พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-อายุความ: คดีตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ เรียกค่าทดรองจากตัวการ
คดีโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย มีประเด็นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าจำเลยทำสัญญาแต่งตั้งหรือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ โจทก์ออกเงินทดรองชำระค่าหลักทรัพย์ที่จำเลยสั่งซื้อ แต่จำเลยไม่ชำระเงินคืนโจทก์ มีประเด็นว่า จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ แม้พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นชุดเดียวกัน แต่ก็เป็นคนละประเด็น และการวินิจฉัยของศาลทั้งสองคดีไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน และเป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปชดใช้จาก ตัวการในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอายุความกรณีตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ซ้อนและอายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์คดีแรกเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย คดีมีประเด็นว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่ ส่วนในคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์อ้างว่าจำเลยทำสัญญาแต่งตั้งหรือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหลักทรัพย์ที่จำเลยสั่งซื้อ แต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินคืนโจทก์ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ แม้พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองคดีจะเป็นพยานหลักฐานชุดเดียวกัน แต่ก็เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน และการวินิจฉัยของศาลในเรื่องทั้งสองดังกล่าวก็ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าหุ้นและค่านายหน้าที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนจำเลยไป เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปชดใช้จากตัวการในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าหุ้นและค่านายหน้าที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนจำเลยไป เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปชดใช้จากตัวการในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการฟ้องล้มละลายต่ออายุความค้ำประกัน
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์ แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกันและการสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
++ เรื่อง ค้ำประกัน ++
++ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
++ แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ +++
++ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
++ แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ +++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาสิ้นสุดคดีผิดสัญญาประกัน เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
ในคดีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันผู้ประกันนำตัวจำเลยมาส่งศาลและยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นนัดไต่สวน ถึงวันนัดผู้ประกันไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้ประกันไม่ติดใจขอลดค่าปรับและจำหน่ายคดี ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับเข้ามาใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ผู้ประกันจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไปอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองบ้านและที่ดินโดยทายาทหลังนิติกรรมการให้มีผลเกิน 10 ปี ถือเป็นบริวารของผู้รับโอน
จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และได้จดทะเบียนโอนบ้านเลขที่ 103/9 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 21740 ให้แก่โจทก์แทนการชำระหนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้บ้านและที่ดินดังกล่าวมาโดยมีค่าตอบแทน แม้จะฟังตามที่ผู้ร้องทั้งห้าอ้างว่าโจทก์รับโอนมาโดยทราบว่าบ้านและที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างนายวิชัยและ นางเพิ่มสุขจดทะเบียนยกให้จำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายวิชัยก็ตาม แต่ตราบใดที่ศาลยังไม่ได้เพิกถอน นิติกรรมการให้ระหว่างนางเพิ่มสุขกับจำเลย จำเลยผู้มีชื่อในทะเบียนที่ดินจึงยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าว และแม้จะฟังว่านายวิชัยอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างนางเพิ่มสุขกับจำเลยได้ แต่นับแต่ นางเพิ่มสุขจดทะเบียนยกบ้านและที่ดินดังกล่าวให้จำเลยเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2524 ถึงวันที่ผู้ร้องทั้งห้ายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2538 เป็นเวลาเกิน 10 ปี ผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของนายวิชัยจึงไม่มีสิทธิฟ้อง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างนางเพิ่มสุขกับจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง การที่ผู้ร้องทั้งห้าอยู่ในบ้านและที่ดินโฉนดเลขที่ 21740 ถือว่าอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย ผู้ร้องทั้งห้าจึงเป็นบริวารของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมข่มขืนโทรมหญิง แม้ไม่ได้ลงมือเอง ก็มีความผิดตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะมิได้เป็นผู้ลงมือข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่พฤติการณ์ที่จำเลยช่วยกันฉุดผู้เสียหายและช่วยกดคอและตบตีผู้เสียหายเพื่อให้พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในลักษณะโทรมหญิงนั้นถือได้ว่าจำเลยได้เป็นตัวการร่วมกระทำผิดด้วยกันกับพวกของจำเลยแล้ว จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเกินกว่าค่าธรรมเนียม และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับคำขอต่าง ๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินทุกประเภท รวมทั้ง งานในด้านเกี่ยวกับการเงินและบัญชี โดยมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องการกรอกข้อความในเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน และนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ทั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวมาก่อนเกิดเหตุนาน ประมาณ 7 ปี จำเลยย่อมทราบและคำนวณค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนที่ดินในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นอย่างดี การที่จำเลยเรียกหรือรับเงินจำนวน 7,800 บาท ไว้แล้วนิ่งเฉยเสีย แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาเรียกหรือรับเอาเงินส่วนที่เกินไว้สำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการในตำแหน่ง จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149
จำเลยพร้อมที่จะเสนอเรื่องราวขอจดทะเบียนขายที่ดินระหว่าง น. กับ ส. ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินเพื่อดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ แต่จำเลยกลับละเว้นไม่ดำเนินการนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมา ดังนั้น ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 157 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งตาม ป.อ. มาตรา 149 เมื่อปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 149 อันเป็น บทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
เมื่อจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ตามความเป็นจริง ตรงตามเจตนาของผู้ซื้อขายที่ดินทุกประการ และตราประทับของกระทรวงมหาดไทยก็ถูกต้อง เพียงแต่ยังไม่มี ลายมือชื่อนายอำเภอและยังมิได้ลงวันที่และเดือนที่ออกใบแทนฯ เท่านั้น เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นโดยมีเจตนาจะลอกเลียนแบบหรือปลอมเอกสารต้นฉบับ ๆ หนึ่งฉบับใด เป็นเพียงแต่เอกสารยังลงรายการ ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามระเบียบของทางราชการเท่านั้น และการที่นายอำเภอในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้ลงชื่อรับรองเอกสารกับการที่ยังมิได้ลงวันเดือนปีที่ออกเอกสาร ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ผู้พบเห็นเอกสารจะหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงที่ทางราชการออกให้ไปได้ การกระทำของจำเลยไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสาร จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 161 ประกอบด้วยมาตรา 266 (1)
จำเลยพร้อมที่จะเสนอเรื่องราวขอจดทะเบียนขายที่ดินระหว่าง น. กับ ส. ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินเพื่อดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ แต่จำเลยกลับละเว้นไม่ดำเนินการนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมา ดังนั้น ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 157 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งตาม ป.อ. มาตรา 149 เมื่อปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 149 อันเป็น บทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
เมื่อจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ตามความเป็นจริง ตรงตามเจตนาของผู้ซื้อขายที่ดินทุกประการ และตราประทับของกระทรวงมหาดไทยก็ถูกต้อง เพียงแต่ยังไม่มี ลายมือชื่อนายอำเภอและยังมิได้ลงวันที่และเดือนที่ออกใบแทนฯ เท่านั้น เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นโดยมีเจตนาจะลอกเลียนแบบหรือปลอมเอกสารต้นฉบับ ๆ หนึ่งฉบับใด เป็นเพียงแต่เอกสารยังลงรายการ ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามระเบียบของทางราชการเท่านั้น และการที่นายอำเภอในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้ลงชื่อรับรองเอกสารกับการที่ยังมิได้ลงวันเดือนปีที่ออกเอกสาร ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ผู้พบเห็นเอกสารจะหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงที่ทางราชการออกให้ไปได้ การกระทำของจำเลยไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสาร จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 161 ประกอบด้วยมาตรา 266 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเกินกำหนดเพื่อการจดทะเบียนที่ดิน และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับคำขอต่าง ๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินทุกประเภท รวมทั้งงานในด้านเกี่ยวกับการเงินและบัญชี โดยมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องการกรอกข้อความในเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ทั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวมาก่อนเกิดเหตุนานประมาณ 7 ปี จำเลยย่อมทราบและคำนวณค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนที่ดินในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นอย่างดี การที่จำเลยเรียกหรือรับเงินจำนวน 7,800 บาท ไว้แล้วนิ่งเฉยเสีย แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาเรียกหรือรับเอาเงินส่วนที่เกินไว้สำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการในตำแหน่ง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
จำเลยพร้อมที่จะเสนอเรื่องราวขอจดทะเบียนขายที่ดินระหว่าง น. กับ ส. ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินเพื่อดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ แต่จำเลยกลับละเว้นไม่ดำเนินการนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมา ดังนั้น ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 เมื่อปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
เมื่อจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ตามความเป็นจริง ตรงตามเจตนาของผู้ซื้อผู้ขายที่ดินทุกประการ และตราประทับของกระทรวงมหาดไทยก็ถูกต้อง เพียงแต่ยังไม่มีลายมือชื่อ นายอำเภอและยังมิได้ลงวันที่และเดือนที่ออกใบแทนฯ เท่านั้น เอกสารดังกล่าว จึงมิใช่เอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นโดยมีเจตนาจะลอกเลียนแบบหรือปลอมเอกสาร ต้นฉบับ ๆ หนึ่งฉบับใด เป็นเพียงแต่เอกสารยังลงรายการไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ ตามระเบียบของทางราชการเท่านั้น และการที่นายอำเภอในฐานะเป็น เจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้ลงชื่อรับรองเอกสารกับการที่ยังมิได้ลงวันเดือนปี ที่ออกเอกสาร ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ผู้พบเห็นเอกสารจะหลงเชื่อว่าเป็น เอกสารที่ถูกต้องแท้จริงที่ทางราชการออกให้ไปได้ การกระทำของจำเลย ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสารจึงไม่เป็นความผิดฐาน ปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 ประกอบด้วยมาตรา 266(1)
จำเลยพร้อมที่จะเสนอเรื่องราวขอจดทะเบียนขายที่ดินระหว่าง น. กับ ส. ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินเพื่อดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ แต่จำเลยกลับละเว้นไม่ดำเนินการนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมา ดังนั้น ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 เมื่อปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
เมื่อจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ตามความเป็นจริง ตรงตามเจตนาของผู้ซื้อผู้ขายที่ดินทุกประการ และตราประทับของกระทรวงมหาดไทยก็ถูกต้อง เพียงแต่ยังไม่มีลายมือชื่อ นายอำเภอและยังมิได้ลงวันที่และเดือนที่ออกใบแทนฯ เท่านั้น เอกสารดังกล่าว จึงมิใช่เอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นโดยมีเจตนาจะลอกเลียนแบบหรือปลอมเอกสาร ต้นฉบับ ๆ หนึ่งฉบับใด เป็นเพียงแต่เอกสารยังลงรายการไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ ตามระเบียบของทางราชการเท่านั้น และการที่นายอำเภอในฐานะเป็น เจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้ลงชื่อรับรองเอกสารกับการที่ยังมิได้ลงวันเดือนปี ที่ออกเอกสาร ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ผู้พบเห็นเอกสารจะหลงเชื่อว่าเป็น เอกสารที่ถูกต้องแท้จริงที่ทางราชการออกให้ไปได้ การกระทำของจำเลย ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสารจึงไม่เป็นความผิดฐาน ปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 ประกอบด้วยมาตรา 266(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายแจ้งคำสั่งศาลและการดำเนินคดีฎีกา การปิดหมายไม่ชอบด้วยกฎหมาย การทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์แก้ ให้นัดให้จำเลยนำส่งใน 3 วัน แจ้งให้มานำส่งโดยด่วน เป็นการสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฎีกาปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 70 วรรคท้าย บัญญัติไว้ จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวที่จะต้องดำเนินคดีต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้ส่งหมายแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดหมาย การที่พนักงานเดินหมายส่งหมายแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดหมาย ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบ และไม่มีผลตามกฎหมาย ถือว่าจำเลยยังไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้น การที่จำเลยมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาและให้ส่งสำนวนมาศาลฎีกาพิจารณาสั่งนั้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นแจ้งจำเลยนำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาใหม่ แล้วดำเนินการต่อไป