พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรงเป็นเหตุชอบธรรม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารจำเลยทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินแทนลูกค้า จากนั้นเก็บตั๋วแลกเงินที่ขายให้ลูกค้าไว้แล้วออกสมุดเงินฝากให้แก่ลูกค้าโดยที่ลูกค้ามิได้ฝากเงินไว้กับจำเลย เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบการทำงานของจำเลยซึ่งให้สาขาออกคู่ฉบับใบลงรับมอบให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐาน อาจเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ เพราะหากลูกค้านำสมุดเงินฝากมาขอเบิกเงินจากจำเลย จำเลยอาจต้องรับผิดจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากแก่ลูกค้า แม้จะยังไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์กระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกค้าและเพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ ก็ต้องถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้ว จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างพยานบุคคล พยานเอกสารและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่า พยานหลักฐานจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้แทนนิติบุคคลไม่ยินยอมให้ใช้ชื่อนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ซื้อตั๋วแลกเงินก็ดี จ. เป็นผู้เก็บส่วนต่างของดอกเบี้ยจากการจำหน่ายตั๋วแลกเงินให้แก่ลูกค้าก็ดี ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งขึ้นมิได้มีการสอบสวนทางวินัยและลงโทษโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังข้อเท็จจริงว่า ท. กับ จ. กระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยและจำเลยอนุมัติให้บุคคลทั้งสองลาออกดังที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างพยานบุคคล พยานเอกสารและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่า พยานหลักฐานจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้แทนนิติบุคคลไม่ยินยอมให้ใช้ชื่อนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ซื้อตั๋วแลกเงินก็ดี จ. เป็นผู้เก็บส่วนต่างของดอกเบี้ยจากการจำหน่ายตั๋วแลกเงินให้แก่ลูกค้าก็ดี ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งขึ้นมิได้มีการสอบสวนทางวินัยและลงโทษโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังข้อเท็จจริงว่า ท. กับ จ. กระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยและจำเลยอนุมัติให้บุคคลทั้งสองลาออกดังที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นบ้านโดยอาศัยความยินยอมและพบของกลางโดยชอบด้วยกฎหมาย ยืนยันคำพิพากษาเดิม
เจ้าพนักงานตำรวจได้ขอความยินยอมจาก น. มารดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุก่อนทำการค้น แสดงว่าการค้นกระทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจความยินยอมของน. แม้การค้นจะกระทำโดยไม่มีหมายค้นที่ออกโดยศาลอนุญาตให้ค้นได้ ก็หาได้เป็นการค้นโดยมิชอบไม่ นอกจากนี้ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการค้นได้เห็นจำเลยซึ่งอยู่ในห้องนอนโยนเมทแอมเฟตามีนออกไปนอกหน้าต่าง อันเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจพบจำเลยกำลังกระทำความผิด ซึ่งหน้าและได้กระทำลงในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(1),92(2) เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จึงนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเรื่องสิทธิครอบครองเมื่อยังไม่มีการแย่งการครอบครองเป็นเหตุไม่มีสิทธิฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนั้นเพียงแต่จำเลยนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทข้ออ้างในการที่จำเลยแย่งสิทธิครอบครองจึงยังไม่เกิด ทั้งคำขอท้ายฟ้อง มิได้ขอให้ศาลขจัดข้อที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ คือมิได้ขอให้ห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองโดยที่จำเลยยังไม่ได้เข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องแย่งครอบครองต้องมีการยึดถือครอบครองจริง การพิพากษาต้องเป็นไปตามคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยรบกวนการครอบครองโดยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดออกโฉนด ขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจากชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ ตามคำฟ้องโจทก์ดังกล่าว โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น เพียงแต่การที่จำเลยนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครอง ข้ออ้างในการที่จำเลยแย่งการครอบที่ดินพิพาทยังไม่เกิด ทั้งตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ศาลขจัดข้อที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ คือมิได้ขอให้ห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องแย่งครอบครองต้องมีการยึดถือครอบครองก่อน มิใช่แค่การรังวัดเพื่อออกโฉนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์แต่โจทก์ได้แย่งการครอบครองและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยยังไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังไม่เกิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ทั้งในการพิพากษาคดีศาลจะต้องพิพากษาตามคำขอของโจทก์ ซึ่งตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท แต่กลับขอให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้มีสิทธิครอบครองการทำประโยชน์เป็นชื่อของโจทก์ จึงไม่มีกรณีจะพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการแจ้งผลการส่งหมายนัด: ความรับผิดของจำเลยในการดำเนินการตามคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ว่า "รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 สำเนาให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำส่งใน 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์" และมีข้อความประทับไว้ด้วยว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 9 เมษายน 2544 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" และทนายจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2544 เจ้าพนักงานศาลนำหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไปส่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลา 15 วัน ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246
จำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ทราบ จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการ ต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
จำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ทราบ จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการ ต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่ละเมิด: การส่งมอบสินค้าชำรุดไม่เข้าข่ายความรับผิดทางละเมิด
โจทก์ตกลงซื้อโต๊ะนักเรียนพร้อมเก้าอี้จากจำเลย การที่จำเลยส่งมอบโต๊ะนักเรียนพร้อมเก้าอี้ชำรุดบกพร่อง เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่นเป็นเหตุให้เขาเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ตายจากความประมาท กรณีถนนก่อสร้างและไม่มีเครื่องหมายเตือน
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46กรณีไม่มีทางที่จะขยายไปถึงความเห็นของพนักงานสอบสวนให้เป็นการผูกมัดศาลที่พิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลัง ความเห็นของพนักงานสอบสวนไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฉะนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงไม่จำต้องถือตาม
ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมีเครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามารถเห็นและชะลอความเร็วของรถได้ทันและจะไม่ชนท่อระบายน้ำคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควรจะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 265,000 บาท แต่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วย และจำเลยทั้งสองประมาทมากกว่าการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 68,333.33 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมีเครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามารถเห็นและชะลอความเร็วของรถได้ทันและจะไม่ชนท่อระบายน้ำคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควรจะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 265,000 บาท แต่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วย และจำเลยทั้งสองประมาทมากกว่าการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 68,333.33 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน, การเบิกเงินเดือนล่วงหน้า, เหตุเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลในชั้นอุทธรณ์
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 49 หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้ มิใช่ว่าเมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทุจริตยักยอกทรัพย์ของบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างแล้วจะต้องถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอยู่ในตัว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถือโอกาสที่เป็นตัวแทนของผู้บริหารจำเลยขอเบิกและอนุมัติจ่ายเงินเดือนล่วงหน้าให้ตัวเองทุกเดือนรวม52 ครั้ง เป็นเงินกว่าล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่าจำเลยกำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินจนทำให้กิจการของจำเลยเสียหาย นับว่ามีเหตุผลเพียงพอที่ทำให้จำเลยไม่ไว้วางใจให้โจทก์บริหารกิจการของจำเลยต่อไป การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างที่ค้างค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งจำเลยให้การว่าโจทก์ยักยอกเงินของจำเลยไปและตกลงจะผ่อนชำระคืน แต่ไม่ยอมชำระ จึงฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินที่ยักยอกไปคืนพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งสภาพแห่งข้อหาคือเหตุที่จำเลยมีสิทธิเหนือโจทก์เกิดจากการที่โจทก์ยักยอกเงินจำเลยไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลย ฟ้องแย้งดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 แล้ว ฟ้องแย้งจำเลยไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จะยกเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานหรือไม่นั้น โจทก์จะต้องยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาท เพื่อจะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานจะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9วรรคสอง บัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์มิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งแสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยได้ การที่โจทก์เพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์จึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างที่ค้างค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งจำเลยให้การว่าโจทก์ยักยอกเงินของจำเลยไปและตกลงจะผ่อนชำระคืน แต่ไม่ยอมชำระ จึงฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินที่ยักยอกไปคืนพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งสภาพแห่งข้อหาคือเหตุที่จำเลยมีสิทธิเหนือโจทก์เกิดจากการที่โจทก์ยักยอกเงินจำเลยไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลย ฟ้องแย้งดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 แล้ว ฟ้องแย้งจำเลยไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จะยกเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานหรือไม่นั้น โจทก์จะต้องยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาท เพื่อจะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานจะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9วรรคสอง บัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์มิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งแสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยได้ การที่โจทก์เพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์จึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงอาการขู่เข็ญโดยไม่ต้องมีคำพูด ถือเป็นองค์ประกอบความผิดฐานชิงทรัพย์ได้
แม้จำเลยจะมิได้พูดจาข่มขู่หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายแต่พฤติการณ์ของจำเลยที่เดินเข้าหาผู้เสียหายจนทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวจนต้องดึงสร้อยคอทองคำโยนทิ้ง บ่งบอกให้เห็นว่าจำเลยแสดงอาการขู่เข็ญผู้เสียหายแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยจะได้พูดจาขู่เข็ญผู้เสียหายหรือไม่ และเมื่อผู้เสียหายโยนสร้อยคอทองคำทิ้งเพื่อมิให้จำเลยแย่งเอาไปได้ จำเลยยังใช้มีดปลายแหลมจ่อที่หน้าอกผู้เสียหายอีก กรณีถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายมิให้ขัดขืนต่อการที่จำเลยจะลักเอาสร้อยคำทองคำและเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสาม