พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของรัฐเมื่อวางเงินค่าทดแทนครบถ้วน ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องที่ดินคืน
กรุงเทพมหานครจำเลยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 6,9,11,13 การที่จำเลยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยได้วางเงินค่าทดแทนไว้ต่อธนาคารในนามของโจทก์ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทในภายหลังอีก ทั้งจำเลยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์แล้ว ที่ดินพิพาทย่อมมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง: เงินล่อซื้อ, เงินจากการขายยา, และเข็มฉีดยา - หลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
เมื่อปรากฏว่าธนบัตรของกลางจำนวน 240 บาทที่เจ้าพนักงานตำรวจนำมาใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสามเป็นเงินที่เจ้าพนักงานตำรวจตระเตรียมมา หาใช่เป็นของจำเลยทั้งสามไม่ จึงริบไม่ได้ต้องคืนแก่เจ้าของ ส่วนเงินสดของกลางอีกจำนวน 4,320 บาทก็เป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสามได้มาจากการจำหน่ายเมทเแอมเฟตามีนก่อนหน้านี้ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยกระทำความผิดในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ศาลจึงไม่อาจริบได้ สำหรับเข็มฉีดยาโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเสพเฮโรอีนมา เข็มฉีดยาไม่ใช่เครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่น ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงไม่อาจริบได้เช่นกัน แม้จำเลยทั้งสามไม่ได้ฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอระงับการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเป็นเจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือมีสิทธิจดทะเบียน/ยื่นคำร้องตาม กม.
โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาการที่ผู้ร้องจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีโดยอ้างว่าสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสร้างขึ้นและผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในอีก คดีหนึ่งนั้น ผู้ร้องต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สิน ที่มีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 เมื่อผู้ร้องเป็นเพียงได้ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งหกเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นและคดี ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดี อันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งงดการบังคับคดีไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลภายในกำหนด และการจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม 2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการ ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการดำเนินคดีอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้มีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์มีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการจึงถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต้องเป็นการใช้ที่ดินเอง ไม่ใช่ขาย หากขายถือว่าไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
การใช้นาที่ให้เช่าเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 จะต้องเป็นการใช้ที่นานั้นเองทำประโยชน์ มิใช่นำนาไปขาย ซึ่งจะทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือไป ไม่อาจใช้นาที่ให้เช่านั้นได้อีกต่อไป การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ให้โจทก์เช่านาจะจัดสรรนาพิพาทแบ่งขายก็คือขายนั่นเอง เป็นวิธีการขายอย่างหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์แห่งครอบครัวของตนตามความจำเป็นตามมาตรา 37 (2) จำเลยร่วมจึงไม่อาจบอกเลิกการเช่านาพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาเพื่อจัดสรรขายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดต่อการใช้ประโยชน์จากที่นานั้นเองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ
การใช้นาที่ให้เช่าเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 จะต้องเป็นการใช้ที่นานั้นเองทำประโยชน์ มิใช่นำไปขายซึ่งจะทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือไป ไม่อาจใช้นาที่ให้เช่านั้นได้อีกต่อไป การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ให้โจทก์เช่านาจะจัดสรรนาพิพาทแบ่งขายก็คือขายนั่นเอง เป็นวิธีการขายอย่างหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์แห่งครอบครัวของตนตามความจำเป็นตามมาตรา 37(2) จำเลยร่วมจึงไม่อาจบอกเลิกการเช่านาพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์และการทิ้งอุทธรณ์: จำเลยไม่ทราบคำสั่งจึงไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์หลังจากจำเลยยื่นอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน และในการสั่งรับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นก็มิได้สั่งให้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ ทั้งศาลชั้นต้นยังให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 15 วันนับแต่วันสั่ง (แม้ตอนท้ายอุทธรณ์มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว) เมื่อจำเลยยังไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้น การที่จำเลยมิได้นำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดแบบและการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยทางอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่นสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยอาคาร
โจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแบบ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43 ที่ให้อำนาจไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสาม รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมดังกล่าว และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินที่อาคารพิพาทตั้งอยู่จึงมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ จำเลยที่ 3 จะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้