พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายแจ้งคำสั่งทางวิธีปิดหมายไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยไม่ทราบคำสั่งศาลและไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์แก้ ให้นัดให้จำเลยนำส่งใน 3 วัน แจ้งให้มานำส่งโดยด่วน เป็นการสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฎีกาปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้าย บัญญัติไว้ จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวที่จะต้องดำเนินคดีต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้ส่งหมายแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดหมาย การที่พนักงานเดินหมายส่งหมายแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดหมาย ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบ และไม่มีผลตามกฎหมาย ถือว่าจำเลยยังไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้น การที่จำเลยมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาและให้ส่งสำนวนศาลฎีกาพิจารณาสั่งนั้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นแจ้งจำเลยนำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาใหม่ แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจริบทรัพย์สินต้องอ้างอิงความผิดที่ฟ้องและพิสูจน์แล้ว
ทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบจะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีการฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว และได้มีการพิสูจน์ความผิดต่อศาลในคดีนั้นแล้ว ทั้งการริบทรัพย์สินเป็นโทษตาม ป.อ.มาตรา 18 (5) เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยถึงการกระทำดังกล่าวในครั้งก่อนโดยตรงกรณีเพียงแต่กล่าวอ้างพาดพิงถึงว่าเงินสดของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีนในครั้งก่อน จึงยังไม่เป็นการเพียงพอที่ศาลจะริบทรัพย์สินนั้นได้เงินสดของกลาง จึงไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (2) ที่ศาลจะพึงริบได้ในคดีนี้ ส่วนไฟแช็ก 1 อัน ของกลางเป็นอุปกรณ์ซึ่งมีไว้เพื่อให้ผู้ซื้อเมทแอมเฟตามีนใช้เสพโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ ตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการริบทรัพย์สิน: ต้องพิสูจน์ว่าได้มาจากการกระทำความผิดโดยตรง
ทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบจะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีการฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว และได้มีการพิสูจน์ความผิดต่อศาลในคดีนั้นแล้ว ทั้งการริบทรัพย์สินเป็นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5) เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยถึงการกระทำดังกล่าวในครั้งก่อนโดยตรงกรณีเพียงแต่กล่าวอ้างพาดพิงถึงว่าเงินสดของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีนในครั้งก่อน จึงยังไม่เป็นการเพียงพอที่ศาลจะริบทรัพย์สินนั้นได้เงินสดของกลาง จึงไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)ที่ศาลจะพึงริบได้ในคดีนี้ ส่วนไฟแช็ก 1 อัน ของกลางเป็นอุปกรณ์ซึ่งมีไว้เพื่อให้ผู้ซื้อเมทแอมเฟตามีนใช้เสพโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งรับฎีกาและการส่งสำเนาฎีกา: ศาลชั้นต้นผิดพลาดเมื่อสั่งซ้ำซ้อน ทำให้จำเลยสำคัญผิดและไม่ต้องถูกปรับโทษ
ในชั้นร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถา จำเลยส่งสำเนาคำร้องและสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถา ต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลกึ่งหนึ่ง จำเลยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่มิได้รับยกเว้นมาวางศาลแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้รับเงินและรับฎีกาของจำเลยไว้แล้วดำเนินการออกหมายนัดแจ้งให้โจทก์ทราบกับกำหนดให้โจทก์แก้ฎีกาของจำเลยภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหมายนัดไม่มีเหตุต้องสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ซ้ำอีก อันเป็นคำสั่งที่ผิดหลงและเป็นเหตุให้จำเลยสำคัญผิดว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้วไม่จำต้องปฏิบัติซ้ำอีก ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่ดำเนินคดีในการนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนหน้าเสียโฉม ถือเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(4)
จำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายร่วมกับพวกกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสอง ตามเอกสารใบชันสูตรบาดแผลของแพทย์ระบุว่า ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลฉีกขาดที่ใบหน้าและศีรษะ สำหรับบาดแผลที่ใบหน้ามีบาดแผลฉีกขาดที่แก้มซ้ายขนาดยาว 6 เซนติเมตร และขนาดยาว 5 เซนติเมตร บาดแผลที่ใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 ถูกขวดเบียร์แตกที่ก้นขวดแทง ต้องเย็บถึง 100 เข็ม หลังเกิดเหตุ 20 วัน ก็ยังสามารถมองเห็นบาดแผลดังกล่าวได้ชัดในระยะ 5 เมตร แม้จะทำศัลยกรรมตบแต่งบนใบหน้าก็ไม่สามารถทำให้หายเป็นเนื้อปกติได้ แต่จะจางลง และในวันที่ศาลชั้นต้นดูรอยแผลเป็นของผู้เสียหายที่ 2 เป็นวันที่ผู้เสียหายที่ 2 มาเบิกความห่างจากวันเกิดเหตุประมาณ 8 เดือนเศษ ก็ยังปรากฏรอยแผลเป็นให้เห็นได้ชัดย่อมฟังได้ว่า แผลที่ใบหน้าด้านซ้ายของผู้เสียหายที่ 2 ทำให้หน้าเสียโฉมอย่างติดตัวเป็นอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297(4) แล้ว จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,295,297(4) และให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(4) ประกอบ มาตรา 83 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนหน้าเสียโฉม ถือเป็นอันตรายสาหัส จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายร่วมกับพวกกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสอง ตามเอกสารใบชันสูตรบาดแผลของแพทย์ระบุว่า ผู้เสียหายที่ 2มีบาดแผลฉีกขาดที่ใบหน้าและศีรษะ สำหรับบาดแผลที่ใบหน้ามีบาดแผลฉีกขาดที่แก้มซ้ายขนาดยาว 6 เซนติเมตร และขนาดยาว 5 เซนติเมตร บาดแผลที่ใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 ถูกขวดเบียร์แตกที่ก้นขวดแทง ต้องเย็บถึง 100 เข็ม หลังเกิดเหตุ 20 วันก็ยังสามารถมองเห็นบาดแผลดังกล่าวได้ชัดในระยะ 5 เมตร แม้จะทำศัลยกรรมตบแต่งบนใบหน้าก็ไม่สามารถทำให้หายเป็นเนื้อปกติได้ แต่จะจางลง และในวันที่ศาลชั้นต้นดูรอยแผลเป็นของผู้เสียหายที่ 2 เป็นวันที่ผู้เสียหายที่ 2 มาเบิกความห่างจากวันเกิดเหตุประมาณ 8 เดือนเศษ ก็ยังปรากฏรอยแผลเป็นให้เห็นได้ชัดย่อมฟังได้ว่า แผลที่ใบหน้าด้านซ้ายของผู้เสียหายที่ 2 ทำให้หน้าเสียโฉมอย่างติดตัวเป็นอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297 (4) แล้ว จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 295, 297 (4) และให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 297 (4) ประกอบ มาตรา 83 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกายจนหน้าเสียโฉม ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(4)
ผู้เสียหายทั้งสองถูกจำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันใช้มีด ขวดเบียร์ และไม้ ฟันแทง ตี จนได้รับบาดเจ็บ ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลฉีกขาดที่ใบหน้าและศีรษะสำหรับที่ใบหน้ามีบาดแผลฉีกขาดที่แก้มซ้ายขนาดยาว 6 เซนติเมตร และยาว 5 เซนติเมตรต้องเย็บถึง 100 เข็ม ซึ่งบาดแผลดังกล่าวหลังเกิดเหตุ 20 วัน สามารถมองเห็นได้ชัดในระยะ 5 เมตร แม้จะทำศัลยกรรมตบแต่งบนใบหน้าก็ไม่สามารถทำให้หายเป็นปกติได้แต่จะจางลง วันที่ผู้เสียหายที่ 2 มาเบิกความเป็นพยานโจทก์ห่างจากวันเกิดเหตุประมาณ8 เดือนเศษ ก็ยังปรากฏรอยแผลเป็นให้เห็นได้ชัดทำให้หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาแผ่นดินลักทรัพย์-รบกวนวิทยุคมนาคม: อำนาจฟ้องและพยานหลักฐานเพียงพอ
ความผิดในข้อหาลักทรัพย์และข้อหาร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม เป็นคดีอาญาแผ่นดินอันมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่ห้ามพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง เมื่อมีความผิดอาญาแผ่นดินเกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่ต้องสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพื่อเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18ประกอบมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษกระทำผิดหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนรวมทั้งการที่พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
ความผิดทั้งสองฐานตามฟ้องเกิดจากโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกับพวกนำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย แม้จำเลยกับพวกจะกระทำการดังกล่าวที่บริษัทของจำเลยแต่ผลของการกระทำก็เกิดขึ้นแก่โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูกรบกวน จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำต่อเนื่องกันระหว่างท้องที่ที่บริษัทจำเลยตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้แล้วเกิดขัดข้องซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพญาไทจึงมีอำนาจสอบสวน การสอบสวนได้กระทำโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โทรศัพท์มือถือที่ ช. ซื้อมาจากบริษัทจำเลยผ่านทาง ม. นั้น เป็นโทรศัพท์ที่คนของบริษัทจำเลยทำการลักลอบปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นช่องสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขของผู้เสียหาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรบกวนและขัดขวางการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมพ.ศ. 2498 มาตรา 26 และเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่าร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม จำเลยก็ให้การรับสารภาพ จากพยานหลักฐานของโจทก์และพฤติการณ์แห่งคดี แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องมือปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่หรือถอดรหัสสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็ฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือสมรู้ร่วมคิดกับพวกอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันประกอบธุรกิจอันไม่ชอบ
ความผิดทั้งสองฐานตามฟ้องเกิดจากโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกับพวกนำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย แม้จำเลยกับพวกจะกระทำการดังกล่าวที่บริษัทของจำเลยแต่ผลของการกระทำก็เกิดขึ้นแก่โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูกรบกวน จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำต่อเนื่องกันระหว่างท้องที่ที่บริษัทจำเลยตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้แล้วเกิดขัดข้องซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพญาไทจึงมีอำนาจสอบสวน การสอบสวนได้กระทำโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โทรศัพท์มือถือที่ ช. ซื้อมาจากบริษัทจำเลยผ่านทาง ม. นั้น เป็นโทรศัพท์ที่คนของบริษัทจำเลยทำการลักลอบปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นช่องสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขของผู้เสียหาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรบกวนและขัดขวางการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมพ.ศ. 2498 มาตรา 26 และเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่าร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม จำเลยก็ให้การรับสารภาพ จากพยานหลักฐานของโจทก์และพฤติการณ์แห่งคดี แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องมือปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่หรือถอดรหัสสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็ฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือสมรู้ร่วมคิดกับพวกอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันประกอบธุรกิจอันไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความในคดีฉ้อโกง: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีการชำระเงินและถอนคำร้องทุกข์
ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงและลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ในระหว่างจำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกา โจทก์ร่วมและจำเลยต่างยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีขอถอนคำร้องทุกข์แก่จำเลย ศาลชั้นต้นนัดพร้อมและสอบถามคู่ความ โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงรับกันว่า จำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ขอถอนคำร้องทุกข์ โจทก์ไม่ค้าน ถือได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ตกลงยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีฉ้อโกงทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงและลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ในระหว่างจำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกา โจทก์ร่วมและจำเลยต่างยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีขอถอนคำร้องทุกข์แก่จำเลย ศาลชั้นต้นนัดพร้อมและสอบถามคู่ความ โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงรับกันว่า จำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ขอถอนคำร้องทุกข์โจทก์ไม่ค้าน ถือได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ตกลงยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ