มประกอบกิจการโรงงานโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
แม้จะมีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานของโจทก์ทั้งสองได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ มาตรา 23
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 เข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานโดยมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป แม้จำเลยทั้งสามจะได้สั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรกับอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุและทำให้อุปกรณ์เสียหาย ก็ด้วยประสงค์จะระงับการประกอบกิจการและยึดเครื่องจักรกับอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินซึ่งต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ก็เป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
แม้จะมีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานของโจทก์ทั้งสองได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ มาตรา 23
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 เข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานโดยมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป แม้จำเลยทั้งสามจะได้สั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรกับอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุและทำให้อุปกรณ์เสียหาย ก็ด้วยประสงค์จะระงับการประกอบกิจการและยึดเครื่องจักรกับอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินซึ่งต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ก็เป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยเมื่อวางเงินค่าทดแทน แม้มีการปรับเปลี่ยนแนวเขตภายหลังก็ไม่คืนกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของเดิม
ที่ดินโจทก์ทั้งสี่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2535 เพื่อสร้างทางพิเศษ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและนำไปวางโดยฝากธนาคารออมสินให้แก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนับแต่วันที่วางเงิน แม้ภายหลังต่อมาจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2538 ออกใช้บังคับ และคณะรัฐมนตรีมีมติปรับเปลี่ยนแนวเขตทางพิเศษใหม่ อันเป็นเหตุให้เนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนลดน้อยลงก็ไม่เป็นเหตุให้ที่ดินที่ไม่อยู่ในแนวเขตทางพิเศษใหม่ดังกล่าวซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยสมบูรณ์แล้วกลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่เจ้าของที่ดินเดิมอีก และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรืออำนาจจำเลยคืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสี่ และเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จ่ายไปคืนจากโจทก์ทั้งสี่หรือขอหักลบกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีอาญาที่ล่าช้า: ผลกระทบต่ออำนาจฟ้องและการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 วรรคแรก จะบัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130 กำหนดให้เริ่มการสอบสวนโดยไม่ชักช้าจะทำการในที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วยอันเป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาให้ได้รับผลกระทบจากการเป็นผู้ต้องหาน้อยที่สุด แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนโดยไม่ชักช้าแล้ว การสอบสวนนั้นจะเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าพนักงานสอบสวนเพิ่งเริ่มสอบสวนเกี่ยวกับความผิดของจำเลยในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองในระหว่างที่จำเลยต้องโทษอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรมหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาถึง 1 ปี 3 เดือน ก็ตาม แต่เมื่อการสอบสวนคดีนี้กระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว