คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
หัสดี ไกรทองสุก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,899 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4492/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีอาญาและแรงงานมีประเด็นต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงบางส่วนเชื่อมโยง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย กล่าวหาว่าโจทก์ในคดีนี้ได้ครอบครองดูแลรักษาสินค้าประเภทเครื่องสำอางของผู้เสียหาย (จำเลยคดีนี้) แล้วโจทก์ได้เบียดบังเอาสินค้าดังกล่าวไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และมีคำขอให้โจทก์คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แต่คดีนี้นอกจากจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปแล้วจำเลยยังอ้างในฟ้องแย้งด้วยว่า โจทก์ครอบครองทรัพย์สินของจำเลย โจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่จำเลยตามระเบียบ แต่โจทก์ไม่นำสินค้าส่งคืนให้แก่จำเลยโดยไปมอบสินค้าให้แก่บุคคลอื่นซึ่งโจทก์อ้างว่าไม่รู้จัก จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงาน โดยโจทก์ไม่ส่งคืนสินค้าแก่จำเลยตามหน้าที่ และขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่จำเลย เห็นได้ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายรวมอยู่ด้วย และแม้ศาลแขวงพระนครใต้จะพิพากษายกฟ้องคดีอาญา แต่ศาลก็วินิจฉัยเพียงว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นกับผู้ที่มารับสินค้า จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้โจทก์ เท่ากับฟังว่าการกระทำของโจทก์ที่ส่งมอบสินค้าให้แก่บุคคลอื่นที่โจทก์ไม่รู้จักนั้นยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอก โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้จำเลยได้รับความเสียหายหรือไม่การที่จำเลยฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าจ้างต้องระบุรายละเอียดชัดเจน หากฟ้องไม่ชัดเจน ศาลอาจยกฟ้องได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกให้นายจ้างชำระค่าจ้าง ลูกจ้างต้องบรรยายฟ้องมาให้ชัดแจ้งว่าค่าจ้างจำนวนที่เรียกให้ชำระเป็นค่าจ้างประเภทใด เพื่อที่นายจ้างจะได้ให้การต่อสู้ได้ว่าค่าจ้างจำนวนดังกล่าวลูกจ้างมีสิทธิได้รับจริงและนายจ้างยังมิได้ชำระหรือไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าคอมมิชชั่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากผลงานขายของลูกทีมโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ลูกทีมดังกล่าวมีใครบ้าง และแต่ละคนมีผลงานขายเท่าใด พอที่จำเลยทั้งสองจะให้การต่อสู้ได้ ฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงเคลือบคลุม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้เป็นนายหน้าติดต่อให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดกับธนาคารตามโครงการดีบีเอสไทยทนุ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าคอมมิชชั่นโครงการดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่ศาลแรงงานกลางฟังไว้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้เลิกจ้างโจทก์ ที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาเลิกจ้างโจทก์แต่เป็นเรื่องที่โจทก์สมัครใจลาออกเอง จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกรับประโยชน์จากคำสั่งเยียวยาการเลิกจ้าง: ลูกจ้างเลือกรับค่าชดเชยจากพนักงานตรวจแรงงาน สละสิทธิจากคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาแก่ลูกจ้างไว้แตกต่างกัน และเป็นกฎหมายคนละฉบับแต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดเช่นเดียวกัน ในกรณีที่การเลิกจ้างนั้นเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้ลูกจ้างจะมีสิทธิยื่นคำร้องได้ทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงานก็ตาม แต่ลูกจ้างจะถือเอาประโยชน์จากคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันทั้งสองทางมิได้ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกันไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ลูกจ้างจะต้องเลือกรับเอาประโยชน์ตามคำสั่งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างจึงยื่นคำร้องทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานไปครบถ้วนแล้ว อันเป็นการเลือกเข้าถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งในส่วนให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายนับแต่วันถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่รับกลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่สิทธิฟ้องร้องบังคับจำเลยตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเลือกรับประโยชน์จากคำสั่งคุ้มครองแรงงานได้ทางเดียว สละสิทธิประโยชน์จากอีกหน่วยงาน
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ต่างมีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดเช่นเดียวกัน โดย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้ลูกจ้าง ที่ถูกเลิกจ้างมีสิทธินำคำร้องกล่าวหานายจ้างไปยื่นต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 124 เพื่อให้ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยและออกคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือจ่ายค่าเสียหาย หรือปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ในกรณีที่การเลิกจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 41 (4) และมาตรา 125 ส่วน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงาน ตรวจแรงงานเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 123 และมาตรา 124 ในกรณีที่การเลิกจ้างนั้นเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้ลูกจ้างจะมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวได้ ทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงานก็ตาม แต่ลูกจ้างจะถือเอาประโยชน์จากคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันทั้งสองทางมิได้ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อน ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ลูกจ้างจะต้องเลือกรับเอาประโยชน์ตามคำสั่งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เมื่อลูกจ้างเลือกเข้าถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างสละสิทธิไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของคณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649-3650/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดโดยบันดาลโทสะจากเหตุข่มเหง การพิจารณาความรุนแรงของการกระทำและลดโทษ
ผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นวัยรุ่นบุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้านที่จำเลยที่ 2 และครอบครัวอยู่อาศัยและปีนหลังคาห้องน้ำแอบดูการอาบน้ำของน้องสาวจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ในวัยรุ่นเช่นกันและยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการข่มเหงจำเลยที่ 2 อย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จนก่อให้เกิดโทสะขึ้นถึงขั้นกระทำความผิดลงได้ จำเลยที่ 2 ใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหายทั้งสองได้รับอันตรายสาหัส แม้การกระทำของจำเลยที่ 2 จะกระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองในลักษณะที่รุนแรงเกินไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ยังเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความเหมาะสมแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงในการกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษายกฟ้องคดียาเสพติด และการพิจารณาการริบของกลางที่ศาลอุทธรณ์ละเลย
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมยึดหลอดกาแฟ 10 หลอด เป็นของกลาง และขอให้ริบของกลางด้วยนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษายืน แต่ไม่ริบหลอดกาแฟของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่ถือเป็นการป้องกันโดยชอบธรรม เนื่องจากไม่มีเหตุอันตรายที่ต้องป้องกัน
ผู้ตายกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน แต่มีเรื่องทะเลาะกันเป็นประจำจึงแยกกันอยู่ วันเกิดเหตุผู้ตายกับจำเลยไปบ้านเกิดเหตุเพื่อตกลงปัญหาเรื่องครอบครัวแต่ตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงจะออกจากบ้าน ผู้ตายนำอาวุธปืนออกมาวางที่ปลายเตียงเพื่อขู่ให้จำเลยอยู่กับผู้ตายและที่ผู้ตายพูดขู่จำเลยขณะจำเลยขยับตัวจะวิ่งก็เป็นเพียงขู่ไม่ใช่จำเลยหนีไปเท่านั้น แต่จำเลยเกรงว่าผู้ตายจะใช้อาวุธปืนของกลางยิงจำเลย ทั้งที่ไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่จะส่อว่าผู้ตายจะทำเช่นนั้น จึงถือว่าไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การเรียกร้องเงินสมทบเงินฝากสะสมช่วงเวลาต่างกันถือเป็นการรื้อร้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินสมทบเงินฝากสะสมของโจทก์ในช่วงเวลานับแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ส่วนคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินสมทบเงินฝากสะสมของโจทก์ในช่วงเวลานับแต่วันที่เลิกจ้างโจทก์จนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุ แต่ทั้งสองคดีก็เป็นการที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบซึ่งโจทก์อ้างว่ามีสิทธิจะได้รับตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินฝากสะสมฯ ซึ่งโจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบทั้งสองช่วงเวลาดังกล่าวในคราวเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบในคดีนี้อีก ถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมแปลงเงินตราต่างประเทศและเงินตราไทย มีเจตนาต่างกัน ถือเป็นความผิดหลายกรรม
จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นซึ่งธนบัตรซึ่งรัฐบาลไทยออกใช้กับธนบัตรซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริการออกใช้ เป็นการกระทำที่มีเจตนาให้เกิดผลแตกต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน และความรับผิดของนายจ้าง/บริษัทประกันภัยตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน
ท. มีตำแหน่งเป็นแม่บ้านของโจทก์ มีหน้าที่ดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยภายในสำนักงาน บริการจัดหาเครื่องดื่ม ของว่าง และอาหารแก่ผู้มาติดต่อและพนักงานที่ประจำอยู่สำนักงาน กับจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคตามขอบข่ายหน้าที่ ลักษณะงานของ ท. ต้องเข้าทำงานก่อนพนักงานอื่นและต้องทำงานนอกสถานที่ โจทก์กำหนดค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายให้ แสดงว่า ท. ต้องเริ่มทำงานก่อนเวลาทำงานปกติ ท. ขับรถจักรยานยนต์ไปที่ทำงาน ได้แวะซื้อของที่ตลาดเพื่อนำไปเตรียมไว้รับรองแขกและพนักงานของโจทก์ตามหน้าที่ ขณะกำลังขับรถจากตลาดไปที่ทำงานได้เกิดเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่ง ท. ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการที่ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง เป็นการประสบอันตรายตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทวงถามให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาล ท. แต่จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงชำระเงินค่ารักษาพยาบาล ท. แทนจำเลยไป จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินไป จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่จำต้องทวงถาม จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงินไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
of 190