คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ เจตนาการณ์กุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างการพิจารณาคดี: การระงับการออกโฉนดเพื่อป้องกันความเสียหาย
โจทก์กับจำเลยทั้งสี่พิพาทกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่จำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 เมื่อจำเลยทั้งสี่ได้รับโฉนดที่ดินแล้วอาจมีการโอนที่ดินพิพาทต่อไป ซึ่งหากศาลพิพากษาในภายหลังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์อาจได้รับความเสียหาย กรณีมีเหตุสมควรกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5508/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายคดี, คุณสมบัติกรรมการ, การแต่งตั้งข้าราชการ, อำนาจศาล, ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดวันให้โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทรายโดยไม่พิจารณาความพร้อมของโรงงานน้ำตาลทราย ชาวไร่อ้อย และความหวานของอ้อย แต่มิได้บรรยายฟ้องกล่าวอ้างถึงวันประกาศราชกิจจานุเบกษาของประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าเกิดขึ้นหลังวันที่กำหนดให้โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทราย และหลังจากวันที่โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทรายแล้วหรือไม่ ประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฯ มีผลใช้บังคับเมื่อใด จะมีผลย้อนหลังบังคับโจทก์ได้หรือไม่ โจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องทั้งสิ้น ฎีกาโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง
พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ มาตรา 9 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มิได้มีข้อกำหนดให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการและไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะ ทั้งตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใดย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆและเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่งไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้น ตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไป ฉะนั้น หากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าว ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้แต่งตั้งผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการดังกล่าวย่อมมอบหมายให้ข้าราชการในกรมที่ตนสังกัดอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเข้าประชุมแทนได้
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 198วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ได้ คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของโจทก์มิใช่คำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างชั่วคราวกับบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐในคดียาเสพติด
จำเลยที่ 3 เป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวของเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก จึงมิใช่พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ที่ศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์ไม่แก้ไขเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกไม่วินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเพิกถอนสูติบัตร: นายทะเบียนท้องถิ่นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย และขอบเขตการฟ้องร้อง
นายทะเบียนท้องถิ่น คือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งการเกิด การตาย ฯลฯ ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรฯ ตามมาตรา 18 ถึงมาตรา 22 รวมทั้งมีฐานะเป็น"นายทะเบียน" ผู้มีอำนาจเพิกถอนหลักฐานทะเบียนตามมาตรา 10 และมาตรา 8(5)วรรคสอง บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตเป็นนายทะเบียนท้องถิ่นคดีนี้หากการจัดทำสูติบัตรเด็กชาย ภ. มิชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอน คือนายทะเบียนท้องถิ่นเขตพญาไทหรือผู้อำนวยการเขตพญาไท ซึ่งเป็นผู้รับแจ้งการเกิดของเด็กชาย ภ. แต่เมื่อมีการปรับปรุงแบ่งเขตปกครองเสียใหม่ เป็นผลให้อำนาจพิจารณาสั่งเพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. เป็นของนายทะเบียนท้องถิ่นเขตราชเทวี และโจทก์ได้ร้องขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเขตราชเทวีซึ่งได้พิจารณาสั่งไม่เพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. โดยให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลต่อไป แต่กรุงเทพมหานครจำเลยมิใช่นายทะเบียนท้องถิ่นผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรฯ โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยให้เพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายทะเบียนเพิกถอนสูติบัตร: กรุงเทพมหานครไม่ใช่ผู้มีอำนาจเพิกถอน
กรุงเทพมหานครไม่ใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจฟ้องบังคับกรุงเทพมหานครให้เพิกถอนสูติบัตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเพิกถอนสูติบัตร: กรุงเทพมหานครไม่ใช่หน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย
กรุงเทพมหานครไม่ใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจฟ้องบังคับกรุงเทพมหานครให้เพิกถอนสูติบัตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งออกโฉนดที่ดิน: อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ม.60 และการฟ้องร้องกรรมสิทธิ์
แม้โจทก์จะบรรยายคำฟ้องโดยตั้งประเด็นกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยการสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ ช. ผู้คัดค้านในทำนองให้รับผิดฐานละเมิด แต่ในคำฟ้องของโจทก์คงบรรยายฟ้องลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 ไม่พิจารณาหลักฐานให้รอบคอบถูกต้องชัดเจนโดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 พิจารณาหลักฐานไม่รอบคอบอย่างไรกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำขอท้ายคำฟ้องโจทก์ขอเพียงให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว กับให้จำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินเลขที่ 1020 ให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดแต่มีลักษณะเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 ซึ่งโจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 กำหนด ด้วยการฟ้อง ช. ผู้คัดค้าน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2
ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจสั่งการไปตามที่เห็นสมควร จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ ช. ผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3841/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ว.สำเร็จการศึกษา – วันสำเร็จการศึกษาตามประกาศมหา’ลัยมีผลผูกพัน
ผู้ร้องเป็นผู้สอบไล่ผ่านครบถ้วนทุกวิชาตามหลักสูตรปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิตและผ่านการอนุมัติของสภาวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้วเพียงแต่รอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ชี้แจงผลการตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษาว่า เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติแล้ว ผู้ร้องจะสำเร็จการศึกษาตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2545 และตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่ออกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยก็ระบุว่า นักศึกษาที่สอบไล่ได้ชุดวิชาต่าง ๆ ครบถ้วน... มหาวิทยาลัยจะดำเนินการขออนุมัติปริญญา.. โดยถือวันถัดจากวันสิ้นสุดการสอบไล่ครั้งสุดท้ายเป็นวันสำเร็จการศึกษา ซึ่งก็คือวันที่ 29 เมษายน 2545 นั่นเอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีตั้งแต่วันดังกล่าวอันเป็นวันถัดจากวันสิ้นสุดการสอบไล่ครั้งสุดท้ายโดยไม่จำต้องอาศัยผลของการอนุมัติปริญญาของสภามหาวิทยาลัยอีกต่อไปเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 4 สิงหาคม 2545 โดยคณะกรรมการเลือกตั้งได้ประกาศการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาระหว่างวันที่ 8กรกฎาคม 2545 ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2545 และผู้ร้องไปยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งในวันแรก ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในขณะยื่นใบสมัครตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 125(3) ผู้คัดค้านต้องรับสมัครผู้ร้องและประกาศให้ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3710/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติมและการซื้อที่ดินส่วนที่เหลือต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 16,000 บาท โจทก์พอใจไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 12,000 บาท โจทก์ก็ชอบที่จะฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 16,000 บาท เท่านั้น จะขอแก้ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์พอใจแล้วไม่ได้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้แก้ โจทก์จึงฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท ไม่ได้ด้วย
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้วินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท โจทก์จึงมีสิทธิที่จะไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้จากฝ่ายจำเลยซึ่งมากกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์พอใจคำวินิจฉัยส่วนนี้ของรัฐมนตรีแล้ว ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินตามฟ้องของโจทก์จึงหมดสิ้นไปแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาส่วนนี้ของจำเลย
โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนที่ดินหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้น เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน แต่การยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3710/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ข้อจำกัดการแก้ไขทุนทรัพย์, อำนาจฟ้อง, และขั้นตอนตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 16,000 บาท โจทก์พอใจไม่อุทธรณ์ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 12,000 บาท โจทก์ก็ชอบที่จะฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินทดแทนจากตารางวาละ 12,000 บาท เป็นตารางวาละ 16,000 บาทเท่านั้น จะขอแก้ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาทไม่ได้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้แก้ ให้ยกคำร้องขอ ดังนี้โจทก์จึงฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 24,000 บาท ไม่ได้ด้วย
โจทก์มิได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แต่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้น เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืน เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 เมื่อโจทก์ยังไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายจึงยังไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน
อนึ่งการยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย จึงเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่
of 24