พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ: ศาลต้องออกคำบังคับเพื่อให้มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แผ่นดิน
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เงินและ/หรือทรัพย์สินอื่นจำนวน 12,000,000 บาทของผู้คัดค้านซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน ผู้คัดค้านจึงหมดสิทธิที่จะยึดถือครอบครองเงินและ/หรือทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นของตนอีกต่อไป ต้องส่งมอบให้แก่แผ่นดิน เมื่อผู้คัดค้านยังไม่ส่งมอบให้แก่แผ่นดินก็จำเป็นต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยเป็นหน้าที่ของผู้ร้องจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการฯ มิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไรจึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 และ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแพ่ง ศาลต้องพิจารณาผลกระทบต่อคู่ความทุกฝ่าย ไม่ใช่แค่ผู้ขอถอน
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้ว ศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายอีกด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์แต่ฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง พิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตใน การดำเนินคดีของโจทก์แล้ว ศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายอีกด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว
หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว โจทก์ได้นำคำฟ้องมายื่นใหม่โดยโจทก์ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง คำฟ้องเดิมหลายแห่งเพื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดินอันเป็นสาระสำคัญของคำมั่นว่าจะ ขายที่ดินของจำเลยและตามคำฟ้องเดิมบรรยายว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์พร้อมด้วย ว. ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามที่ได้นัดหมายไว้กับจำเลย แต่ในคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่ไม่ได้ระบุ ว. นั้น ชั้นพิจารณา ในคดีเดิมทั้งโจทก์และ ว. ไม่ได้เบิกความถึงว่า ว. ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันเวลาดังกล่าว จึงไม่ทำให้เห็นว่า พยาน โจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างหรือขัดแย้งกันในเรื่องนี้ นอกจากนั้นคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่มีข้อความเพิ่มเติมจาก คำฟ้องเดิมว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลย ก็เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี
หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว โจทก์ได้นำคำฟ้องมายื่นใหม่โดยโจทก์ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง คำฟ้องเดิมหลายแห่งเพื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดินอันเป็นสาระสำคัญของคำมั่นว่าจะ ขายที่ดินของจำเลยและตามคำฟ้องเดิมบรรยายว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์พร้อมด้วย ว. ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามที่ได้นัดหมายไว้กับจำเลย แต่ในคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่ไม่ได้ระบุ ว. นั้น ชั้นพิจารณา ในคดีเดิมทั้งโจทก์และ ว. ไม่ได้เบิกความถึงว่า ว. ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันเวลาดังกล่าว จึงไม่ทำให้เห็นว่า พยาน โจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างหรือขัดแย้งกันในเรื่องนี้ นอกจากนั้นคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่มีข้อความเพิ่มเติมจาก คำฟ้องเดิมว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลย ก็เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
ในคดีความผิดฐานรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับจำนำรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์ของกลางแล้วจำเลยต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของที่ได้มาจากการกระทำความผิด เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยรับจำนำรถจักรยานยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ พยานโจทก์จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ลำพังคำรับสารภาพชั้นจับกุม แต่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาคดี จะนำมาฟังลงโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่และข้อโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ รวมถึงประเด็นโทษจำคุกที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนจำนวน 16 หลอด และมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 76 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครองครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนที่เหลือเป็นของ ส. โดยจำเลยทั้งสองมิได้ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนจำนวน 16 หลอด และเมทแอมเฟตามีนจำนวน 66 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่จึงยุติไป โจทก์จะโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีน ดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตหาได้ไม่ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ แล้วคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ปรับ 7,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตและขอให้ลงโทษสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงใด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
เมื่อขณะค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ของกลาง จำเลยที่ 1 นอนหลับอยู่บนเตียง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสองเช่าห้องพักที่เกิดเหตุอยู่ด้วยกัน เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ที่ถูกต้องจำคุก 9 เดือน แต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 โดยไม่รอการลงโทษ ก็เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 คดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัย ของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ แล้วคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ปรับ 7,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตและขอให้ลงโทษสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงใด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
เมื่อขณะค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ของกลาง จำเลยที่ 1 นอนหลับอยู่บนเตียง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสองเช่าห้องพักที่เกิดเหตุอยู่ด้วยกัน เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ที่ถูกต้องจำคุก 9 เดือน แต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 โดยไม่รอการลงโทษ ก็เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 คดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัย ของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์/ฎีกา: กรณีคดีขอปลดเปลื้องทุกข์ที่ไม่สามารถคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตารางค่าธรรมเนียม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การแล้วเห็นว่าคดีไม่จำต้องสืบพยานบุคคลจึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยพิเคราะห์จากคำแถลงของคู่ความและเอกสารที่ส่งศาลโจทก์อุทธรณ์และฎีกาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลย ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีสืบพยานโจทก์จำเลยใหม่ แม้จะอุทธรณ์และฎีกาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องมาด้วยก็เป็นการโต้แย้งข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เท่านั้น ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาในเนื้อหาที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม แม้อุทธรณ์ข้อนี้จะฟังขึ้น ก็จะเข้าไปวินิจฉัยเรื่องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มยังไม่ได้ เพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน ต้องย้อนสำนวนไปให้สืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลฎีกาเกินจริง: กรณีอุทธรณ์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลต้องคืนเงินส่วนเกินให้โจทก์
แม้ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ผู้ฎีกาก็ยังมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่เป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาตลาด ณ วันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และความล่าช้าในการจ่ายค่าชดเชย
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ทันที กำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่กำหนดเวลาเริ่มต้นให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ก่อนได้รับหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทน ถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์เรื่องเงินค่าทดแทนภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกเวนคืนได้โอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้น มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินภายหลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้
การพิจารณาว่าโจทก์สมควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงิน ค่าทดแทนที่ดินไปวางให้โจทก์ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับแล้วเกือบสามสิบปี เป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นการที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์โดยใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่ พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ก.ค. 2508 มาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประมาณ 2 ปี โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของ ที่ดินพิพาทก่อนการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปกติจนถึงกลางปี 2533 ว่าหากไม่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้แล้ว สภาพและที่ตั้งของที่ดินพิพาทเป็นเช่นไรประกอบการพิจารณาในการกำหนดเงินค่าทดแทนด้วย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกเวนคืนได้โอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้น มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินภายหลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้
การพิจารณาว่าโจทก์สมควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงิน ค่าทดแทนที่ดินไปวางให้โจทก์ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับแล้วเกือบสามสิบปี เป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นการที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์โดยใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่ พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ก.ค. 2508 มาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประมาณ 2 ปี โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของ ที่ดินพิพาทก่อนการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปกติจนถึงกลางปี 2533 ว่าหากไม่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้แล้ว สภาพและที่ตั้งของที่ดินพิพาทเป็นเช่นไรประกอบการพิจารณาในการกำหนดเงินค่าทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และผลกระทบจากการดำเนินการที่ล่าช้า
จำเลยที่ 1 เป็นกระทรวงในรัฐบาลและมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 4 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้นเป็นผู้แทน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมทางหลวงในขณะนั้นเป็นผู้แทน จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีทางหลวงรวมทั้งมีหน้าที่ดำเนินการสำรวจที่ดินเพื่อเวนคืนสำหรับสร้างทางหลวงอันเป็นสิ่งสาธารณูปโภค ดังนั้น การเวนคืนที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงเพื่อให้ได้ที่ดินมาใช้สร้างทางหลวงแผ่นดิน ย่อมเป็นกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยตรง นอกจากนี้ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2515 ซึ่งบัญญัติให้เวนคืนที่ดิน จำเลยที่ 2 ยังกำหนดให้จำเลยที่ 3เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และกำหนดให้จำเลยที่ 4เป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ออกประกาศแจ้งการเวนคืนและให้ความเห็นชอบกับการกำหนดเงินค่าทดแทนของคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ส่วนจำเลยที่ 4 มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์กำหนดให้ แต่จำเลยที่ 4มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 4เพื่อให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ใหม่ให้เหมาะสม โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 และที่ 4 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในค่าทดแทนนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ทันทีโดยไม่จำต้องรอให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก่อน กำหนดเวลายื่นอุทธรณ์การกำหนดเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่งเป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่กำหนดเวลาเริ่มต้นให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้แม้เป็นเวลาก่อนที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก็ตาม
หลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินพิพาทแล้วได้มีการโอนสิทธิในที่ดินไปยังโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา 16 วรรคท้าย และเมื่อไม่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ การพิจารณาว่าโจทก์ควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา จะถือเอาราคาภายหลังจากที่มีการสร้างทางแล้วเสร็จมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาไม่ได้เพราะเมื่อมีการสร้างทางหลวงแผ่นดินเสร็จสมบูรณ์แล้วย่อมทำให้สภาพของที่ดินในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงจากในขณะเริ่มต้นดำเนินการเวนคืนและมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมมาก อย่างไรก็ดี การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงินค่าทดแทนที่ดินไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 22เมษายน 2536 ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายธนบุรี-สมุทรสาคร-สมุทรสงคราม-ปากท่อฯ มีผลใช้บังคับแล้วถึงเกือบสามสิบปีเป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควรเป็นการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นที่เห็นได้อยู่ในตัวว่าการกระทำดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามในราคาตารางวาละ 10 บาท โดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(3) เพียงประการเดียว ซึ่งใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10กรกฎาคม 2508 ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ แต่อย่างไรก็ตามสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนมีเพียงเท่ากับเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมกรณีนี้ฝ่ายจำเลยเพิ่งกลับมามีหนังสือลงวันที่ 1 มิถุนายน 2535ขอให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวงหลักเกณฑ์ที่จะนำมาคำนึงในการกำหนดเงินค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมต้องเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับมาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวงประมาณ 2 ปีซึ่งเทียบเคียงกับระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในค่าทดแทนนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ทันทีโดยไม่จำต้องรอให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก่อน กำหนดเวลายื่นอุทธรณ์การกำหนดเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่งเป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่กำหนดเวลาเริ่มต้นให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้แม้เป็นเวลาก่อนที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก็ตาม
หลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินพิพาทแล้วได้มีการโอนสิทธิในที่ดินไปยังโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา 16 วรรคท้าย และเมื่อไม่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ การพิจารณาว่าโจทก์ควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา จะถือเอาราคาภายหลังจากที่มีการสร้างทางแล้วเสร็จมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาไม่ได้เพราะเมื่อมีการสร้างทางหลวงแผ่นดินเสร็จสมบูรณ์แล้วย่อมทำให้สภาพของที่ดินในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงจากในขณะเริ่มต้นดำเนินการเวนคืนและมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมมาก อย่างไรก็ดี การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงินค่าทดแทนที่ดินไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 22เมษายน 2536 ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายธนบุรี-สมุทรสาคร-สมุทรสงคราม-ปากท่อฯ มีผลใช้บังคับแล้วถึงเกือบสามสิบปีเป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควรเป็นการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นที่เห็นได้อยู่ในตัวว่าการกระทำดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามในราคาตารางวาละ 10 บาท โดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(3) เพียงประการเดียว ซึ่งใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10กรกฎาคม 2508 ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ แต่อย่างไรก็ตามสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนมีเพียงเท่ากับเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมกรณีนี้ฝ่ายจำเลยเพิ่งกลับมามีหนังสือลงวันที่ 1 มิถุนายน 2535ขอให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวงหลักเกณฑ์ที่จะนำมาคำนึงในการกำหนดเงินค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมต้องเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับมาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวงประมาณ 2 ปีซึ่งเทียบเคียงกับระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนเริ่มนับจากวันที่จ่ายเงินให้ผู้ถูกเวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินทดแทนนั้น เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม การรับผิดชำระดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนหาใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยหรือไม่ และหนังสือของจำเลยที่แจ้งโจทก์ให้ไปรับเงินค่าทดแทนไม่ระบุว่าให้ไปรับเงินวันใดแต่ได้ความว่าจำเลยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2539 จึงถือได้ว่าเป็นวันที่จำเลยวางเงินค่าทดแทนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนที่ดิน ส่วนที่เพิ่มนับแต่วันนั้น