พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กว้างกว่าเหตุเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
ข้อเท็จจริงที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49หรือไม่ มีขอบเขตกว้างกว่าการเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119แม้การกระทำของโจทก์จะไม่เป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 แต่เมื่อปรากฏว่า โจทก์ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ทำงานบกพร่องหลายครั้งผู้บังคับบัญชาเตือนแล้วยังไม่ดีขึ้นและมีลูกค้าส่งสินค้าคืนมาหลายครั้ง ทำให้จำเลยเสียหาย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างชำระ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะมีข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์หรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละ 15 ของเงินทีค้างจ่ายทุกระยะ 7 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคสอง
จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างชำระ และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะมีข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์หรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละ 15 ของเงินทีค้างจ่ายทุกระยะ 7 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง และการอุทธรณ์ดุลพินิจค่าเสียหายในคดีแรงงาน
ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลแรงงานกลาง จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง: พิจารณาคดีแรงงานทั่วราชอาณาจักรเมื่อยังไม่มีศาลแรงงานภาค/จังหวัด
ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าศาลจังหวัดเชียงใหม่เป็นศาลที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาหรือเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6814/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาฎีกาใหม่มีผลเหนือคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขมีผลบังคับใช้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ผิดสัญญาและสัญญายังไม่เลิกกันจำเลยไม่มีสิทธิยึดรถยนต์คืนให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ให้โจทก์ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้ความว่า จำเลยได้ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยในมูลคดีเดียวกันนี้ กล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ กล่าวคือขอให้โจทก์คืนรถยนต์แก่จำเลย ผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์กับพวกคืนรถยนต์ หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ผิดสัญญาและสัญญายังไม่เลิกกัน จึงขัดกับคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวที่ว่าเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การชำระหนี้ของโจทก์ไม่ได้เป็นไปตามกำหนด จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองรถยนต์พิพาทได้โดยชอบเมื่อกรณีเป็นดังนี้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่งโดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6814/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีซื้อขายรถยนต์ โดยศาลฎีกาต้องบังคับตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นเห็นว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ผิดสัญญา และสัญญายังไม่เลิกกัน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดรถยนต์คืน ให้จำเลยที่ 1 คืนรถยนต์ดังกล่าวแก่โจทก์ ให้โจทก์ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างพร้อม ดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 และให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โจทก์และจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ แต่จำเลยทั้งสามทิ้งอุทธรณ์ คดีคงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะอุทธรณ์โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์กับพวกรวม 3 คน เป็นจำเลยในมูลคดีเดียวกันนี้ กล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ กล่าวคือ ขอให้โจทก์คืนรถยนต์แก่จำเลยที่ 1 ผลคดีถึงที่สุดโดย ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์กับพวกคืนรถยนต์ หากคืนไม่ได้ ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เมื่อคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นคดีนี้ขัดกับคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การชำระหนี้ของโจทก์ไม่ได้เป็นไปตามกำหนดตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์พิพาทได้โดยชอบ กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาโจทก์ต่อไป และพิพากษากลับให้ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6805-6807/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนดระยะเวลา
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ทั้งสามไว้พิจารณาโดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดพร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มาและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ทั้งสามไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าว ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6791/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิด การทำงานบกพร่องตามปกติไม่ใช่เหตุเลิกจ้าง
ก่อนเกิดเหตุโจทก์เคยฝังเพชรฝังพลอยเครื่องประดับรุ่นอื่น ๆ บกพร่องมาแล้ว จำเลยมิได้ถือเป็นเหตุเลิกจ้างเพียงแต่ตักเตือนโจทก์ด้วยวาจา เมื่อโจทก์ทำงานฝังเพชรแหวนรุ่น อาร์ - 173 บกพร่อง จำเลยก็ยังยอมรับในคุณภาพฝีมือของโจทก์ การทำงานบกพร่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติของช่างฝังทุกคน และโจทก์ไม่ได้พลิกแพลงวิธีการทำงานให้ผิดไปจากปกติที่เคยปฏิบัติ การที่โจทก์เจาะรูตัวเรือนแหวนกว้างเท่ากันตลอดก็มิได้เพื่อจะให้ได้เศษทองมากขึ้น ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าการทำงานบกพร่องของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต หรือเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย แม้การกระทำของโจทก์จะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย แต่ความผิดที่โจทก์กระทำล้วนไม่ใช่ความผิดที่จำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แสดงว่าจำเลยมิได้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6785/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การช่วยเหลือคนต่างด้าวเข้าประเทศผิดกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม
การช่วยเหลือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายเป็นการสร้างปัญหาให้แก่ประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายประการ ทางด้านความมั่นคงคนต่างด้าวจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาประกอบอาชญากรรมซึ่งเป็นภัยต่อสังคมและประเทศชาติ และโดยที่คนต่างด้าวดังกล่าวไม่มีเอกสารหลักฐานประจำตัวของทางราชการไทยและไม่อยู่ในฐานะที่จะแจ้งที่อยู่ในทะเบียนบ้านได้จึงยากแก่การควบคุมดูแลตลอดจนสืบหาติดตามตัวอันทำให้การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมซึ่งก่อโดยคนต่างด้าวเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้นทางด้านสาธารณสุขนอกจากคนต่างด้าวจะนำเชื้อโรคซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในประเทศของตนเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทยแล้ว เมื่อคนต่างด้าวเหล่านั้นเจ็บป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลสถานพยาบาลและโรงพยาบาลของรัฐย่อมไม่อาจปฏิเสธการรักษาพยาบาลได้ทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม ทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินงบประมาณด้านสาธารณสุขในแต่ละปีโดยไม่จำเป็นเป็นจำนวนมากและทางด้านสังคมคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรมักจะเข้ามาแย่งอาชีพของคนไทยในด้านแรงงานทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมโดยมีผู้ประกอบการและนายจ้างบางรายที่มุ่งเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนในการจ้างแรงงานราคาถูกเพื่อประสงค์จะลดต้นทุนการผลิตโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านอื่น ๆ ที่ตามมา ทำให้คนไทยต้องกลายเป็นผู้ไม่มีอาชีพหรือตกงานเป็นจำนวนมาก การที่จำเลยทั้งสามช่วยเหลือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายเป็นจำนวนมากถึง 1,661 คนถือเป็นต้นเหตุของการเกิดปัญหาดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ซึ่งมีคนต่างด้าวลักลอบเข้ามา อันส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ มิใช่เป็นความผิดเฉพาะของผู้เป็นเจ้าของโรงงานชั้นในดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างในฎีกา พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยาน, อายุความค่าจ้าง, และดอกเบี้ยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ต้องนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมในคดีแรงงานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ภายหลังจากศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความและคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าคดีไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบพยาน จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยกับพยานโจทก์ และให้นัดฟังคำพิพากษาในวันซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเกือบ 2 เดือน จำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาได้ แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่า คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ลง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 การลดเงินเดือนโจทก์และไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และผิดสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกเอาจากจำเลยจึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี จำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามบทบัญญัติดังกล่าว
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ภายหลังจากศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความและคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าคดีไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบพยาน จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยกับพยานโจทก์ และให้นัดฟังคำพิพากษาในวันซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเกือบ 2 เดือน จำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาได้ แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่า คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ลง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 การลดเงินเดือนโจทก์และไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และผิดสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกเอาจากจำเลยจึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี จำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าจ้างโดยไม่ชอบธรรมและอายุความฟ้องร้องคดีแรงงาน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
วันที่ 9 มีนาคม 2543 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ภายหลังจากศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้ว เห็นว่าคดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานเกือบ 2 เดือน จำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งที่ให้งดสืบพยานซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาได้ แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้ง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ เฉพาะของโจทก์ลดลงไปเดือนละ 2,022 บาท ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 รวม 26 เดือน เป็นเงิน 52,572 บาท การลดเงินเดือนและไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและผิดสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 จึงขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี เมื่อจำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามบทบัญญัติข้างต้น มิใช่เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ เฉพาะของโจทก์ลดลงไปเดือนละ 2,022 บาท ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 รวม 26 เดือน เป็นเงิน 52,572 บาท การลดเงินเดือนและไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและผิดสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 จึงขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี เมื่อจำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามบทบัญญัติข้างต้น มิใช่เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี