คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
หัสดี ไกรทองสุก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การฟ้องเป็นคณะบุคคล และอำนาจฟ้อง
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัว แต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน: จำเลยคือคณะกรรมการในฐานะตำแหน่งหน้าที่
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัวแต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาลาออกมีผลผูกพัน แม้ต่อมานายจ้างอ้างเหตุเลิกจ้าง สัญญาเดิมยังคงมีผลบังคับใช้
จำเลยทำคำเสนอให้โจทก์ลาออกโดยยอมจ่ายเงินเพื่อตอบแทนการลาออก ซึ่งโจทก์มีคำสนองรับคำเสนอของจำเลยโดยการลาออก จึงเกิดสัญญาขึ้นระหว่างจำเลยกับโจทก์และมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยื่นหนังสือขอลาออกการที่ภายหลังจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง กระทำทุจริตต่อหน้าที่และกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ก็หามีผลตามกฎหมายไม่เพราะขณะนั้นโจทก์และจำเลยมิได้มีความสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง ทั้งมิใช่เหตุตามข้อสัญญาหรือบทบัญญัติของกฎหมายที่จะบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวมาเพื่อบอกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้จ่ายค่าชดเชย เพราะไม่ได้เกิดจากความจำเป็นเพื่อความอยู่รอดของกิจการ
จำเลยเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับเนื่องจากต้องการปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้าและกำไรมากขึ้น มิใช่ความจำเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขเพื่อให้กิจการดำรงอยู่ต่อไปได้ ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ได้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้แก่จำเลยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและตามข้อบังคับการทำงานครบถ้วน ก็เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการเลิกจ้างกรณีปกติ มิใช่เป็นการจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน จำเป็นต้องพิสูจน์ความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นอกเหนือจากเหตุตามกฎหมาย
โจทก์ปรับปรุงระบบการทำงานแล้วลดจำนวนพนักงานที่ไม่จำเป็นลงรวมทั้งจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ เนื่องจากต้องการปรับปรุงระบบการทำงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้าและกำไรมากขึ้นดังกล่าว มิใช่ความจำเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขเพื่อให้กิจการดำรงอยู่ต่อไปได้ไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม แม้โจทก์ได้จ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่จำเลยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและตามข้อบังคับการทำงานครบถ้วนแล้ว ก็เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการเลิกจ้างกรณีปกติมิใช่เป็นการจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง: การพนันในที่ทำงาน
การกำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างก็เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่นายจ้างในอนาคต การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานในกรณีร้ายแรงบางประเภทก็ไม่ต้องพิจารณาว่าเกิดความเสียหายแก่นายจ้างแล้วหรือไม่
การพนันเป็นหนทางสู่อบายมุข หากผู้ใดหมกมุ่นก็จะเสียงานเสียการเกิดการแตกแยกความสามัคคีในหมู่คนงาน และอาจเป็นผลทำให้คิดกระทำการทุจริตต่อหน้าที่หากเสียการพนันมาก ๆ จนเกิดปัญหาด้านการเงิน อันอาจจะทำให้ ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายได้ แม้ผู้คัดค้านจะรับแทงสลากกินรวบเพียงจำนวน 100 บาท ก็ได้ชื่อว่าผู้คัดค้านจัดให้เล่นการพนันสลากกินรวบภายในบริษัทผู้ร้องแล้ว ทั้งยังเป็นการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ซึ่งมีโทษทางอาญาด้วย การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าผืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันเป็นกรณีร้ายแรงแล้ว ผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและยังเป็นรองประธานสหภาพแรงงานด้วย ควรจะดำรงตน ให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนคนงานด้วยกัน แต่กลับมาชักชวนให้เพื่อนคนงานเล่นการพนันเสียเอง จึงสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงตัวเป็นนายประกันปลอมเพื่อหลอกลวงศาล เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยและก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรม
การที่ผู้ถูกกล่าวหาแสดงตัวเป็น อ. นายประกันของจำเลยและลงลายมือชื่อในคำร้องขอประกันตัวต่อซึ่งเป็นลายมือชื่อปลอมเป็นการหลอกลวงศาลว่ามีการประกันตัวต่อโดยชอบ ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และมาตรา 33พฤติการณ์ดังกล่าวมีลักษณะร้ายแรงเป็นภัยต่อกระบวนการยุติธรรมอันเป็นช่องทางให้จำเลยหลบหนีได้ หากศาลตรวจไม่พบการกระทำผิดของผู้ถูกกล่าวหาเสียก่อน การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการศาลเป็นอย่างมาก แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะรับราชการครูและยังมีหน้าที่ต้องอุปการะผู้อื่น ก็ยังไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหลักทรัพย์ค้ำประกันเมื่อลูกจ้างลาออก สัญญาเดิมเป็นเกณฑ์ แม้มีการยินยอมเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม
โจทก์ทั้งสองทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ค. กับจำเลย และนำโฉนดที่ดินมอบให้แก่จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า ในการขอคืนหลักประกันจะกระทำได้ต่อเมื่อ ค. สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน โดยไม่ได้กระทำการใดให้นายจ้างเสียหาย เมื่อ ค. ลาออกจากการเป็นลูกจ้างจำเลย จึงเป็นการสิ้นสภาพการเป็นพนักงาน สัญญาค้ำประกันของโจทก์ทั้งสองย่อมระงับสิ้นไป แม้ ค. ทำหนังสือยินยอมเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการขอคืนหลักทรัพย์ใหม่ ก็หามีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองไม่ และข้อความในสัญญาค้ำประกันฉบับหลังหาใช่เป็นการขยายข้อความที่ว่า โดยไม่ได้กระทำการใดให้นายจ้างเสียหายตามสัญญาค้ำประกันเดิม ดังนั้นจำเลยจึงต้องคืนโฉนดที่ดินหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การเปลี่ยนแปลงโทษทางวินัยที่หนักขึ้นทำไม่ได้หากไม่ได้รับความยินยอม
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย มีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อบริษัทจำเลยได้มีประกาศแก้ไขเปลี่ยนแปลงการลงโทษทางวินัยลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหนักขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยได้แจ้งข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขข้อตกลง หรือฝ่ายลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแต่อย่างใด เพียงแต่บริษัทจำเลยได้ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบ แม้จะไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านก็ตาม ก็ยังไม่อาจถือว่าลูกจ้างให้ความยินยอมที่บริษัทจำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ดังนั้น ประกาศของจำเลย จึงไม่มีผลใช้บังคับกับบรรดาลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงานเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และหนังสือแจ้งผลการทดลองงานไม่ใช่หนังสือตักเตือน
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างพ้นจากการเป็นพนักงาน แม้จะเป็นเพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง
of 190