พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ยิงหลายนัดในจุดสำคัญ และเหตุบันดาลโทสะที่ไม่สมเหตุผล
จำเลยเคยรับราชการทหารมาก่อน เป็นผู้มีความคุ้นเคยและสันทัดจัดเจนการใช้อาวุธปืน ย่อมทราบอานุภาพความร้ายแรงของอาวุธนั้นว่าหากถูกอวัยวะสำคัญของบุคคลใดอาจทำให้บุคคลนั้นเสียชีวิตได้ การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมหลายนัดที่บริเวณท้องและทรวงอกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญด้วยความโกรธที่จำเลยพูดกับโจทก์ร่วมแล้วโจทก์ร่วมมิได้ยินยอมตามความประสงค์ของจำเลย ย่อมแสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ขัดแย้ง & พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย
คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยานบอกเล่า แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 จะอนุญาตให้อ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 2 ได้ แต่การใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่ดีที่สุดที่โจทก์พึงนำมาแสดง ดังนั้น จึงต้องพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และพฤติการณ์ในการได้มาซึ่งคำให้การรับสารภาพดังกล่าวด้วย
แม้คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกการจับกุมจะมีใจความสอดคล้องกับคำเบิกความของพันตำรวจตรี ว. แต่บันทึกคำให้การรับสารภาพที่พันตำรวจตรี ว. ได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเขียนบันทึกคำให้การรับสารภาพ โดยให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ กลับมีใจความที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คงมีแต่ข้อความในสามบรรทัดสุดท้ายเท่านั้นที่พอจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จำเลยที่ 2 ถูกตรวจค้นและจับกุมในขณะเกิดเหตุ แต่ก็มิได้แสดงให้เห็นด้วยว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลาง พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมจึงขัดแย้งกันเองในข้อสำคัญ และมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อของพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนด้วย เพราะนอกจากคำให้การตามคำให้การรับสารภาพซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นคำให้การปฏิเสธ จะขัดแย้งตรงกันข้ามกับคำให้การรับสารภาพตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาแล้ว ยังปรากฏว่าหลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 กับพวกเวลา 0.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่จำเลยที่ 2 ถูกส่งตัวให้แก่พนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ถูกสอบปากคำอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าพนักงานตำรวจหลายคนเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง และเมื่อพันตำรวจตรี ช. พนักงานสอบสวนได้รับตัวจำเลยที่ 2 ไว้แล้ว ได้ทำการสอบปากคำจำเลยที่ 2 ต่อเนื่องไปจนถึงเวลา 12 นาฬิกา ที่นำตัวจำเลยส่งไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพไว้ด้วย ดังนั้น การสอบปากคำจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนรวมทั้งการนำจำเลยที่ 2 ไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพจึงมีเหตุสมควรสงสัยว่าน่าจะเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 2 มีความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียทั้งร่างกายและจิตใจ และมีผลกระทบต่อน้ำหนักความน่าเชื่อของคำรับสารภาพที่ได้รับจากจำเลยที่ 2 ด้วย พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
แม้คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกการจับกุมจะมีใจความสอดคล้องกับคำเบิกความของพันตำรวจตรี ว. แต่บันทึกคำให้การรับสารภาพที่พันตำรวจตรี ว. ได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเขียนบันทึกคำให้การรับสารภาพ โดยให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ กลับมีใจความที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คงมีแต่ข้อความในสามบรรทัดสุดท้ายเท่านั้นที่พอจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จำเลยที่ 2 ถูกตรวจค้นและจับกุมในขณะเกิดเหตุ แต่ก็มิได้แสดงให้เห็นด้วยว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลาง พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมจึงขัดแย้งกันเองในข้อสำคัญ และมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อของพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนด้วย เพราะนอกจากคำให้การตามคำให้การรับสารภาพซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นคำให้การปฏิเสธ จะขัดแย้งตรงกันข้ามกับคำให้การรับสารภาพตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาแล้ว ยังปรากฏว่าหลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 กับพวกเวลา 0.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่จำเลยที่ 2 ถูกส่งตัวให้แก่พนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ถูกสอบปากคำอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าพนักงานตำรวจหลายคนเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง และเมื่อพันตำรวจตรี ช. พนักงานสอบสวนได้รับตัวจำเลยที่ 2 ไว้แล้ว ได้ทำการสอบปากคำจำเลยที่ 2 ต่อเนื่องไปจนถึงเวลา 12 นาฬิกา ที่นำตัวจำเลยส่งไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพไว้ด้วย ดังนั้น การสอบปากคำจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนรวมทั้งการนำจำเลยที่ 2 ไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพจึงมีเหตุสมควรสงสัยว่าน่าจะเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 2 มีความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียทั้งร่างกายและจิตใจ และมีผลกระทบต่อน้ำหนักความน่าเชื่อของคำรับสารภาพที่ได้รับจากจำเลยที่ 2 ด้วย พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามตามมาตรา 249 และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา รวมถึงประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยให้ เนื่องจากไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นเป็นข้อพิพาทไว้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแต่ประการใด และไม่วินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859-860/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: ประเด็นเดิมที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้กฎหมายใหม่บัญญัติความหมายนายจ้างต่างกัน ก็ไม่สามารถฟ้องใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลย พิพากษายกฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าเป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยกระทำความผิดสัญญาจ้างแรงงานและข้อตกลงตามสัญญา และกระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ข้อที่ว่า คดีก่อนศาลแรงงานกลางฟังข่อเท็จจริงไม่ถูกต้องเพราะพยานจำเลยเบิกความอันเป็นความเท็จทำให้ศาลหลงเชื่อก็ดี บทบัญญัติของกฎหมายที่บังคับใช้หลังจากคดีถึงที่สุดแล้วให้ความหมายของคำว่านายจ้างแตกต่างจากที่บัญญัติในกฎหมายเดิมก็ดี มิใช่ข้อยกเว้นที่ ป.วิ.พ. มาตรา 148 บัญญัติไว้อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้อีก
ข้อที่ว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตาม ป.วิ.พ ม. 148 (3) นั้น จะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ยกฟ้องนั้นด้วยโจทก์จึงจะมีสิธิฟ้องใหม่ได้ เมื่อคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางคดีก่อนมิได้ระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่
ข้อที่ว่า คดีก่อนศาลแรงงานกลางฟังข่อเท็จจริงไม่ถูกต้องเพราะพยานจำเลยเบิกความอันเป็นความเท็จทำให้ศาลหลงเชื่อก็ดี บทบัญญัติของกฎหมายที่บังคับใช้หลังจากคดีถึงที่สุดแล้วให้ความหมายของคำว่านายจ้างแตกต่างจากที่บัญญัติในกฎหมายเดิมก็ดี มิใช่ข้อยกเว้นที่ ป.วิ.พ. มาตรา 148 บัญญัติไว้อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้อีก
ข้อที่ว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตาม ป.วิ.พ ม. 148 (3) นั้น จะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ยกฟ้องนั้นด้วยโจทก์จึงจะมีสิธิฟ้องใหม่ได้ เมื่อคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางคดีก่อนมิได้ระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิสูจน์สาเหตุ และความรับผิดของนายจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดที่มีโทษถึงขั้นไล่ออก เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างและรับโจทก์กลับเข้าทำงาน มิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ย เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นสิทธิในทางแพ่งโดยเฉพาะ ไม่ได้อาศัยมูลความผิดทางอาญา แม้จำเลยทั้งสองจะให้การว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ เพราะโจทก์กระทำความผิดอาญาโดยทำร้ายร่างกาย พ. และถูกศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษาลงโทษไปแล้ว ก็ไม่ทำให้คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวจะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้ ที่ศาลแรงงานกลางให้โจทก์นำสืบถึงสาเหตุและพฤติการณ์ที่โจทก์ทำร้าย พ. และนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้จงใจทำผิดข้อบังคับและไม่เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด
แม้จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 (2) แต่จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
แม้จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 (2) แต่จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: มูลหนี้ต่างกันจากคดีอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมีโจทก์เป็นผู้เสียหาย ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และให้ชดใช้ราคาน้ำมันแก่โจทก์ คำฟ้องคดีอาญาดังกล่าว แม้จะถือว่าเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนี้เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่ผู้เสียหายจะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ ถึงแม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันคือขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องของทั้งสองคดีเป็นคนละอย่าง ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแพ่งแรงงาน: แม้คำขอชดใช้ค่าเสียหายเหมือนกัน แต่หากมูลหนี้ต่างกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการจังหวัดระยองฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมีโจทก์เป็นผู้เสียหาย ศาลจังหวัดระยองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ราคาน้ำมันเป็นเงิน 540,940 บาท แก่โจทก์ซึ่งเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่ผู้เสียหายจะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและมูลสัญญาจ้างแรงงาน คดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันคือขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการจังหวัดระยองขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด ส่วนคดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292-339/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับองค์การของรัฐ: รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายยังไม่เป็นของแผ่นดิน
จำเลยที่ 1 เป็นองค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ. 2496 แม้ตามมาตรา 8 จะกำหนดให้กระทรวงคมนาคมโอนกิจการ สิทธิ หน้าที่ ทรัพย์สิน และหนี้สิน ซึ่งเกิดจากการดำเนินกิจการขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ซึ่งสังกัดอยู่ในกระทรวงคมนาคม ตลอดจนพนักงานขององค์การดังกล่าว ก่อนวันพระราชกฤษฎีกานี้บังคับให้แก่จำเลยที่ 1 ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และตามมาตรา 9 บัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาท โดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาท และจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดรัฐบาลเป็นผู้จ่ายให้ และทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 บางส่วนได้รับโอนจากกระทรวงคมนาคม แต่ตามมาตรา 11 ก็กำหนดให้รายได้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากการดำเนินกิจการให้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนตามมาตรา 12 กำหนดให้เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้แล้วรายได้ของจำเลยที่ 1 เหลือเท่าใด จึงให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ แสดงให้เห็นว่ารายได้ของจำเลยที่ 1 ก่อนหักค่าใช้จ่ายยังไม่เป็นของแผ่นดินอันจะยึดไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 กรณีเช่นนี้ ศาลแรงงานย่อมออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดอายัดทรัพย์จำเลยที่ 1 ในส่วนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292-339/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับองค์การของรัฐ: ทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินงานยังไม่เป็นของแผ่นดิน
จำเลยที่ 1 เป็นองค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ฯ แม้ตามมาตรา 8 จะกำหนดให้กระทรวงคมนาคมโอนกิจการ สิทธิ หน้าที่ ทรัพย์สิน สินทรัพย์ และหนี้สิน ซึ่งเกิดจากการดำเนินกิจการขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ซึ่งสังกัดอยู่ในกระทรวงคมนาคมตลอดจนพนักงานขององค์การดังกล่าวก่อนวันใช้ พ.ร.ฎ. บังคับให้แก่จำเลยที่ 1 และตามมาตรา 9 กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาท โดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาท และจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดรัฐบาลเป็นผู้จ่ายให้ และทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 บางส่วนได้รับโอนจากกระทรวงคมนาคมก็ตาม แต่ตามมาตรา 11 กำหนดให้รายได้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากการดำเนินกิจการให้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 เพื่อสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนตามมาตรา 12 กำหนดให้เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้แล้ว รายได้ของจำเลยที่ 1 เหลือเท่าใดจึงให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ แสดงให้เห็นว่ารายได้ของจำเลยที่ 1 ก่อนหักค่าใช้จ่ายยังไม่เป็นของแผ่นดินอันจะยึดไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ศาลแรงงานกลางออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดอายัดทรัพย์จำเลยที่ 1 ในส่วนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12207/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์อาการป่วยเพื่อขอเลื่อนคดี ศาลมีอำนาจตรวจอาการและไม่อนุญาตเลื่อนหากไม่พิสูจน์ได้
เมื่อศาลสงสัยว่าทนายจำเลยมีอาการป่วยร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้หรือไม่ ศาลมีอำนาจที่จะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปทำการตรวจดูว่าทนายจำเลยป่วยจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีหรือไม่ การที่ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจทนายจำเลย โดยให้แพทย์ตรวจอาการแสดงว่า ศาลมีความสงสัยตามควรแล้วว่าทนายจำเลยจะป่วยเจ็บตามคำร้องถึงกับจะมาศาลไม่ได้จริงหรือไม่ เมื่อทนายจำเลยมีภาระพิสูจน์แต่มิได้พิสูจน์ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนการนั่งพิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป จึงชอบแล้ว
ชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ พยานจำเลยซึ่งคือตัวจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่ามีเหตุขัดข้องว่ามีเหตุอันควรอย่างไรจึงมาศาลไม่ได้ จำเลยไม่มีพยานมาสืบโจทก์จึงไม่มีอะไรให้ต้องสืบคัดค้าน คดีเสร็จการพิจารณาและเมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจึงต้องงดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่และให้ยกคำร้อง เพราะการไต่สวนคำร้องต่อไปจะเท่ากับเป็นการอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยเลื่อนคดี
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาสั่งให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ 167
ชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ พยานจำเลยซึ่งคือตัวจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่ามีเหตุขัดข้องว่ามีเหตุอันควรอย่างไรจึงมาศาลไม่ได้ จำเลยไม่มีพยานมาสืบโจทก์จึงไม่มีอะไรให้ต้องสืบคัดค้าน คดีเสร็จการพิจารณาและเมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจึงต้องงดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่และให้ยกคำร้อง เพราะการไต่สวนคำร้องต่อไปจะเท่ากับเป็นการอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยเลื่อนคดี
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาสั่งให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ 167