คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย วิสิทธวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเติมหลังการรังวัดและข้อผิดพลาดเนื้อที่
การดำเนินการของฝ่ายจำเลย (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) ให้ได้มาซึ่งที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางพิเศษ สายรามอินทรา-อาจณรงค์ อาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 เพียงฉบับเดียว แนวเขตที่ดิน ที่จะสร้างทางพิเศษสายนี้ในบริเวณที่ดินของโจทก์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือขยายเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเป็นที่ดินอยู่ในแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวและถูกดำเนินการเพื่อเวนคืนเพียงครั้งเดียว โดยฝ่ายจำเลยใช้อำนาจที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนตามสัญญาซื้อขายอสังหา ริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสาย รามอินทรา-อาจณรงค์ กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. แต่เป็นขั้นตอนหนึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษฯ ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นที่ดินในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ส่วนเนื้อที่ดิน ที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายฯเป็นการประมาณการของฝ่ายจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้ว ปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยประมาณการไว้ เนื้อที่ดินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้มีที่มาจากที่ดิน ผืนเดียวกันกับที่ระบุเนื้อที่ไว้ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินทดแทนแทน ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมด รวมทั้งเนื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา ซื้อขายด้วย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์ได้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้รวมอยู่ด้วยแล้ว เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ โจทก์ย่อม มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นของเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วย นับแต่วันที่ครบ 120 วันจากวันทำสัญญาซื้อขาย อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่าย ตามมาตรา 26 วรรคสาม
ศาลล่างทั้งสองกำหนดวันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยนั้นผิดพลาดไป 1 วัน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6327/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะยกคำขอไปก่อน
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ แต่ศาลชั้นต้นไม่นับโทษต่อให้เพราะคดีดังกล่าวยังไม่ได้พิพากษา เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้นับโทษต่อโดยอ้างว่าคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโดยจำคุกจำเลยรวม10 ปี จำเลยไม่ได้แก้ฎีกาหรือฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่าคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลลดโทษเหลือครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพิพากษานับโทษต่อ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบแสดงพยานหลักฐานต่อศาลให้เห็นว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้เพื่อจำหน่าย จำนวนเมทแอมเฟตามีนที่ยึดได้มีเพียง 50 เม็ดมีปริมาณสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จึงไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย พยานโจทก์อ้างว่าสืบทราบว่าจำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่บ้านจำเลย แทนที่พยานโจทก์จะใช้วิธีล่อซื้อแต่กลับขอเพียงหมายค้นบ้านจำเลยเท่านั้น ส่วนพยานโจทก์ที่ทำการซุ่มดูและเห็นจำเลยและวัยรุ่นส่งมอบของให้กันก็ไม่ยืนยันว่าสิ่งของที่ส่งมอบกันนั้นเป็นอะไรทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาจำเลยก็ให้การปฏิเสธ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยจำหน่าย จ่าย แจก หรือมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษต่อจากคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นไม่นับโทษต่อให้เพราะคดีดังกล่าวศาลยังไม่ได้พิพากษา เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้นับโทษต่อโดยอ้างว่าคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโดยพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยไม่ได้แก้ฎีกาหรือฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกิน 500 บาท แม้ไม่มีเอกสารก็ฟ้องได้ หากมีข้อพิพาทเรื่องการชำระหนี้
การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่า 500 บาท ที่มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว เข้ากรณีตามป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง เมื่อมีปัญหาว่าจำเลยชำระเงินตาม สัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงชำระหนี้บางส่วน ฟ้องร้องบังคับคดีได้ และสิทธิการนำสืบพยานบุคคล
การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่า 500 บาท ที่มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว เข้ากรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง เมื่อมีปัญหาว่าจำเลยชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลสมควร การอ้างเหตุเดิมซ้ำๆ โดยไม่ปรับปรุงแก้ไข และไม่ให้ความสำคัญกับคำสั่งศาลถือเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลย
ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษา ศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษา เมื่อนับแต่วันพิพากษาถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลยในครั้งที่สองรวมแล้วเป็นเวลาถึง 86 วัน และ เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่สาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเตือนทนายจำเลยในคำร้อง ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สามของทนายจำเลยแล้วว่าการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยอ้าง เหตุเดิมเป็นความเฉื่อยชาของจำเลย ไม่ยุติธรรมแก่ฝ่ายโจทก์ แต่ก็ยังให้โอกาสจำเลยอีกครั้ง ทนายจำเลยกลับมายื่น คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกเป็นครั้งที่สี่อ้างเหตุเดิมอย่างลอย ๆ ทั้งฎีกาของจำเลยก็ยอมรับว่า การอ้างเหตุเดิม เพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เนื่องจากเป็นแบบพิมพ์ของพนักงานอัยการที่ใช้ร่างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ซึ่งในบางครั้งอาจมีข้อความที่คลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงไปเพราะความพลั้งเผลอในการตรวจสอบข้อความโดยไม่ได้อ้างว่ามีพฤติการณ์พิเศษอย่างไร เห็นได้ว่าฝ่ายจำเลยไม่ได้ให้ความสำคัญต่อคำสั่งของศาลชั้นต้นและระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ การที่จำเลยไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ เป็นเพราะความบกพร่องของฝ่ายจำเลย จึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5856/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสที่ดินพิพาท การซื้อขายโดยไม่สุจริตและผลของการเพิกถอนนิติกรรม
บิดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และจำเลยที่ 1 และเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 1476(1) และเมื่อจำเลยที่ 2เบิกความยอมรับว่าก่อนซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสามีคือโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่านาต้องรอการพิจารณาของ คชก. ก่อน จึงจะสามารถฟ้องร้องต่อศาลได้
เดิมโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อปี 2534 ระหว่างที่ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนาตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2527 จนกระทั่งวันที่ 27 มีนาคม 2538 โจทก์ทั้งสี่บอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทต่อจำเลยพร้อมกับส่งสำเนาหนังสือบอกกล่าวนั้นต่อประธานคชก. ตำบล จำเลยไม่คัดค้านการบอกกล่าวเลิกการเช่าต่อคชก. ตำบล และคชก. ตำบล มิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ทั้งสี่ เมื่อ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 13 (3) บัญญัติให้คชก. ตำบลมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คชก. จังหวัด มอบหมายด้วย และหาได้มีอำนาจแต่เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 (2) ไม่ และตามมาตรา 37 วรรคสอง กำหนดให้คชก. ตำบล ต้องพิจารณาวินิจฉัยการบอกเลิกการเช่านาตามสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาที่ผู้ให้เช่าส่งมาทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้นว่าสมควรให้การเช่านาสิ้นสุดลงหรือไม่หรืออยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขใดภายใต้กรอบอำนาจที่กำหนดไว้ในตามมาตรา 37 (1) ถึง (4) หรือไม่ แม้ผู้เช่าจะไม่คัดค้านการบอกเลิกการเช่านาหรือไม่มีคำร้องขอให้คชก. วินิจฉัยก็ตาม เมื่อคชก. ตำบลวินิจฉัยแล้ว ผู้เช่านา ผู้เช่าช่วงนา หรือผู้ให้เช่านาที่เป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาอาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ต่อคชก. จังหวัด ได้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง และคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจ คำวินิจฉัยของคชก. จังหวัด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ในกรณีของโจทก์เมื่อคชก. ตำบล ยังมิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่านาตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์โดยเสนอคดีต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่หลังบอกเลิกสัญญาเช่า ต้องรอการวินิจฉัยของ คชก. ก่อน
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 37 วรรคสอง กำหนดให้ คชก. ตำบลมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยการบอกเลิกการเช่านาตามสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาที่ผู้ให้เช่าส่งมาด้วย โดยต้องพิจารณาวินิจฉัยทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้นแม้ผู้เช่าจะไม่คัดค้านหรือไม่มีคำร้องขอให้วินิจฉัย ก็ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าสมควรให้การเช่านาสิ้นสุดลง หรืออยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขใดตามมาตรา 37(1) ถึง (4) หรือไม่ เมื่อ คชก. ตำบลวินิจฉัยแล้วผู้เช่านา ผู้เช่าช่วงนา หรือผู้ให้เช่านา หรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาอาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลต่อ คชก. จังหวัดได้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง และถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีของโจทก์เมื่อ คชก. ตำบลยังมิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกเลิกการเช่านาตามมาตรา 37 วรรคสอง โจทก์ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์โดยเสนอคดีต่อศาลได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5580/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยครบทุกประเด็นข้อต่อสู้ จำเลยฎีกาไม่ขึ้น จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยมีข้อต่อสู้รวม 16 ประเด็น แต่คดีไม่มีการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นจึงนำประเด็นต่าง ๆ ในคำให้การของจำเลยบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกันมาวินิจฉัยรวมกันเป็น 9 ประเด็น โดยมิได้วินิจฉัยเรียงตามประเด็นในคำให้การของจำเลย ซึ่งจำเลยก็อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้ง 9 ประเด็น และขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่อ้างว่าขาดไป 7 ประเด็นด้วย ศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยโดยยกประเด็นที่เห็นว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยขึ้นมาวินิจฉัยให้ก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา และในตอนท้ายศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าสำหรับอุทธรณ์นอกจากนี้ของจำเลยไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้แสดงว่าเมื่อจำเลยอุทธรณ์ตามข้อต่อสู้ในคำให้การทั้ง 16 ประเด็นศาลอุทธรณ์ก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนหนึ่งประเด็น เนื่องจากเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีและศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จากนั้นได้หยิบยกข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมาวินิจฉัยจนครบถ้วนทุกประเด็น และได้ตรวจวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เหลือแล้วเห็นว่าไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์จึงไม่วินิจฉัยให้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยครบทั้ง 16 ประเด็น ตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย กรณีไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) จึงไม่มีเหตุให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่
of 26