พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเลิกจ้าง, ฟ้องเคลือบคลุม, ค่าเดินทางกลับ: ประเด็นความชอบธรรมและการเรียกร้องสิทธิในคดีแรงงาน
จำเลยจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน การที่จำเลยแจ้งโจทก์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2534 ให้โจทก์ออกจากงานในวันที่30 พฤศจิกายน 2534 จึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างประจำเดือนตุลาคม 2534 เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดการจ่ายสินจ้างครั้งถัดไปคือวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534เป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าที่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 แล้ว เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ระบุเพียงว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยให้โจทก์มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 3 สัปดาห์ และขอให้จำเลยรับผิดชอบเงินเดือนในส่วนที่ชดเชยการไม่ได้ใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน 16,650 บาท โดยมิได้บรรยายเลยว่าโจทก์มิได้หยุดพักผ่อนประจำปีในปีใดบ้าง ปีละกี่วัน ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31,35เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปี การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวและพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ จึงไม่ชอบ จำเลยจ้างโจทก์มาจากประเทศอิตาลีโดยออกค่าเดินทางจากประเทศอิตาลีมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างถึงโจทก์โดยเสนอจะให้เงินค่าตั๋วเครื่องบินกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกหรือประเทศยุโรป โจทก์ไม่ตกลงตามเงื่อนไขในข้อเสนอดังกล่าว ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตั๋วเดินทางกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกหรือประเทศยุโรปจึงมิใช่เป็นการเรียกร้องค่าเดินทางกลับถิ่นที่จำเลยจ้างโจทก์มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 586
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้าง: ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน, ค่าทำงานล่วงเวลา, และวันหยุดประจำสัปดาห์
โจทก์ทำงานเป็นพนักงานต้อน รับบนขบวนรถไฟดีเซลราง เริ่มเข้าทำงานก่อนที่ขบวนรถจะออก 1 ชั่วโมง และทำงานอยู่บนขบวนรถตลอดทางจนถึงสถานีปลายทาง ส่วนในเที่ยวกลับก็เข้าทำงานในลักษณะเดียวกันการทำงานของโจทก์ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเดินทางของขบวนรถดีเซลรางแต่ละครั้ง จึงเป็นการทำงานตามปกติของโจทก์ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์แต่ละเที่ยวของการเดินทางจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติด้วย เพราะนอกจากงานต้อน รับขบวนรถแล้วโจทก์ไม่มีหน้าที่อื่นอีก แม้เวลาทำงานบนขบวนรถจะเกิดกำหนดเวลาตามที่กำหนดในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ก็ตาม โจทก์ก็ได้ทำงานกับจำเลยโดยได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงรวมกันตลอดมา แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างกันในลักษณะดังกล่าว เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นค่าจ้าง เมื่อนำเบี้ยเลี้ยงไปคิดรวมกับเงินเดือนแล้ว ถือได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ งานที่จำเลยให้โจทก์ทำเป็นงานขนส่ง แม้จำเลยจะให้โจทก์ทำงานเกินเวลาที่กำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดในการกระทำของตนเป็นอีกกรณีหนึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36 การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเกือบหนึ่งเท่า เมื่อพิจารณาตามลักษณะงานกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกือบ 4 ปี และโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการจ่ายค่าจ้างในลักษณะดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ส่วนที่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นค่าทำงานเกินเวลา ทั้งกรณีไม่ใช่การใช้แรงงานไม่เหมาะสม จึงใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยจ่ายเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินส่วนนี้อีก ลักษณะงานของโจทก์จะต้องทำต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันในวันที่ติดต่อกัน ไม่อาจหยุดเต็มวันในวันเดียวกันได้ จำเลยมีเวลาให้โจทก์หยุดทำงานติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งกรณีถือได้ว่าในแต่ละสัปดาห์จำเลยได้ให้โจทก์หยุดทำงานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 7 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีไม่มีข้อตกลงล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปหยุดปีอื่น ทั้งจำเลยไม่ได้ให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้จำเลยกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีสิทธิค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 ที่กำหนดให้พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นเป็นเพียงบทกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน การที่จำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งก็เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง เงินกองทุนสงเคราะห์ จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยและมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์พนักงานและทายาท ซึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำเหน็จบำนาญเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณต่างจากวิธีคำนวณค่าชดเชยเงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำเหน็จบำนาญมิใช่ค่าชดเชยจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก จำเลยไม่ได้กำหนดให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ในช่วงใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่า โจทก์ไม่ใช่สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเองเมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยที่โจทก์มิได้กระทำความผิดตามประกาศดังกล่าวข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ และกรณีมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุเข้าข่ายการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน สิทธิค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างจะต้องดำเนินการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ย จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมีวัตถุประสงค์ในทางสงเคราะห์พนักงานและทายาท เงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำเหน็จเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณทำนองเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญของข้าราชการซึ่งต่างจากวิธีคำนวณค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์กับเงินบำเหน็จจึงไม่ใช่ค่าชดเชย แม้มากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์เรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก จำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนได้ในช่วงใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10จึงอ้างไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเองเมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แล้ว โจทก์ทั้งสิบสี่จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยส่วนหนึ่งนั้นเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือนไป จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยเพื่อสงเคราะห์พนักงานและทายาท ส่วนเงินบำนาญนั้นเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณอันแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำนาญจึงมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้น แม้จะมากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยมิได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเอง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีหลังกลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์วันละ 70 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเรื่องค่าเสียหายทั่วไป หาใช่เป็นการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์อันพึงต้องอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 หมายความว่าได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีก ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้น โจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32(3) และข้อ 45.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 หมายความว่าได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีก ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้น โจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32(3) และข้อ 45.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหาย และสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อศาลสั่งกลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์วันละ 70 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนถึง วันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าว เป็นเรื่องค่าเสียหายทั่วไป หาใช่เป็นการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ อันพึงต้องอยู่บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45หมายความว่า ได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีกลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้นโจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32(3) และข้อ 45