คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
หัสดี ไกรทองสุก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมายแรงงาน: การรวมสัญญาจ้างช่วงเพื่อคำนวณค่าชดเชย
ตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะจ้างโจทก์ทำงานให้จำเลยตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2538ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 ติดต่อกันไป แต่มีการแบ่งเป็นสัญญาช่วงสั้น ๆ หลายช่วงโดยมีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาเป็นช่วง ๆ ต่อเนื่องกันไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงต้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 20ที่ให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยกรณีบริษัทไม่มีเงินจ่าย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นการจงใจไม่จ่าย
บริษัทจำเลยมีโจทก์เป็นลูกจ้างเพียงคนเดียว มีโครงการสวนพฤกษชาติแต่ต้องระงับโครงการ จึงเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินจ่าย จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่มให้โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและเงินเพิ่มทางกฎหมาย: เหตุผลความยากทางการเงินของบริษัทมิใช่การจงใจไม่จ่าย
การที่บริษัทจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชยให้แก่โจทก์ เนื่องจากบริษัทจำเลยไม่มีเงินจ่ายนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าทุกระยะเวลาเจ็ดวัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิการฟ้องซ้ำเมื่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่อัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกและฉ้อโกงเงินไปจากโจทก์เป็นจำนวน 1,560,375.45 บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ใช้คืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกและฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายไว้แล้ว โดยมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,226,172.15 บาท ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความ ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นด้วย เมื่อศาลในส่วนคดีอาญารับคำขอส่วนแพ่งดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วย่อมมีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินจำนวน 1,226,172.15 บาท ต่อศาลอีก จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินส่วนที่เกินจากคำฟ้องในคดีอาญาเป็นเงิน 334,203.30 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฟ้องซ้ำเมื่อคดีแพ่งเกี่ยวข้องกับคดีอาญา และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกและฉ้อโกงเงินไปจากโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่ปรากฏว่าพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญารวม 3 คดีในข้อหายักยอกและฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่โจทก์เป็นเงินรวม 1,226,172.15 บาท ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นด้วย เมื่อศาลในส่วนคดีอาญารับคำขอส่วนแพ่งดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วย่อมมีผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินจำนวน 1,226,172.15 บาท ต่อศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีครอบครองยาเสพติดจากพยานหลักฐานที่มีเหตุให้สงสัยว่าของกลางอาจถูกซุกซ่อนโดยผู้อื่น
เจ้าพนักงานตำรวจให้ยามเรียกจำเลยออกมาและให้จำเลยไขกุญแจเปิดเบาะรถจักรยานยนต์ขึ้นพบเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่8 เม็ด ขณะตรวจค้นจำเลยไม่มีอาการวิตกหรือตื่นตระหนก เมื่อพบของกลางก็ปฏิเสธทันทีว่าไม่ใช่ของจำเลย ก่อนเกิดเหตุ ส. บุตรชายสามีใหม่ของจำเลยขอยืมรถจักรยานยนต์ของจำเลยไปและนำมาคืนในเวลา 8.00 นาฬิกา ใกล้เคียงกับเวลาที่เจ้าพนักงานตำรวจได้รับแจ้งทางโทรศัพท์ซึ่งเป็นเวลาก่อน 9.00 นาฬิกา จำเลยเพิ่งอยู่กับสามีใหม่ก่อนเกิดเหตุเพียง 15 วัน ทั้ง ก. ภรรยาคนแรกของสามีใหม่จำเลยไม่ได้หย่าขาดกันและไป ๆ มา ๆ เพื่อเยี่ยมบุตร และในวันเกิดเหตุก็กลับมาเยี่ยมบุตร กรณีจึงมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าเมทแอมเฟตามีนเป็นของจำเลยหรือมีผู้อื่นนำมาซุกซ่อนไว้เพื่อกลั่นแกล้งจำเลยจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิพากษานอกประเด็น และการวินิจฉัยปรับบทฐานปลอมเอกสารในคดีแรงงาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยให้การว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ ข้อที่ไม่รับกันจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลแรงงานกลางจดไว้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ทำการทุจริต จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ผลแห่งการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ผลแห่งการเลิกจ้างจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อันเป็นผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทำบันทึกขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มของ น. คืนและทำใบเบิกจ่ายเงินเสนอผู้บังคับบัญชาระบุว่า น. ขอเบิกเงินค่ามัดจำคืนโดยลงชื่อ น. ในใบเบิกจ่ายเงินช่องผู้ขอเบิกทั้ง ๆ ที่ น. ไม่มีสิทธิเบิกและไม่ได้ขอเบิก เป็นทั้งการทุจริตต่อหน้าที่และกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างการที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้กระทำการตามที่จำเลยให้การก็ชอบที่จะวินิจฉัยปรับบทด้วยว่าเป็นการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงินอันเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามที่จำเลยให้การไว้หรือไม่ด้วย การไม่วินิจฉัยปรับบทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทการเลิกจ้างและการทุจริตต่อหน้าที่ ศาลแรงงานมีอำนาจวินิจฉัยปรับบทความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยให้การว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ ข้ออ้างและข้อเถียงที่คู่ความไม่รับกันจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลแรงงานกลางจดไว้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ทำการทุจริต จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ผลแห่งการเลิกจ้างจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 และ ป.พ.พ. มาตรา 583 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์อันเป็นผลการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
ในคดีแรงงานได้มี พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติเรื่องประเด็น ข้อพิพาทไว้แล้วโดยเฉพาะ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าการที่โจทก์ทำบันทึกขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มของ น. คืนและทำใบเบิกจ่ายเงินเสนอผู้บังคับบัญชาระบุว่า น.ขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มคืนโดยลงชื่อ น. ในใบเบิกจ่ายเงินช่องผู้ขอเบิกทั้ง ๆ ที่ น. ไม่มีสิทธิเบิกและไม่ได้ขอเบิกเงินดังกล่าว เป็นทั้งการทุจริตต่อหน้าที่และการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่ นายจ้างโดยการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงิน เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้กระทำการตามที่จำเลยกล่าวอ้างจึงชอบที่จะต้องวินิจฉัยปรับบทด้วยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงินอันเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้หรือไม่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางไม่วินิจฉัยปรับบทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาเรื่องการวินิจฉัยปรับบทเป็นปัญหาข้อกฎหมายและคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเลยว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ: สิทธิลูกหนี้เลือกชำระเป็นเงินไทยได้ แต่ศาลไม่อาจเปลี่ยนแปลงสิทธิได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และตั๋วเครื่องบินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐและตามสัญญาจ้างระบุการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ จำเลยจึงมีความผูกพันตามสัญญาต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหนี้เงินที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ แต่จำเลยอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสิทธิของลูกหนี้ได้โดยลำพังที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวเป็นเงินไทยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ: สิทธิลูกหนี้เลือกชำระเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยน
ปัญหาว่าโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และตั๋วเครื่องบินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ มิได้ขอให้จำเลยชำระเป็นเงินตราไทย ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว เป็นเงินตราไทยหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายที่จำเลยไม่สามารถยกขึ้นกล่าวในศาลแรงงานกลาง จำเลยจึงยกขึ้นกล่าว ในชั้นอุทธรณ์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และตั๋วเครื่องบินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ และตามสัญญาจ้างระบุการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ จำเลยจึงมีความผูกพันตามสัญญาต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหนี้เงินที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ จำเลยอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงสิทธิของลูกหนี้ได้โดยลำพัง
of 190