พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การแต่งฟ้องโดยผู้มิได้เป็นทนายความ
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวความให้ผู้ต้องขังชาย บ. ทำฟ้องอุทธรณ์แทนให้โดยผู้ต้องขังชาย บ. ลงลายมือชื่อไว้ทั้งในช่องผู้เรียงและในช่องผู้เขียนหรือผู้พิมพ์เป็นการเห็นได้อยู่ในตัวว่าผู้ต้องขังชาย บ. เป็นผู้แต่ง เพราะคำว่า "แต่ง" กับ "เรียง"นั้น ตามพจนานุกรมมีความหมายเหมือนกัน ทั้งพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33ก็ระบุชัดเจนห้ามมิให้ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความ หรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลหรือแต่งฟ้อง... ฟ้องอุทธรณ์... ให้แก่บุคคลอื่น ดังนั้น ฟ้องอุทธรณ์ที่ผู้ต้องขังชาย บ. เป็นผู้แต่งให้จำเลยที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และแม้จำเลยที่ 2 จะได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์และยืนยันการลงลายมือชื่อดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบกลายเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายขึ้นมาได้เจตนาในใจของจำเลยที่ 2 ประสงค์อย่างไรมิใช่ข้อสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ต่อศาลก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087-3095/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งทางบก ค่าล่วงเวลา/ค่าตอบแทน และดอกเบี้ยตามกฎหมายแรงงาน
โจทก์และจำเลยได้แถลงรับข้อเท็จจริงและท้ากันเพื่อให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า งานที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12(2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่า โจทก์ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือในการทำงานล่วงเวลาหรือไม่และถือเป็นการตกลงทำงานล่วงเวลาโดยปริยายหรือไม่ รวมทั้งจะถือว่าจำเลยได้ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์โดยปริยายหรือไม่รวมอยู่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์โดยปริยายจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นคำท้าซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยในส่วนนี้
งานที่โจทก์ทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้าแต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา เมื่อเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลามิใช่ค่าล่วงเวลา โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แต่เป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจึงไม่เป็นไปตามคำท้าและไม่ชอบด้วยบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
งานที่โจทก์ทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้าแต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา เมื่อเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลามิใช่ค่าล่วงเวลา โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แต่เป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจึงไม่เป็นไปตามคำท้าและไม่ชอบด้วยบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087-3095/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งทางบก ค่าล่วงเวลา/ค่าตอบแทน และดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
โจทก์ทั้งเก้าและจำเลยได้แถลงรับข้อเท็จจริงและท้ากัน เพื่อให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า งานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12/2541 ออกตามความใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าโจทก์ทั้งเก้าได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือในการทำงานล่วงเวลา และถือเป็นการตกลงทำงานล่วงเวลาโดยปริยายหรือไม่ รวมทั้งจะถือว่าจำเลยได้ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งเก้าโดยปริยายหรือไม่รวมอยู่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์ทั้งเก้าโดยปริยายจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นคำท้าซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์อีก
เมื่อปรากฏตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่างานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ทั้งเก้าจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้า แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในอัตรา 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ ส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อปรากฏว่าเงินที่โจทก์ทั้งเก้ามีสิทธิได้รับเป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา มิใช่ค่าล่วงเวลาที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงเป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
เมื่อปรากฏตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่างานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ทั้งเก้าจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้า แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในอัตรา 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ ส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อปรากฏว่าเงินที่โจทก์ทั้งเก้ามีสิทธิได้รับเป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา มิใช่ค่าล่วงเวลาที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงเป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและขอบเขตค่าเสียหาย: โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลล่างแล้วว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 2 จึงย่อมไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่อ้างว่าเกิดแก่ที่ดินที่โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของได้
โจทก์ที่ 1 ทำโครงการก่อสร้างอาคารในที่ดินโจทก์ที่ 1 ในนามบริษัทของโจทก์ที่ 1 ดังนั้น หากจะเกิดความเสียหายก็เป็นความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์ที่ 1 หรือบริษัทของโจทก์ที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 2 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดรายได้จากจำเลยได้
โจทก์ที่ 1 ทำโครงการก่อสร้างอาคารในที่ดินโจทก์ที่ 1 ในนามบริษัทของโจทก์ที่ 1 ดังนั้น หากจะเกิดความเสียหายก็เป็นความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์ที่ 1 หรือบริษัทของโจทก์ที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 2 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดรายได้จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าโรงงานที่เป็นโมฆะเนื่องจากขัดต่อกฎหมายโรงงานเมื่อเจ้าของโรงงานถูกพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานของบริษัทก. โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระค่าเช่าและค่าเสียหาย กรณีต้องถือว่าบริษัทก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่าแล้วตามพระราชบัญญัติโรงงานฯมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัทก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลงตามมาตรา 16 ด้วย ซึ่งการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องกระทำก่อนที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าได้เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ข้อสัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นโมฆะเมื่อข้อกำหนดขัดต่อกฎหมายโรงงาน กรณีผู้เช่าไม่สามารถต่อใบอนุญาตประกอบกิจการได้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่า ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลง ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 16 เช่นกัน การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้วในวันทำสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังกล่าวได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ข้อสัญญาเช่าจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นโมฆะเมื่อข้อกำหนดขัดต่อกฎหมายโรงงาน ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยเช่าโรงงานแล้วต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่าตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลงตามมาตรา 16 ดังนั้น เมื่อการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าข้อ 8 ที่กำหนดให้จำเลยดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการในนามบริษัท ก. ได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว สัญญาเช่าข้อ 8 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าโรงงานเป็นโมฆะเมื่อขัดต่อ พ.ร.บ.โรงงาน และผู้เช่าไม่สามารถต่อใบอนุญาตได้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่า ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลง ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 16 เช่นกัน การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้วในวันทำสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังกล่าวได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ข้อสัญญาเช่าจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะ ข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703-2713/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจกำหนดคุณสมบัติและเหตุพ้นตำแหน่งพนักงานได้ หากไม่ขัด พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐาน
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของพนักงานของจำเลยเองได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 (1) ถึง (7) และมาตรา 11 (1) ถึง (3) แห่ง พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) บัญญัติถึง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเรื่องอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ว่ามีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นการกำหนด อายุขั้นสูงของผู้มีคุณสมบัติเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้เท่านั้น มิได้ห้ามรัฐวิสาหกิจไม่ให้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากการเป็นพนักงาน ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงาน เนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) บัญญัติถึง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเรื่องอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ว่ามีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นการกำหนด อายุขั้นสูงของผู้มีคุณสมบัติเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้เท่านั้น มิได้ห้ามรัฐวิสาหกิจไม่ให้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากการเป็นพนักงาน ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงาน เนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703-2713/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจกำหนดเกณฑ์เกษียณอายุพนักงานหญิงได้ หากไม่ขัดกับกฎหมายคุณสมบัติมาตรฐานพนักงานรัฐวิสาหกิจ
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของพนักงานของจำเลยเองได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 9(1) ถึง (7) และมาตรา 11(1) ถึง (3) จำเลยจึงสามารถกำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ได้ โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ตามข้อบังคับของจำเลย