คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
หัสดี ไกรทองสุก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การปฏิบัติงานอิสระ, ไม่มีการบังคับบัญชา, และฐานะผู้ถือหุ้น/กรรมการ ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
โจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทจำเลยตั้งแต่เริ่มแรก โดยเป็นกรรมการมาตลอดและเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย โจทก์ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบบังคับในการทำงานของบริษัทจำเลย เมื่ออายุเกิน 60 ปีก็ไม่ถูกปลดเกษียณไม่ต้องมาทำงานทุกวัน ไม่มีผู้ใดบังคับบัญชาโจทก์ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทจำเลยกับโจทก์หาได้มีลักษณะเป็นนายจ้างกับลูกจ้างไม่ เพราะโจทก์มิได้อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ปฏิบัติงานโดยอิสระ ไม่ต้องมาทำงานทุกวันและไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย อันเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แม้จะได้รับเงินเดือนจากบริษัทจำเลย ก็ยังถือไม่ได้ว่าบริษัทจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือจากการประนีประนอมยอมความไม่ใช่ค่าชดเชย จึงต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย
ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 (51)
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอม ปรากฏว่าเงินจำนวน ที่จำเลยยอมจ่ายให้โจทก์ระบุว่าเป็นเงินช่วยเหลือ มิได้ระบุว่าเป็นเงินชดเชย และตามคำฟ้องนอกจากโจทก์ฟ้องเรียก ค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม แล้วยังฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีกด้วย ดังนั้น เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชยหรือพอจะแปลได้ว่าเป็นค่าชดเชย เพราะไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดอันจะมีผลให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นรัษฎากร ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร ข้อ 2 (51)
การที่จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฏากร มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือจากการประนีประนอมยอมความทางแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แต่เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เพื่อให้คดีดังกล่าวเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมโดยระบุว่าเป็นเงินช่วยเหลือซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นเงินตามฟ้องประเภทใด จึงมิใช่ค่าชดเชยเพราะนอกจากจะไม่ได้ระบุแล้วยังไม่ปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดอันจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย จึงไม่ได้รับยกเว้นรัษฎากรตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126(พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 217(พ.ศ. 2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2(51)
การที่จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้มาเนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินเมื่อไม่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน การเลิกจ้างเนื่องจากอายุครบ 60 ปีเข้าข่ายเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2510มาตรา 6,7 และมาตรา 9(1) และ (2) เพียงแต่บัญญัติว่าองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจำเลยเป็นนิติบุคคลโดยเป็นองค์การของรัฐเพื่อการกุศล ได้รับเงินอุดหนุนจากงบเงินอุดหนุนของกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราวแต่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นทั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา 8 จำเลยก็ไม่ได้เป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมจำเลยจึงมิได้เป็นราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่จะได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่ห้ามมิให้หน่วยงานขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจำเลยดำเนินกิจการเพื่อหารายได้อันเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ทั้งการที่สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองนำรายได้อันเกิดจากการจำหน่ายดอกไม้ ธูปเทียนพวงมาลัยผ้าแพรสมทบกับเงินบริจาคจากผู้บริจาคต่าง ๆส่งให้แก่จำเลยนำไปใช้จ่ายเพื่อการกุศล ก็เป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยนั่นเอง มิได้ดำเนินการนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของจำเลยการดำเนินกิจการดังกล่าวจึงเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ
ข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยลูกจ้างองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2521 ให้ถือปฏิบัติตามข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยพนักงานองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2536ซึ่งกำหนดว่าพนักงานของจำเลยจะต้องออกจากงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น หมายถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ออกจากงานนั่นเอง การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุที่โจทก์มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์เป็นการไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากอายุครบ 60 ปี และข้อยกเว้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานสำหรับหน่วยงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ได้รับการยกเว้นมิให้อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เท่ากับจำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างได้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลแรงงานกลาง
ตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 มาตรา 6, 7 และมาตรา 9 (1) และ (2) เพียงแต่บัญญัติว่าจำเลยเป็นนิติบุคคลโดยเป็นองค์การของรัฐเพื่อการกุศล ได้รับเงินอุดหนุนจากงบเงินอุดหนุนของกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว แต่มิได้มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 มาตรา 8 จำเลยก็มิได้เป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม จำเลยจึงมิได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองกำหนดราคาจำหน่ายดอกไม้ธูปเทียน พวงมาลัย ผ้าแพร เท่าราคาทุน แต่ได้กำไรจากการที่สามารถนำดอกไม้พวงมาลัย ผ้าแพร กลับมาจำหน่ายอีก ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของสำนักงานกิจการศาลหลักเมืองนอกเหนือจากเงินที่มีผู้บริจาค และเงินที่มีผู้บริจาคใส่ตู้รับบริจาคตามจุดต่าง ๆ ในบริเวณศาลหลักเมืองถือได้ว่ากิจการของสำนักงานกิจการศาลหลักเมืองเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ อุทธรณ์ของจำเลยที่แสดงเหตุผลต่าง ๆ โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองดำเนินกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยมีวัตถุประสงค์ตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 เพื่อการกุศล การดำเนินกิจการของจำเลยเป็นการให้การสงเคราะห์ แต่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่ห้ามมิให้หน่วยงานของจำเลยดำเนินกิจการเพื่อหารายได้อันเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ทั้งการที่สำนักงานกิจการศาลหลักเมืองนำรายได้อันเกิดจากการจำหน่ายดอกไม้ ธูปเทียน พวงมาลัย ผ้าแพรสมทบกับเงินบริจาคจากผู้บริจาคต่าง ๆ ส่งให้แก่จำเลยนำไปใช้จ่ายเพื่อการกุศล ก็เป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยนั่นเอง
แม้จำเลยมีข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยพนักงานองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยลูกจ้างองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 โดยข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยลูกจ้างฯ ให้ถือปฏิบัติตามข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกว่าด้วยพนักงานฯ ซึ่งกำหนดว่าพนักงานของจำเลยจะต้องออกจากงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็ตาม แต่ก็หมายถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ออกจากงานการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุที่โจทก์มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์จึงเป็นการกระทำที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116-2118/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานฯ หากขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ใช้ พ.ร.บ.แรงงานฯ
การพิจารณาคดีแรงงานมีวิธีพิจารณาต่างกับคดีแพ่งทั่ว ๆ ไปกรณีใดที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรต้องบังคับไปตามนั้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 เท่านั้น
ศาลแรงงานสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วกำหนดวันนัดพิจารณาและออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 27 ถ้าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดและศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจะต้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวและพิจารณาใหม่ตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้เพราะพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้แล้วโดยเฉพาะ
การที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสอง ได้ จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว มิฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปย่อมเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม จำเลยย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนและพิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการส่งหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคือต้องส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2)
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ 51/291 ที่ศาลแรงงานกลางส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย เพราะจำเลยได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 80 แล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้อง ดังนี้หากได้ความตามคำร้องย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว เมื่อไม่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยให้ได้ความเสียก่อนว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ที่บ้านเลขที่ 51/291 จริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116-2118/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีแรงงาน จำเลยมีสิทธิขอพิจารณาใหม่ได้ แม้พ้นกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
กรณีศาลแรงงานสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา แล้วกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและออกหมายเรียก ให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกแล้ว ถ้าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจะต้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวและพิจารณาใหม่ตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จึงนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้ แต่การที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด และพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 40 วรรคสอง ได้ จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว มิฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปย่อมเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ซึ่งจำเลย มีสิทธิขอให้เพิกถอนและพิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการส่งหมายเรียกไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือต้องส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ที่ศาลแรงงานส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยเพราะจำเลยได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านเลขที่อื่นตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นคำฟ้อง หากได้ความตามคำร้องของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852-1915/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องพิสูจน์การคบคิดฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดี
การขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ได้ราคาต่ำเกินสมควรนอกจากจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสาม แล้วยังจะต้องอ้างด้วยว่าการขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง เมื่อคำร้องของจำเลยอ้างแต่เพียงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินสมควร มิได้อ้างว่าการขายทอดตลาดในราคาต่ำนั้นเกิดจากเหตุดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852-1915/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องมีเหตุผลเฉพาะเจาะจง นอกเหนือจากราคาต่ำกว่าราคาตลาด
การขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ได้ราคาต่ำเกินสมควรนอกจากจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม แล้ว ยังจะต้องอ้างด้วยว่าการขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง
คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยอ้างแต่เพียงว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินสมควร จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินงบประมาณแผ่นดินโดยทุจริต มีเจตนาเบียดบัง
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี มีหน้าที่เบิกเงินงบประมาณตามคำสั่งโรงพยาบาลบันนังสตา จำเลยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีมานานถึง 14 ปี ย่อมทราบระเบียบเกี่ยวกับการรักษาเงินเป็นอย่างดี จำเลยเก็บเงินงบประมาณแผ่นดินที่โรงพยาบาลเบิกมาเพื่อจ่ายค่าเวชภัณฑ์ที่สั่งซื้อ จำเลยควรนำเก็บรักษาไว้ที่โรงพยาบาลและต้องปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงการคลัง แต่จำเลยกลับลงหลักฐานทางบัญชีเป็นเท็จว่าได้ชำระเงินทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้จ่าย และนำเงินนั้นมาเก็บไว้และเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตน นับแต่วันที่รับเงินมาจนกระทั่งเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบเป็นเวลาถึง 6 เดือน พฤติการณ์ของจำเลยฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 147
of 190