คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
หัสดี ไกรทองสุก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือตักเตือนต้องระบุความผิดและโทษ หากไม่ชัดเจนถือไม่ได้ว่าเป็นการเตือนตามกฎหมาย และการเลิกจ้างแม้จะเป็นเพราะไม่ผ่านทดลองงาน ก็ถือเป็นการเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)ไม่ได้กำหนดแบบของหนังสือตักเตือนไว้ว่าจะต้องมีรูปแบบและข้อความเป็นอย่างไร แต่หนังสือตักเตือนก็จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างมิให้กระทำผิดซ้ำอีก หากกระทำจะถูกลงโทษแต่หนังสือของจำเลยปรากฏหัวข้อหนังสือว่าเป็นเรื่องการทดลองงานกล่าวถึงผลการทดลองงานว่าโจทก์มีความบกพร่องในการทำงาน เช่น ลากิจลาป่วย และมาสายบ่อยในระหว่างทดลองงานซึ่งเป็นลักษณะตำหนิการทำงาน แล้วจำเลยให้ทดลองงานต่ออีก 2 เดือน มิได้มีข้อความกล่าวถึงว่าการกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นการกระทำผิดใดซึ่งหากกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกจะถูกลงโทษอย่างไรจึงมิใช่หนังสือตักเตือนตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสองบัญญัติว่า การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างพ้นจากการเป็นพนักงานแม้จะเป็นเพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาเช่าซื้อ-คืนรถ: ศาลยืนตามเดิม จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเคยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาแล้วครั้งหนึ่งแต่เมื่อนำค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระ จำเลยก็รับชำระโดยคิดค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้ออีก จำเลยไปยึดรถคืนโจทก์นำเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างกับค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยไปชำระจำเลยก็รับชำระเช่นเดิม แสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรื่องการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญสัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่สิ้นสุด เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแล้วจำเลยต้องคืนรถที่เช่าซื้อแก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมคืนจึงเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งซึ่งในส่วนของการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามให้ทำได้ด้วยการใช้เงิน เมื่อค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์เป็นเงินน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ต้องคืน ศาลจึงสามารถนำเงินค่าใช้ทรัพย์สินมาหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนได้โดยจำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้งไว้
เมื่อโจทก์ไม่มีรถพอใช้งาน โจทก์สามารถหารถอื่นมาทดแทนได้หากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ต้องเสียค่าเช่า ค่าเช่าที่โจทก์ต้องเสียไปถือเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์เรียกให้จำเลยชดใช้ได้ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าวจนงานล่าช้าและถูกปรับค่าปรับไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยลูกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ต้องพิจารณาลักษณะงานตามประกาศกระทรวงฯ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสาม และวรรคสี่ บัญญัติว่า "ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง"หมายความว่า การจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งนายจ้างไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นการจ้างดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีที่มีลักษณะงานตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติข้างต้น ส่วนงานที่โจทก์ทำมิได้มีลักษณะงานประเภทใดประเภทหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 1 ปีตามสัญญาจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้ายเก้าสิบวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมจากการตกลงในสัญญาซื้อขาย: สิทธิการใช้ทางและสาธารณูปโภค
ปัญหาว่าข้อสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำข้อ 10 ที่ว่า"ผู้จะขายตกลงสร้างถนนคอนกรีตพร้อมท่อระบายน้ำ ประปา และไฟฟ้า มาจดที่ดินที่จะซื้อจะขายพร้อมทั้งอนุญาตให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายใช้ถนน และสาธารณูปโภคของโครงการหมู่บ้าน ส. เป็นทางเข้าออกสู่ ถนนแจ้งวัฒนะ" เป็นข้อสัญญาที่บังคับให้จดทะเบียนภารจำยอมได้หรือไม่ นั้น ข้อสรุปของสัญญามีว่า "ผู้จะขายที่ดินตกลงให้ที่ดินจะซื้อจะขาย ใช้ถนนและสาธารณูปโภค" เป็นการให้สิทธิแก่ที่ดินที่จะซื้อจะขายเหนือ อสังหาริมทรัพย์อื่น อันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องยอมรับ กรรมบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จะซื้อจะขาย จึงเป็นสัญญา ก่อให้เกิดภารจำยอม โจทก์ย่อมบังคับให้จดทะเบียนได้
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาตามสัญญา จึงบังคับ จำเลยที่ 1 ไม่ได้นั้น เมื่อคู่ความตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใน ข้อ ดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าคู่ความสละซึ่งประเด็นอื่นทั้งหมดแล้ว คงเหลือ เฉพาะประเด็นที่ท้ากันเท่านั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงเป็นข้อที่ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กรณีไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน แม้จำเลยเคยมีหนังสือเตือน
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 39 วรรคสามที่กำหนดหน้าที่ของผู้ประกันตนที่จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป หากไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 39 วรรคท้าย เป็นคนละกรณีกับการที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันตามมาตรา 41(4)ซึ่งบัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น และไม่จำต้องพิจารณาว่าผู้ประกันตนมีเจตนาที่จะไม่ส่งเงินสมทบหรือไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันความเป็นผู้ประกันตนย่อมสิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเนื่องจากไม่ส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน แม้ไม่มีการเตือน
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 39 วรรคสาม ที่กำหนดหน้าที่ของผู้ประกันตนที่จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป หากไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 39 วรรคท้าย เป็นคนละกรณีกับการที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันตามมาตรา 41 (4) ซึ่งบัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น และไม่จำต้องพิจารณาว่า ผู้ประกันตามมีเจตนาที่จะส่งเงินสมทบหรือไม่ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันความเป็นผู้ประกันตนย่อมสิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงาน: พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 17 ใช้บังคับเฉพาะ คดีนี้คำพิพากษาชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 17 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดองค์คณะผู้พิพากษาในคดีแรงงานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2477 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีนี้ ที่บัญญัติเรื่ององค์คณะของผู้พิพากษาในคดีทั่วไปมาใช้บังคับและคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางคดีนี้ ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อครบทั้งสามคนแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาคดีแรงงาน: พ.ร.บ.ศาลแรงงานฯ มาตรา 17 มีผลเหนือกว่าพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 17 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดองค์คณะผู้พิพากษาในคดีแรงงานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2477 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติเรื่ององค์คณะของผู้พิพากษาในคดีทั่วไปมาใช้บังคับ และคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางคดีนี้ มีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อครบทั้งสามคนแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ และการฟ้องคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการพิสูจน์เอกสารรับสภาพหนี้
จำเลยอ้างว่ามีที่อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ตามสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน แต่ขณะที่เจ้าหน้าที่ศาลไปส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์ หมายนัดฟังคำพิพากษา และอื่น ๆให้แก่จำเลยที่บ้านในจังหวัดเพชรบูรณ์ ปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ว่าคนข้างบ้าน บุตรสาว และคนในบ้านของจำเลยแจ้งว่าจำเลยไปธุระต่างจังหวัดบ้าง ไปธุระนอกบ้านบ้างทุกครั้งแสดงว่าจำเลยอยู่ที่บ้านที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบกับบ้านที่จังหวัดนครสวรรค์นั้นถูกรื้อไปแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยเองว่า จำเลยอาศัยอยู่ที่บ้านของพี่สาวเมื่อเดินทางไปที่จังหวัดนครสวรรค์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยมีถิ่นที่อยู่สองแห่ง คือที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งถือว่าทั้งสองแห่งนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 ฉะนั้น ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ข้ออ้างใหม่ที่ศาลไม่รับพิจารณา หากไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ไปต่างจังหวัดโดยมิได้รับอนุญาตจาก ผู้บังคับบัญชาทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายเพียง 45 บาท เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย จำเลยสามารถเลือกลงโทษโจทก์สถานใดสถานหนึ่งใน 7 สถาน แต่จำเลยกลับพิจารณาให้เลิกจ้างโจทก์เป็นโทษที่หนักเกินไป ไม่เหมาะสมกับการกระทำผิดถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เมื่อคำฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและศาลแรงาานกลางก็มิได้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบใน ศาลแรงงานกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
of 190