พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: จำเลยต้องยกข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงจะอุทธรณ์ได้
จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับค่าจ้างตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง และมิได้ต่อสู้ว่าค่ารับรอง ค่าน้ำมันรถ ค่าอาหาร เงินสะสม ค่าภาษีและเงินสมทบที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แต่ละเดือนมิใช่ค่าจ้าง อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าจำนวนเงินตามฟ้องมิใช่ค่าจ้าง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานด้วยความสมัครใจ vs. การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า หลังจากบริษัทจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงโดยแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่แล้ว จำเลยที่ 2 เรียกโจทก์เข้าไปพูดคุยเสนอให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้วยการลาออกโดยจะจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ โจทก์ตกลงและทำหนังสือขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดยื่นต่อจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจ จำเลยที่ 2 อนุมัติและจ่ายเงินค่าตอบแทนให้โจทก์รับไปแล้ว การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกิดจากความตกลงกัน ไม่ใช่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์ให้ทำหนังสือขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดไม่ใช่โจทก์สมัครใจลาออกเอง จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างหรือไม่ ถือเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างตั้งบริษัทคู่แข่ง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของนายจ้าง มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของนายจ้าง ทำการตั้งบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้าง และมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง ซึ่งบริษัทดังกล่าวย่อมจะต้องดำเนินกิจการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกันกับลูกค้าของนายจ้าง ลูกค้าอาจจะเลือกการใช้บริการการให้คำปรึกษาของบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมจะต้องกระทบถึงรายได้ของนายจ้าง และทำให้นายจ้างเสียหาย แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งได้แย่งลูกค้าของนายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการของบริษัทที่โจทก์ตั้งแล้วก็ตาม ก็ต้องถือว่าการที่โจทก์ตั้งบริษัทในลักษณะดังกล่าวเป็นการที่โจทก์จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) และมาตรา 67 แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างตั้งบริษัทคู่แข่ง ทำให้นายจ้างเสียหาย มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท อ. นายจ้าง มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสแต่ทำการตั้งบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้างและมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง ซึ่งบริษัทโจทก์ดังกล่าวย่อมจะต้องดำเนินกิจการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกับลูกค้าของนายจ้าง ลูกค้าอาจจะเลือกใช้บริการการให้คำปรึกษาของบริษัทโจทก์ได้ย่อมเป็นการกระทบถึงรายได้ของนายจ้างและทำให้นายจ้างเสียหาย แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัทโจทก์ได้แย่งลูกค้านายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการของบริษัทโจทก์ก็ตาม ก็ต้องถือว่าการที่โจทก์ตั้งบริษัทในลักษณะดังกล่าวเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(2)และมาตรา 67 แก่โจทก์ แม้ พ. ผู้ลงนามในหนังสือเลิกจ้างโจทก์ในฐานะผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้าง และ จ. ผู้จัดการฝ่ายขายและบริการธุรกิจของบริษัทนายจ้างจะได้ร่วมกันตั้งบริษัทอื่นซึ่งมีกิจการอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้างเช่นเดียวกับโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างจะไปว่ากล่าวเอาโทษแก่บุคคลทั้งสองเอง หามีผลทำให้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้บริษัท อ. เลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์นั้น จึงชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างตั้งบริษัทแข่งกับนายจ้างถือเป็นการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท อ. ตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาอาวุโส ต่อมาโจทก์ได้จดทะเบียนตั้งบริษัท ค. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้าง อันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้างแม้ไม่ปรากฏว่าบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งได้แย่งลูกค้าของนายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการของบริษัทโจทก์ก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 119(2) และมาตรา 67 แก่โจทก์ แม้ พ. ผู้ลงนามในหนังสือเลิกจ้างในฐานะผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้างและ จ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายและบริการธุรกิจของบริษัทนายจ้าง จะได้ร่วมกันตั้งบริษัทอื่นซึ่งมีกิจการอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้างเช่นเดียวกับโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างจะไปว่ากล่าวแก่บุคคลทั้งสองเองมิได้มีผลทำให้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานยักยอกทรัพย์และการฝ่าฝืนระเบียบ คำพิพากษาไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบขับรถยนต์นำน้ำมันไปส่งให้แก่กรมช่างอากาศ แต่โจทก์หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ กลับยักยอกเอาน้ำมันดังกล่าวไปเป็นของบุคคลอื่นโดยทุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างดังกล่าวจึงมาจากเหตุที่โจทก์ยักยอกทรัพย์และฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ยักยอกน้ำมัน แต่การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างตามที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างแล้ว มิใช่เป็นการยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่มีในคำสั่งเลิกจ้างมาวินิจฉัยคดีแต่อย่างใด
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานล่วงเวลา: ลักษณะงานเดียวกัน แม้รายละเอียดต่างกัน ก็ถือเป็นงานล่วงเวลา
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยแล้วว่าลักษณะงานของโจทก์ที่ต้องออกไปตรวจสอบอุบัติเหตุเมื่อได้รับแจ้งในเวลาทำงานปกติกับงานที่ทำในเวลาเข้าเวรเป็นงานอย่างเดียวกัน และการที่จำเลยให้โจทก์เข้าเวรหลังเวลาทำงานปกติถือเป็นการทำงานล่วงเวลา การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าแม้งานที่โจทก์ทำในเวลาทำงานปกติกับงานที่ทำในเวลาเข้าเวรจะเป็นงานประเภทเดียวกัน แต่รายละเอียดและความยากลำบากในการทำงานแต่ละช่วงแตกต่างกันจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานล่วงเวลานั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาแล้วเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลาหรือไม่ เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างไว้ โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ด้วยการบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสองการที่จำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ใช่เป็นการผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420ส่วนการบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็เป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 17 วรรคสี่,121 วรรคสอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี และหากการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโจทก์ก็ชอบจะได้รับค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิใช่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจาก ค. ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน โจทก์ยังค้างชำระอยู่ประมาณ330,000 บาท เหตุที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ ค. อยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม ดังนี้จำเลยจึงเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับเงินกู้ซึ่งโจทก์เป็นหนี้ ค. ได้แม้จำเลยจะไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเดือนพฤศจิกายน 2541จำนวน 30,300 บาท และของวันที่ 1 ถึง 8 ธันวาคม 2541 จำนวน8,000 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าจำเลยยังคงค้างชำระค่าจ้างโจทก์เป็นเงิน 10,300 บาท ซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายให้โจทก์แล้ว ส่วนค่าจ้างของวันที่ 9 ถึง 31ธันวาคม 2541 และเงินโบนัสโจทก์ไม่ได้บรรยายและขอมาในคำฟ้องโจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจาก ค. ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน โจทก์ยังค้างชำระอยู่ประมาณ330,000 บาท เหตุที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ ค. อยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม ดังนี้จำเลยจึงเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับเงินกู้ซึ่งโจทก์เป็นหนี้ ค. ได้แม้จำเลยจะไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเดือนพฤศจิกายน 2541จำนวน 30,300 บาท และของวันที่ 1 ถึง 8 ธันวาคม 2541 จำนวน8,000 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าจำเลยยังคงค้างชำระค่าจ้างโจทก์เป็นเงิน 10,300 บาท ซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายให้โจทก์แล้ว ส่วนค่าจ้างของวันที่ 9 ถึง 31ธันวาคม 2541 และเงินโบนัสโจทก์ไม่ได้บรรยายและขอมาในคำฟ้องโจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างแรงงานโดยชอบธรรม การหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างไว้ โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ด้วยการบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง การที่จำเลย(นายจ้าง)ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ใช่เป็นการผิดสัญญา และไม่ใช่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์(ลูกจ้าง) โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
การบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่, 121 วรรคสอง ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี และหากการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ก็ชอบจะได้ค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิใช่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจากประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรวม 2 ครั้ง โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน และโจทก์ยังคงค้างชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว เหตุที่จำเลย ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เป็นเพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ประธานกรรมการ ผู้จัดการบริษัทจำเลยอยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับหนี้เงินกู้ดังกล่าวได้ แม้จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้เงินกู้กับค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
การบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่, 121 วรรคสอง ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี และหากการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ก็ชอบจะได้ค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิใช่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจากประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรวม 2 ครั้ง โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน และโจทก์ยังคงค้างชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว เหตุที่จำเลย ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เป็นเพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ประธานกรรมการ ผู้จัดการบริษัทจำเลยอยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับหนี้เงินกู้ดังกล่าวได้ แม้จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้เงินกู้กับค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13-34/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนสัญญาจ้าง-การคืนค่าบริการ-อัตราแลกเปลี่ยนเงิน-ศาลแรงงาน
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า ก. ลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทจำเลยในสัญญาจ้างและแทนจำเลยในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามที่ได้รับมอบหมาย การที่จำเลยอุทธรณ์อ้างว่า ก. ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยในสัญญาจ้างนั้นไม่ใช่เป็นการกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญาจัดหางานให้โจทก์ทั้งยี่สิบสองทำงานก่อสร้างในสนามบินแห่งชาติสาธารณรัฐอินกูเซเทียประเทศรัสเซีย ในตำแหน่งต่าง ๆ แต่เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบสองทำงานมาได้ประมาณ1 ปี นายจ้างติดค้างค่าจ้างโจทก์แต่ละคนและขอผัดผ่อนเรื่อยมาทำให้โจทก์ทั้งยี่สิบสองไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามสัญญาจัดหางานและไม่ประสงค์จะทำงานต่อไปจึงขอลาออกและเดินทางกลับประเทศไทยกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 46 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตจัดหางานไปทำงานในต่างประเทศจะต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าโจทก์แต่ละคนเสียค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้จำเลยไปตั้งแต่ 75,000ถึง 85,000 บาท มากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาจัดหางานคือ 30,000 ถึง35,000 บาท แต่โจทก์ทั้งยี่สิบสองขอคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายบางส่วนโดยแนบสำเนาสัญญาจัดหางานมาท้ายฟ้อง อันพอถือได้ว่ามีคำขอให้จำเลยคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายบางส่วนตามจำนวนในสัญญาดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้โจทก์แต่ละคนตามจำนวนในสัญญาจัดหางานจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 กำหนดให้หนี้เงินที่แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ เมื่อจะส่งใช้เป็นเงินไทยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้เงินดอลลาร์สหรัฐที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์แต่ละคนโดยให้คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทำสัญญาจัดหางานให้โจทก์ทั้งยี่สิบสองทำงานก่อสร้างในสนามบินแห่งชาติสาธารณรัฐอินกูเซเทียประเทศรัสเซีย ในตำแหน่งต่าง ๆ แต่เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบสองทำงานมาได้ประมาณ1 ปี นายจ้างติดค้างค่าจ้างโจทก์แต่ละคนและขอผัดผ่อนเรื่อยมาทำให้โจทก์ทั้งยี่สิบสองไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามสัญญาจัดหางานและไม่ประสงค์จะทำงานต่อไปจึงขอลาออกและเดินทางกลับประเทศไทยกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 46 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตจัดหางานไปทำงานในต่างประเทศจะต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าโจทก์แต่ละคนเสียค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้จำเลยไปตั้งแต่ 75,000ถึง 85,000 บาท มากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาจัดหางานคือ 30,000 ถึง35,000 บาท แต่โจทก์ทั้งยี่สิบสองขอคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายบางส่วนโดยแนบสำเนาสัญญาจัดหางานมาท้ายฟ้อง อันพอถือได้ว่ามีคำขอให้จำเลยคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายบางส่วนตามจำนวนในสัญญาดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้โจทก์แต่ละคนตามจำนวนในสัญญาจัดหางานจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 กำหนดให้หนี้เงินที่แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ เมื่อจะส่งใช้เป็นเงินไทยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้เงินดอลลาร์สหรัฐที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์แต่ละคนโดยให้คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว