คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
หัสดี ไกรทองสุก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินสมทบประกันสังคมแม้จ่ายล่วงหน้าก็ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรได้ หากจ่ายครบ 7 เดือน
การหักเงินสมทบของลูกจ้างส่งสำนักงานประกันสังคม ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 47 หมายความว่า ทุกครั้งที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างนายจ้างต้องหักค่าจ้างของลูกจ้างส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคม โดยไม่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นการจ่ายค่าจ้างตามปกติหรือตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในวันที่ 25 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นการจ่ายล่วงหน้าก่อนวันสิ้นเดือนอันเป็นกำหนดจ่ายตามปกติก็เพื่อความสะดวกที่ลูกจ้างจะนำเงินไปใช้จ่ายในระหว่างคลอดบุตรซึ่งไม่ปรากฏว่ามีเจตนาทุจริต เมื่อมีการจ่ายค่าจ้างแล้ว ผู้เป็นนายจ้างก็มีหน้าที่ต้องหักค่าจ้างที่จ่ายแก่ลูกจ้างดังกล่าวส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคมและเมื่อหักแล้วจะมีผลถือว่าผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันที่นายจ้างหักค่าจ้าง เท่ากับลูกจ้างจ่ายเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2540 และ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 6 วรรคสาม บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน ให้ถือว่าเงินสมทบที่หักจากค่าจ้างที่จ่ายให้ลูกจ้างในเดือนใดเป็นการจ่ายเงินสมทบของเดือนนั้น และไม่ว่าเงิน สมทบนั้นจะได้หักไว้หรือนำส่งเดือนละกี่ครั้ง ให้ถือว่ามีระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบเท่ากับหนึ่งเดือน" จึงถือว่า เป็นการจ่ายเงินสมทบสำหรับเดือนธันวาคม 2540 และถือว่าเป็นการจ่ายเงินสมทบเท่ากับหนึ่งเดือน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ประกันตนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรไว้ในมาตรา 65 ว่า? ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดเดือนเป็นสำคัญ มิได้บัญญัติว่า ผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดเดือน
คำสั่งของสำนักงานประกันสังคมและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีเหตุที่ศาลแรงงานจะเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าและการส่งเงินสมทบประกันสังคมเพื่อสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
แม้นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ล่วงหน้าก่อนวันสิ้นเดือนอันเป็นกำหนดจ่ายตามปกติของนายจ้างก็ตาม แต่ก็เพื่อความสะดวกที่โจทก์จะนำเงินไปใช้จ่ายในระหว่างคลอดบุตรซึ่งไม่ปรากฏว่ามีเจตนาทุจริตแต่อย่างใด เมื่อมีการจ่ายค่าจ้างนายจ้างก็มีหน้าที่ต้องหักค่าจ้างส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคม และถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันที่นายจ้างหักค่าจ้าง เมื่อนับรวมกับเงินสมทบที่ส่งไปก่อนหน้านั้นแล้ว โจทก์ได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบเจ็ดเดือนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5578/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดร่วมกันฆ่า: ความไม่พอใจส่วนบุคคล ไม่ถือเป็นเจตนาเดียวกัน
++ เรื่อง ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 6 หน้า 216 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5578/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดร่วมกัน: การกระทำต้องมีเจตนาเดียวกัน ไม่ใช่แค่ความโกรธเหมือนกัน
การกระทำอันจะถือว่าร่วมกันกระทำนั้น นอกจากร่วมกันในส่วนของการกระทำแล้ว ยังต้องมีเจตนาร่วมกันด้วย แต่จากทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่า คำพูดของผู้ตายทำให้จำเลยกับพวกทุกคนเกิดความไม่พอใจ ซึ่งเป็นความไม่พอใจของแต่ละคน ทำให้ทุกคนโกรธและเจตนาทำร้ายต่อผู้ตายเหมือนกัน กรณีเป็นเรื่องต่างคนต่างทำร้ายผู้ตาย ไม่ใช่เกิดจากเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำร้ายผู้ตาย แต่อย่างใด พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบังคับคดีที่เหลือให้ลูกหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการจ่ายเมื่อทวงถาม มิเช่นนั้นยังไม่ถือเป็นเงินค้างจ่าย
เมื่อมีการจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว มีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติสองขั้นตอน คือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ขั้นตอนหนึ่ง และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายอีกขั้นตอนหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย เสร็จแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายเงินตามบัญชีนั้นต่อไป ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316, 318 และ มาตรา 322 วรรคสอง
หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายแล้ว ปรากฏว่ายังมิได้มีคำสั่งหรือการ ดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เมื่อยังมีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติอีก เงินส่วนที่เหลือนี้จึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เรียกเอาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็น สมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในการจ่ายเงินจากการขายทอดตลาด และสิทธิของลูกหนี้ในการรับเงินคืน
เมื่อจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติสองขั้นตอน คือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย โดยเมื่อจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเสร็จแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายเงินตามบัญชีนั้นต่อไป ดังนี้การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายแล้วยังมิได้มีคำสั่งหรือการดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เงินส่วนที่เหลือจึงไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาภายในห้าปีและไม่ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อจำเลยเรียกเอาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968-5050/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยทางการเงิน กรณีจำกัดสิทธิขายหุ้น
โจทก์ทั้งแปดสิบสามตกลงจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของจำเลยที่ 1โดยมีข้อจำกัดสิทธิเกี่ยวกับการจำหน่ายหุ้นและยอมให้จำเลยที่ 1 นำหุ้นที่ยังไม่มีสิทธิจำหน่ายออกขายแก่บุคคลอื่น หากโจทก์ทั้งแปดสิบสามต้องพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ก่อนครบกำหนดสามปีนับแต่วันปิดการจองซื้อ ซึ่งโจทก์ดังกล่าวจะได้รับเงินค่าหุ้นคืนเท่ากับราคาจองซื้อพร้อมดอกเบี้ยภายใน 1 เดือน นับแต่พ้นสภาพการเป็นพนักงาน เงื่อนไขดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 มีภาระหรือมีหน้าที่ที่จะต้องนำหุ้นดังกล่าวออกขายแก่บุคคลอื่นด้วย เมื่อกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินหรือค้าหลักทรัพย์ได้ตามปกติ ถือได้ว่าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 กลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้อันเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคสอง จำเลยที่ 1จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ผิดข้อตกลงหรือยกเลิกเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ระบุในบันทึกการเสนอขายหุ้นโดยพลการจำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระเงินค่าหุ้น ค่าเสียหายและดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968-5050/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นวิสัยของการชำระหนี้จากเหตุสุดวิสัยทางการเงินของลูกหนี้ และผลกระทบต่อสัญญาซื้อขายหุ้น
ในวันที่โจทก์ทั้งแปดสิบสามถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างนั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะนำหุ้นในส่วนที่เหลือของโจทก์ทั้งแปดสิบสามออกขายให้แก่บุคคลอื่นตามเงื่อนไขในบันทึกเสนอขายหุ้นแล้ว เนื่องจากถูกกระทรวงการคลังมีคำสั่งห้ามมิให้ทำธุรกรรมทางการเงินหรือค้าหลักทรัพย์อีกต่อไป ถือได้ว่าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภาระหรือมีหนี้ที่จะต้องนำหุ้นออกขายให้แก่บุคคลอื่นดังกล่าวกลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ผิดข้อตกลงหรือยกเลิกเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ระบุในบันทึกการเสนอขายหุ้นโดยพลการ จำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระค่าหุ้น ค่าเสียหายและดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน หากได้รับสำเนาคำพิพากษาหลังกำหนด ศาลต้องพิจารณาขยายเวลาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
หากเป็นความจริงตามคำร้องของจำเลยที่ว่า จำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ กรณีถือได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
ศาลแรงงานไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวกรณีถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ศาลแรงงานจึงชอบจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกาการที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยเข้าใจเรื่องระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงานผิดพลาด หากขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: เหตุสุดวิสัย-ได้รับสำเนาคำพิพากษาล่าช้า ศาลต้องพิจารณาขยายเวลาให้เพื่อความเป็นธรรม
หากเป็นความจริงตามคำร้องของจำเลยที่ว่า จำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ กรณีถือได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
ศาลแรงงานไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวกรณีถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ศาลแรงงานจึงชอบจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยเข้าใจเรื่องระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงานผิดพลาด หากขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานสั่งใหม่
of 190