คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
หัสดี ไกรทองสุก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8900/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดีและการชำระหนี้: การงดการขายทอดตลาดและการขอเฉลี่ยทรัพย์
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยทั้งสิบสองแปลงโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามมาตรา 149 แต่ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมย่อมตกอยู่แก่คู่ความที่แพ้คดีซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมชั้นบังคับคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระ แม้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม การบังคับคดีจึงต้องดำเนินต่อไป
โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8690/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่ารถยนต์ไม่ใช่ค่าจ้าง: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าจ้างและค่าชดเชยในคดีแรงงาน
"ค่าจ้าง" ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 หมายความว่าเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้ข้อตกลงของจำเลยที่จะจัดหารถประจำตำแหน่งให้โจทก์ หากยังหารถไม่ได้จะให้ค่าเช่ารถยนต์เดือนละ 22,000 บาท แสดงให้เห็นว่า มีการกำหนดให้จำเลยจัดหารถประจำตำแหน่งให้โจทก์เป็นหลัก โดยมีข้อยกเว้นว่า หากยังหารถให้ไม่ได้ก็ให้จ่ายค่าเช่ารถยนต์ให้โจทก์ หากต่อมาจำเลยสามารถหารถประจำตำแหน่งให้โจทก์ได้เมื่อใด ก็ไม่จำต้องจ่ายค่าเช่ารถยนต์ให้โจทก์ต่อไป ค่าเช่ารถยนต์ตามข้อตกลงจึงถือว่าเป็นสวัสดิการ มิใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน แม้จะจ่ายเงินจำนวนแน่นอนเท่า ๆ กันทุกเดือนก็มิใช่ค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8690/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่ารถยนต์เป็นสวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้าง: การพิจารณาค่าตอบแทนในสัญญาจ้าง
นายจ้างมีข้อตกลงกับลูกจ้างว่าจะหารถประจำตำแหน่งให้ แต่ถ้าหากยังหารถไม่ได้ก็จะให้ค่าเช่ารถยนต์ เดือนละ 22,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้หารถประจำตำแหน่งให้ลูกจ้างเป็นหลัก มีข้อยกเว้นว่าหากยังหา รถให้ไม่ได้ก็ให้จ่ายค่าเช่ารถยนต์ให้ลูกจ้าง หากต่อมานายจ้างสามารถหารถประจำตำแหน่งให้ลูกจ้างได้ตามข้อตกลงเมื่อใด นายจ้างก็ไม่จำต้องจ่ายค่าเช่ารถยนต์ดังกล่าวให้ลูกจ้างอีกต่อไป ค่าเช่ารถยนต์รายเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง ถือว่าเป็นสวัสดิการ มิใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน แม้จะจ่ายเงินจำนวน แน่นอนเท่า ๆ กัน ทุกเดือนก็มิใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8622/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีแรงงาน: การยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลต้องทำในคำให้การ และอายุความสัญญาจ้าง
การที่จำเลยจะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางหรือไม่ จำเลยจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การให้เป็นประเด็นพิพาท เพื่อที่จะได้ส่งปัญหาดังกล่าวให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดี เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การแสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วจำเลยเพิ่งจะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์
ตามคำฟ้องโจทก์เสนอข้อหาต่อศาลว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเรียกเอาจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างดังกล่าวมิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันเฉพาะนิติบุคคลที่จดทะเบียนแล้วในขณะทำสัญญา ผู้ทำสัญญาค้ำประกันไม่ต้องรับผิดต่อบริษัทที่จดทะเบียนภายหลัง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้แก่บริษัท ส. และบริษัทในกลุ่มบริษัท ย. ทุกบริษัทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งจากบริษัทส. ให้ย้ายไปปฏิบัติงาน ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวมีความหมายว่าจำเลยที่ 2 จะค้ำประกันจำเลยที่ 1 แก่บริษัท ย. และเฉพาะแก่บริษัทในกลุ่มบริษัท ย. ทุกบริษัท ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่แล้วในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 โจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นลูกจ้างของโจทก์ก็ตามสัญญาค้ำประกันฉบับดังกล่าวก็หาได้ครอบคลุมถึงโจทก์ด้วยไม่จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันเฉพาะนิติบุคคลที่ระบุในสัญญา ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" ขอทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่บริษัท ส. และบริษัทในกลุ่มบริษัท สก. ทุกบริษัทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งจากบริษัท ส. ให้ย้ายไปปฏิบัติงาน มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แก่บริษัท ส. และเฉพาะแก่บริษัทในกลุ่มบริษัท สก. ทุกบริษัทซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่แล้ว ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้น แม้โจทก์จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัท สก. แต่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นลูกจ้างของโจทก์ สัญญาค้ำประกันฉบับดังกล่าวก็หาได้ครอบคลุมถึงโจทก์ด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8432/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พลุสะดุดส่องแสงไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แม้มีครอบครองจึงไม่ผิด
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 4(2) มิได้บัญญัติว่าเครื่องกระสุนปืนมีความหมายถึงพลุแต่ประการใดฉะนั้นพลุสะดุดส่องแสงที่โจทก์ฟ้องจึงไม่นับว่าเป็นเครื่องกระสุนปืน รายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางที่ระบุว่าพลุสะดุดส่องแสงของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืน เป็นเพียงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เมื่อกฎหมายมิได้บัญญัติว่าพลุสะดุดส่องแสงเป็นเครื่องกระสุนปืนแล้ว แม้จำเลยจะมีไว้ในครอบครองก็หาเป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังสืบพยานฝ่ายจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากเหตุผลไม่สมควรหรือไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง อ้างว่าโจทก์หลงลืมและโจทก์เพิ่งทราบในภายหลังว่าตามกฎหมายสามารถเรียกร้องดอกเบี้ยได้ หลังจากที่ศาลแรงงาน สืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว แต่เหตุที่โจทก์อ้างก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจรู้หรือไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7924/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถาบันการศึกษาที่ไม่แสวงหากำไรได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
จำเลยเป็นนิติบุคคลและเป็นสถาบันทางการศึกษาที่ก่อตั้งโดยอาศัยความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อการดำเนินกิจการสถาบันเทคโนโลยีทั้งภายในและนอกประเทศไทยบนมูลฐานของการไม่แบ่งสรรกำไร ซึ่งรวมทั้งการดำเนินการกิจการวิทยาลัยโรงเรียนและองค์กรวิจัยที่มีความสัมพันธ์กับสถาบันโดยการสอนศึกษาและวิจัยในวิชาวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และวิชาอื่น ๆแม้การที่จำเลยรับทำการวิจัยให้แก่ผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นหน่วยงานหรือองค์การอื่น ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายเงินให้จำเลยตามจำนวนที่จำเลยคำนวณเป็นเงินงบประมาณในการทำวิจัยก็ตาม แต่งบประมาณดังกล่าวแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายของสถาบันจำเลย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯที่เหลือเป็นค่าจ้างอาจารย์ผู้ทำการวิจัย นักศึกษา รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆในการวิจัย เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและอุปกรณ์ในการวิจัยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีกผู้ว่าจ้างก็สามารถรับคืนไปได้หรือจะบริจาคเข้ากองทุนวิจัยของจำเลยซึ่งเป็นกองทุนที่จะนำเงินไปใช้เฉพาะที่เกี่ยวกับงานวิจัยของจำเลยเท่านั้น แสดงว่านอกจากจำเลยจะมีวัตถุประสงค์กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่ามิได้มุ่งแสวงหากำไรแล้วการดำเนินกิจการของจำเลยก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจำเลยจึงเป็นสถาบันซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานโดยมิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ในเรื่องค่าชดเชยตามกฎกระทรวง(พ.ศ. 2541) ฉบับลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7924/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถาบันไม่แสวงหากำไรไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน แม้มีรายได้จากการวิจัย
จำเลยเป็นนิติบุคคลและเป็นสถาบันทางการศึกษาที่ก่อตั้งโดยอาศัยความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์ ตามกฎบัตรของจำเลยกำหนดวัตถุประสงค์ว่าเพื่อการดำเนินการสถาบันเทคโนโลยีทั้งภายในและนอกประเทศบนมูลฐานของการไม่แบ่งสรรกำไร ซึ่งรวมทั้งดำเนินกิจการวิทยาลัย โรงเรียน และองค์กรวิจัยที่มีความสัมพันธ์กับสถาบัน โดยการสอนศึกษาและวิจัยในวิชาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาอื่น ๆ ซึ่งนอกจากจำเลยจะมีวัตถุประสงค์กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่ามิได้มุ่งแสวงหากำไรแล้ว ยังปรากฏด้วยว่าการดำเนินกิจการของจำเลยก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว จำเลยจึงเป็นสถาบันซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉบับลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ (3)
of 190