พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6931-6932/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ และหลักเกณฑ์การส่งเรื่องตามรัฐธรรมนูญ
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าให้รวมสำนวนไว้ ย่อมมีผลเป็นการปฏิเสธที่จะส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6931-6932/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคดีปกครอง และการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอำนาจ
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าให้รวมสำนวนไว้ ย่อมมีผลเป็นการปฏิเสธที่จะส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลฎีกาพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6885/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฝากทรัพย์: การชำระดอกเบี้ยรายปีเป็นการรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ฟ้องเรียกเงินฝากที่ อ. ฝากไว้คืนจากจำเลย ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อใช้เงินบำเหน็จ ค่าฝากทรัพย์ชดใช้เงินค่าใช้จ่าย และใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 671 จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้ตามสำเนาสมุดเงินฝากประจำมีการแสดงยอดเงินคงเหลือครั้งสุดท้ายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ตามระเบียบการฝากเงินประจำโดยใช้สมุดคู่ฝากที่ปรากฏในสำเนาสมุดเงินฝากประจำข้อ 3 ระบุว่า การฝากทุก ๆ รายการจำเลยถือว่าผู้ฝากประจำตกลงฝากประจำมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันเดือนปีที่ปรากฏของแต่ละรายการนั้น ๆ และข้อ 4 ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยจำเลยคำนวณให้เช่นเดียวกับเงินฝากประจำอื่น ดังนี้ ?ฯลฯ ฝากตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปและได้ฝากครบกำหนดระเวลานั้น คำนวณดอกเบี้ยให้ร้อยละ 8 ต่อปี กับข้อ 5 ระบุว่า ระเบียบการนอกจากนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบและประเพณีพึงปฏิบัติของธนาคารทุกประการ โดยระเบียบและประเพณีและข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องแสดงยอดเงินฝากคงเหลือของเงินฝากแต่ละรายการพร้อมดอกเบี้ยทุกระยะ 1 ปี ต่อครั้งให้แก่ผู้ฝาก แม้จะยังมิได้แสดงไว้ในสำเนาสมุดเงินฝาก ก็ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยทุกระยะเวลา 1 ปี อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อ ผู้ฝากด้วย การชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและอายุความจะสะดุดหยุดลงเรื่อยไปทุกระยะเวลา 1 ปี ฉะนั้น แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินฝากคืนพร้อมดอกเบี้ยหลังจากที่จำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินประมาณเกือบสองปีแล้ว ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
แม้ตามสำเนาสมุดเงินฝากประจำมีการแสดงยอดเงินคงเหลือครั้งสุดท้ายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ตามระเบียบการฝากเงินประจำโดยใช้สมุดคู่ฝากที่ปรากฏในสำเนาสมุดเงินฝากประจำข้อ 3 ระบุว่า การฝากทุก ๆ รายการจำเลยถือว่าผู้ฝากประจำตกลงฝากประจำมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันเดือนปีที่ปรากฏของแต่ละรายการนั้น ๆ และข้อ 4 ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยจำเลยคำนวณให้เช่นเดียวกับเงินฝากประจำอื่น ดังนี้ ?ฯลฯ ฝากตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปและได้ฝากครบกำหนดระเวลานั้น คำนวณดอกเบี้ยให้ร้อยละ 8 ต่อปี กับข้อ 5 ระบุว่า ระเบียบการนอกจากนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบและประเพณีพึงปฏิบัติของธนาคารทุกประการ โดยระเบียบและประเพณีและข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องแสดงยอดเงินฝากคงเหลือของเงินฝากแต่ละรายการพร้อมดอกเบี้ยทุกระยะ 1 ปี ต่อครั้งให้แก่ผู้ฝาก แม้จะยังมิได้แสดงไว้ในสำเนาสมุดเงินฝาก ก็ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยทุกระยะเวลา 1 ปี อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อ ผู้ฝากด้วย การชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและอายุความจะสะดุดหยุดลงเรื่อยไปทุกระยะเวลา 1 ปี ฉะนั้น แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินฝากคืนพร้อมดอกเบี้ยหลังจากที่จำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินประมาณเกือบสองปีแล้ว ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6885/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องเรียกเงินฝาก: การรับสภาพหนี้จากการชำระดอกเบี้ยทำให้สะดุดหยุดอายุความ
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ฟ้องเรียกเงินฝากที่ อ. ฝากไว้คืนจากจำเลยไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อใช้เงินบำเหน็จ ค่าฝากทรัพย์ชดใช้เงินค่าใช้จ่ายและใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ต้องใช้อายุความ 10 ปี
แม้ตามสำเนาสมุดเงินฝากประจำมีการแสดงยอดเงินคงเหลือครั้งสุดท้ายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ตามระเบียบการฝากเงินประจำโดยใช้สมุดคู่ฝากที่ปรากฏในสำเนาสมุดเงินฝากประจำข้อ 3 ระบุว่าการฝากทุก ๆ รายการ จำเลยถือว่าผู้ฝากตกลงฝากประจำมีกำหนดระยะเวลา1 ปี นับแต่วันเดือนปีที่ปรากฏของแต่ละรายการนั้น ๆ และข้อ 4 ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยจำเลยคำนวณให้เช่นเดียวกับเงินฝากประจำอื่นดังนี้ ฯลฯฝากตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปและได้ฝากครบกำหนดระยะเวลานั้น คำนวณดอกเบี้ยให้ร้อยละ 8 ต่อปี กับข้อ 5 ระบุว่า ระเบียบการนอกจากนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบและประเพณีพึงปฏิบัติของธนาคารทุกประการโดยระเบียบประเพณีและข้อตกลงดังกล่าว จำเลยต้องแสดงยอดเงินฝากคงเหลือของเงินฝากแต่ละรายการพร้อมดอกเบี้ยทุกระยะ 1 ปี ต่อครั้งให้แก่ผู้ฝาก แม้จะยังมิได้แสดงไว้ในสำเนาสมุดเงินฝาก ก็ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยทุกระยะเวลา 1 ปี อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อผู้ฝากด้วย การชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและอายุความจะสะดุดหยุดลงเรื่อยไปทุกระยะเวลา 1 ปี ฉะนั้น แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินฝากคืนพร้อมดอกเบี้ยหลังจากที่จำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินประมาณเกือบสองปีแล้วก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
แม้ตามสำเนาสมุดเงินฝากประจำมีการแสดงยอดเงินคงเหลือครั้งสุดท้ายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ตามระเบียบการฝากเงินประจำโดยใช้สมุดคู่ฝากที่ปรากฏในสำเนาสมุดเงินฝากประจำข้อ 3 ระบุว่าการฝากทุก ๆ รายการ จำเลยถือว่าผู้ฝากตกลงฝากประจำมีกำหนดระยะเวลา1 ปี นับแต่วันเดือนปีที่ปรากฏของแต่ละรายการนั้น ๆ และข้อ 4 ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยจำเลยคำนวณให้เช่นเดียวกับเงินฝากประจำอื่นดังนี้ ฯลฯฝากตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปและได้ฝากครบกำหนดระยะเวลานั้น คำนวณดอกเบี้ยให้ร้อยละ 8 ต่อปี กับข้อ 5 ระบุว่า ระเบียบการนอกจากนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบและประเพณีพึงปฏิบัติของธนาคารทุกประการโดยระเบียบประเพณีและข้อตกลงดังกล่าว จำเลยต้องแสดงยอดเงินฝากคงเหลือของเงินฝากแต่ละรายการพร้อมดอกเบี้ยทุกระยะ 1 ปี ต่อครั้งให้แก่ผู้ฝาก แม้จะยังมิได้แสดงไว้ในสำเนาสมุดเงินฝาก ก็ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยทุกระยะเวลา 1 ปี อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อผู้ฝากด้วย การชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและอายุความจะสะดุดหยุดลงเรื่อยไปทุกระยะเวลา 1 ปี ฉะนั้น แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินฝากคืนพร้อมดอกเบี้ยหลังจากที่จำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินประมาณเกือบสองปีแล้วก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6801/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความกับคดีแพ่งต่อคดีอาญาเช็ค: สิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้สละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับ และแม้ในสัญญาจะระบุเป็นข้อยกเว้นว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับถือว่ามีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายโดยชัดแจ้งตกเป็นโมฆะ และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติหน้าที่: การควบคุมตัวผู้ต้องหา
เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเริ่มจับกุมโจทก์ ถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ครั้นเมื่อจับกุมโจทก์ได้ก็จะต้องควบคุมตัวโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ การควบคุมตัวโจทก์ไปส่งไปที่สถานีตำรวจจึงถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน หากเจ้าพนักงานตำรวจได้ ทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมตำรวจเป็นจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิด ที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหาย อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานของรัฐเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
การที่เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุม ถือเป็นการละเมิดต่อรัฐ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แม้สิ่งปลูกสร้างมิได้ตั้งอยู่บนที่ดิน ก็สามารถทำได้โดยชอบ
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความระบุไว้แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยประสงค์จะดำเนินการจดทะเบียนสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามกฎหมายต่อไปในภายหน้า สัญญาฉบับนี้จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ที่จัดทำเป็นหนังสือมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง
การซื้อขายบ้านในลักษณะที่คงสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยแยกต่างหากจากที่ดินที่บ้านนั้นปลูกสร้างอยู่สามารถทำได้โดยชอบเมื่อปรากฏว่าการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวมิได้ยึดถือแนวเขตที่ดินตามโฉนดเป็นตัวกำหนดที่ตั้ง ซึ่งจำเลยเป็นผู้รู้ข้อเท็จจริงนี้ดีและได้แสดงเจตนาขายบ้านและที่ดินพิพาทแก่โจทก์พร้อมกันไปในคราวเดียวจึงเป็นการยอมรับสภาพในผลของสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นนั้นว่า เมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวแก่โจทก์แล้วบ้านนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีทั้งที่มิได้อยู่บนที่ดินพิพาท
การซื้อขายบ้านในลักษณะที่คงสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยแยกต่างหากจากที่ดินที่บ้านนั้นปลูกสร้างอยู่สามารถทำได้โดยชอบเมื่อปรากฏว่าการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวมิได้ยึดถือแนวเขตที่ดินตามโฉนดเป็นตัวกำหนดที่ตั้ง ซึ่งจำเลยเป็นผู้รู้ข้อเท็จจริงนี้ดีและได้แสดงเจตนาขายบ้านและที่ดินพิพาทแก่โจทก์พร้อมกันไปในคราวเดียวจึงเป็นการยอมรับสภาพในผลของสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นนั้นว่า เมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวแก่โจทก์แล้วบ้านนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีทั้งที่มิได้อยู่บนที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายบ้านแยกจากที่ดินได้หากเจตนาตรงกัน แม้บ้านจะไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ดินนั้น
การซื้อขายบ้านในลักษณะที่คงสภาพอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ โดยแยกต่างหากจากที่ดินที่บ้านนั้นปลูกสร้างอยู่สามารถทำได้โดยชอบ เมื่อการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวมิได้ยึดถือแนวเขตที่ดินตามโฉนดเป็นตัวกำหนดที่ตั้ง ซึ่งจำเลยเป็นผู้รู้ข้อเท็จจริงนี้ดีและได้แสดงเจตนาขายบ้านและที่ดินพิพาทแก่โจทก์พร้อมกันได้ในคราวเดียว จึงเป็นการยอมรับสภาพในผลของสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นนั้นว่า เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและบ้านหลังดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว บ้านนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีทั้งที่มิได้อยู่บนที่ดินพิพาท