พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำ: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจและเจตนาโอนสิทธิ
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำโดยการทำหนังสือและบอกกล่าวเจตนา ถือเป็นการโอนสมบูรณ์
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำทั้งสามรายการเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินจำนวนดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่จำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
การที่ ฉ. มีเจตนายกเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และได้ทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้โดยปริยายว่ามีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของ ฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ฉ. ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฉ. โดยคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินฝากประจำดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 1
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่จำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
การที่ ฉ. มีเจตนายกเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และได้ทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้โดยปริยายว่ามีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของ ฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ฉ. ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฉ. โดยคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินฝากประจำดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันตามสัญญาว่าจ้างเดิมสิ้นผลเมื่อทำสัญญาใหม่โดยไม่แจ้งเจ้าหนี้ค้ำประกัน
โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยร่วมก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน โดยมีจำเลยที่ 1ทำสัญญาค้ำประกัน ต่อมาจำเลยร่วมไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยร่วม หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยร่วมได้ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันกันใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเริ่มต้นการก่อสร้างใหม่ และกำหนดระยะเวลาก่อสร้างเป็น 5 งวด โดยโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบและจำเลยที่ 1ก็ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันฉบับหลังจำเลยที่ 1 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ แม้จำเลยร่วมผิดสัญญาฉบับหลังและโจทก์บอกเลิกสัญญาฉบับหลังแล้วก็ตาม โจทก์จะอาศัยสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันฉบับหลังมาฟ้องร้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันฉบับแรกที่จำเลยที่ 1 ทำไว้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัสดุก่อสร้างผิดสัญญา: แผ่นยิปซัมไม่ใช่ 'วัสดุก่อเรียบทาสี' ตามสัญญา แม้มีมาตรฐานสากล
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายห้องชุดจากจำเลย โดยมีข้อสัญญาว่าผนังห้องชุดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและวัสดุก่อเรียบทาสี ซึ่งคำว่า "วัสดุก่อเรียบทาสี" นี้น่าจะมีความหมายว่า นำวัสดุก่อสร้าง เช่น อิฐมอญหรืออิฐบล็อกมาเรียงก่อขึ้นเป็นผนังก่อนและฉาบด้วยปูนซีเมนต์ทับผิวให้เรียบแล้วทาสีดังนั้นเมื่อแผ่นยิปซัมเป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นสำเร็จรูป มิใช่วัสดุก่อขึ้นอย่างก่ออิฐฉาบปูนแผ่นยิปซัมจึงไม่เป็นวัสดุก่อเรียบทาสีตามความหมายที่ระบุในสัญญา ซึ่งแม้ตามสัญญาจะให้สิทธิจำเลยที่จะนำวัสดุอื่นที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับผนังที่ก่ออิฐฉาบปูนมาใช้แทนได้โดยจำเลยมีใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประธานกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและหนังสือรับรองมาตรฐานคุณภาพ ไอเอสโอ 9002 ของบริษัท บ. มาแสดงก็ตาม แต่ก็เป็นการรับรองเพียงว่าผลิตภัณฑ์แผ่นยิปซัมที่จำเลยใช้ติดตั้งนั้นเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นถูกต้องตามมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทแผ่นยิปซัมเท่านั้น มิได้เปรียบเทียบกับสินค้าประเภทอื่น ทั้งมิได้มีข้อความรับรองคุณภาพเมื่อใช้กั้นเป็นผนังแล้วจะมีความคงทนเท่าเทียมกับผนังที่ก่อด้วยอิฐฉาบปูนแต่อย่างใด จึงรับฟังได้เพียงว่าแผ่นยิปซัมที่จำเลยนำมาใช้มีคุณภาพอยู่ในระดับหนึ่งของสินค้าประเภทเดียวกันเท่านั้น แต่ไม่มีคุณภาพเท่าเทียมกันกับผนังที่ก่อด้วยอิฐฉาบปูน เมื่อจำเลยใช้วัสดุก่อสร้างผิดจากข้อตกลงในสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากการขายทอดตลาดหลังครบกำหนด 5 ปี: เงินไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องก่อนครบกำหนด
เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลชั้นต้นได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2532 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายการขายทอดตลาดให้เสร็จสิ้นเสียก่อนจึงจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 316 ต่อมาวันที่ 7 ธันวาคม2532 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินดังกล่าว และขอให้สั่งทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำบัญชีเพื่อตรวจจ่ายให้ต่อไปนั้น เท่ากับมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเพื่อตรวจสอบและมีคำสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการจ่ายเงินให้โจทก์ จนเมื่อมีการตั้งสำนักงานบังคับคดีจังหวัดมหาสารคามขึ้นแยกจากงานบังคับคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีอีกและเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินจำนวนดังกล่าวเพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รายงานให้ศาลชั้นต้นทราบการปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องการทำบัญชีและขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวตามบัญชีนั้นให้แก่โจทก์นั่นเอง อันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ เพราะถือว่าโจทก์ยื่นคำแถลงขอรับหรือเรียกเอาแล้วตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2532 ในเวลาที่ยังไม่พ้นระยะ 5 ปี นับแต่วันที่ถือได้ว่าเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาได้ เงินดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอฎีกาขัดแย้งกับคำขอในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปหรือพิพากษาให้นำที่ดินตามฟ้องขายทอดตลาดมาแบ่งตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เท่ากับให้ดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป อันเป็น การสมประโยชน์ตามคำขอของโจทก์ในชั้นอุทธรณ์แล้ว โจทก์จะฎีกาขอให้พิพากษานำที่ดินตามฟ้องออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งตามคำขอบังคับของโจทก์ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีอีก ไม่ได้ เพราะเป็นคำขอที่ขัดกับคำขอในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9543/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าหากพิจารณาใหม่แล้วจะชนะคดีได้อย่างไร มิฉะนั้นไม่ชอบตามกฎหมาย
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองมีข้อความว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นความจริง คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้อง จำเลยทั้งสองมิได้กู้เงินจำนวน 9,040,000 บาท จากโจทก์ และมิได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องนั้นเป็นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ที่มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินของศาลชั้นต้น เพื่อแสดงว่าตนเองจะชนะคดีได้อย่างไรเมื่อศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, ผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, ค่าปรับ, การชำระหนี้, ศาลใช้ดุลพินิจ
หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับ พ. น้องโจทก์ในฐานะผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท บ. แสดงว่าในขณะทำสัญญา บริษัท บ. ยังมิได้จดทะเบียนตั้งเป็นบริษัทจำกัด และบริษัท บ. ตั้งขึ้นเพื่อทำโครงการเลี้ยงสุกร โดยรวบรวมบรรดาญาติพี่น้องโจทก์เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น โจทก์และภริยาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และโจทก์แต่ผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท บ. จึงเห็นได้ว่าหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน คู่สัญญาที่แท้จริงเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยโจทก์และญาติพี่น้องโจทก์ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกัน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยตามสัญญาเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้การเรียกร้องค่าปรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ โจทก์จะเรียกร้องได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายระบุให้โจทก์นำที่ดินไปขายต่อได้ และหากจำเลยผิดสัญญาให้โจทก์เรียกค่าปรับเป็น 2 เท่า ของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อก็ตาม แต่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่า ค่าปรับ 2 เท่า ของเงิน ที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อเป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์มิได้แจ้งเรื่องนำที่ดินไปขายต่อและค่าเสียหาย ที่โจทก์จะต้องชดใช้ให้จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษา ให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จำเลย และการกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือก็เพื่อให้เกิดสภาพบังคับแก่โจทก์ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจาก ที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 271
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยตามสัญญาเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้การเรียกร้องค่าปรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ โจทก์จะเรียกร้องได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายระบุให้โจทก์นำที่ดินไปขายต่อได้ และหากจำเลยผิดสัญญาให้โจทก์เรียกค่าปรับเป็น 2 เท่า ของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อก็ตาม แต่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่า ค่าปรับ 2 เท่า ของเงิน ที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อเป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์มิได้แจ้งเรื่องนำที่ดินไปขายต่อและค่าเสียหาย ที่โจทก์จะต้องชดใช้ให้จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษา ให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จำเลย และการกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือก็เพื่อให้เกิดสภาพบังคับแก่โจทก์ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจาก ที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, การกำหนดราคาที่ดิน, ค่าปรับ, สิทธิเรียกร้อง
หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับ พ. น้องโจทก์ในฐานะผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท บ. แสดงว่าในขณะทำสัญญาบริษัท บ. ยังมิได้จดทะเบียนตั้งเป็นบริษัทจำกัด และบริษัท บ. ตั้งขึ้นเพื่อทำโครงการเลี้ยงสุกร โดยรวบรวมบรรดาญาติพี่น้องโจทก์เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น โจทก์และภริยาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และโจทก์แต่ผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท บ. เห็นได้ว่าหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน คู่สัญญาที่แท้จริงเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยโจทก์และญาติพี่น้องโจทก์ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกัน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยตามสัญญาเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้การเรียกร้องค่าปรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่ พฤติการณ์พิเศษ โจทก์จะเรียกร้องได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายระบุให้โจทก์นำที่ดินไปขายต่อได้ และหากจำเลยผิดสัญญาให้โจทก์เรียกค่าปรับเป็น 2 เท่าของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อก็ตาม แต่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่า ค่าปรับ 2 เท่า ของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อเป็นจำนวนเท่าใดและโจทก์มิได้แจ้งเรื่องนำที่ดินไปขายต่อและค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องชดใช้ให้จำเลยทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จำเลย และการกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือก็เพื่อให้เกิดสภาพบังคับแก่โจทก์ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องทั้งไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยตามสัญญาเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้การเรียกร้องค่าปรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่ พฤติการณ์พิเศษ โจทก์จะเรียกร้องได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายระบุให้โจทก์นำที่ดินไปขายต่อได้ และหากจำเลยผิดสัญญาให้โจทก์เรียกค่าปรับเป็น 2 เท่าของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อก็ตาม แต่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่า ค่าปรับ 2 เท่า ของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อเป็นจำนวนเท่าใดและโจทก์มิได้แจ้งเรื่องนำที่ดินไปขายต่อและค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องชดใช้ให้จำเลยทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จำเลย และการกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือก็เพื่อให้เกิดสภาพบังคับแก่โจทก์ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องทั้งไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9277/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับเอกสารและการฉ้อโกง การแก้ไขโทษปรับที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
++ เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ฉ้อโกง ++
++
++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า สมควรลงโทษจำเลยทั้งสามสถานเบาและรอการลงโทษหรือไม่
++ เห็นว่า จากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ จำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 278/2541 เป็นตัวการสำคัญในการกระทำความผิดโดยเป็นผู้ลักหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิของมารดามาขูดชื่อมารดาออกแล้วพิมพ์ชื่อของตนเองแทน โดยจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องมาตั้งแต่แรก การที่จำเลยทั้งสามไปติดต่อขอกู้ยืมเงินจากผู้เสียหายให้จำเลยในคดีหมายเลขดำที่278/2541 และเป็นพยานรับรองว่าเอกสารสิทธิดังกล่าวเป็นของจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 278/2541 ก็เพื่อมุ่งหวังจะได้ค่านายหน้าเท่านั้นพฤติการณ์แห่งคดีของจำเลยทั้งสามจึงไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับจำเลยทั้งสามได้บรรเทาผลร้ายให้แก่โจทก์ร่วม โดยยอมร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 20,000 บาท ให้แก่โจทก์ร่วมตามจำนวนที่โจทก์ร่วมประสงค์เรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสามแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้โทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามสถานเบาและรอการลงโทษ แต่คุมประพฤติจำเลยทั้งสามไว้เพื่อให้โอกาสจำเลยทั้งสามได้กลับตัวเป็นพลเมืองดี จึงนับว่าเป็นดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในส่วนนี้
++ แต่สำหรับโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 นั้น มีระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ 8,000 บาท จึงเป็นการลงโทษปรับต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมายและเบาเกินไป โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือได้ว่าโจทก์ร่วมฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสามให้หนักขึ้นอยู่ในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาจึงแก้ไขโทษปรับสำหรับจำเลยทั้งสามให้ถูกต้องเหมาะสมได้ ฎีกาของโจทก์ร่วมฟังขึ้นบางส่วน
อนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสามด้วยโดยมิได้กล่าวถึงการบังคับให้ชำระค่าปรับนั้น เป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ30,000 บาท ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้ว คงปรับคนละ 15,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3.
++
++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า สมควรลงโทษจำเลยทั้งสามสถานเบาและรอการลงโทษหรือไม่
++ เห็นว่า จากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ จำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 278/2541 เป็นตัวการสำคัญในการกระทำความผิดโดยเป็นผู้ลักหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิของมารดามาขูดชื่อมารดาออกแล้วพิมพ์ชื่อของตนเองแทน โดยจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องมาตั้งแต่แรก การที่จำเลยทั้งสามไปติดต่อขอกู้ยืมเงินจากผู้เสียหายให้จำเลยในคดีหมายเลขดำที่278/2541 และเป็นพยานรับรองว่าเอกสารสิทธิดังกล่าวเป็นของจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 278/2541 ก็เพื่อมุ่งหวังจะได้ค่านายหน้าเท่านั้นพฤติการณ์แห่งคดีของจำเลยทั้งสามจึงไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับจำเลยทั้งสามได้บรรเทาผลร้ายให้แก่โจทก์ร่วม โดยยอมร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 20,000 บาท ให้แก่โจทก์ร่วมตามจำนวนที่โจทก์ร่วมประสงค์เรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสามแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้โทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามสถานเบาและรอการลงโทษ แต่คุมประพฤติจำเลยทั้งสามไว้เพื่อให้โอกาสจำเลยทั้งสามได้กลับตัวเป็นพลเมืองดี จึงนับว่าเป็นดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในส่วนนี้
++ แต่สำหรับโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 นั้น มีระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ 8,000 บาท จึงเป็นการลงโทษปรับต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมายและเบาเกินไป โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือได้ว่าโจทก์ร่วมฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสามให้หนักขึ้นอยู่ในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาจึงแก้ไขโทษปรับสำหรับจำเลยทั้งสามให้ถูกต้องเหมาะสมได้ ฎีกาของโจทก์ร่วมฟังขึ้นบางส่วน
อนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสามด้วยโดยมิได้กล่าวถึงการบังคับให้ชำระค่าปรับนั้น เป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ30,000 บาท ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้ว คงปรับคนละ 15,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3.