พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินไม่ปิดอากรแสตมป์ ทำให้หนี้ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ส่งผลให้การออกเช็คชำระหนี้ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหายแต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ทำให้การออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายการออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
++ ++++++++++++++++++++++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยและนายสุพลอินทรำพรรณ สามีของจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินนายฉัตรชัย เจริญผล ผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2539ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
ต่อมาจำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุดลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จำนวนเงิน 100,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.3 ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝาก
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ คดีนี้จำเลยและสามีร่วมกันกู้ยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1สำหรับการกู้ยืมเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" และประมวลรัษฎากร มาตรา 118บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น เมื่อสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 ต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยและสามีไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องบังคับจำเลยและสามีให้คืนเงิน 100,000 บาทแก่ตนมิได้ เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ แม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยจะได้ความว่า จำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายเสียแล้ว การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
++
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือว่าจำเลยกู้ยืมและทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากผู้เสียหายจริงข้อเท็จจริงจึงยุติว่า จำเลยกู้ยืมเงินจริง คดีไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานในคดี แม้สัญญากู้ยืมเงินมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินให้ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น
++ ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ให้ถูกต้องความผิดของจำเลยก็ยังไม่เกิด
++ ขณะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยและมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวกับจำเลยตลอดจนในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การกระทำของจำเลยก็ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
++ ที่จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายก็ไม่อาจทำให้สิทธิการร้องทุกข์ของผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่มีมาแต่เริ่มแรกพลิกฟื้นเกิดขึ้นโดยมีผลย้อนหลังไปได้คำฟ้องที่เสียไปก็ไม่อาจกลับคืนดีขึ้นมาได้อีก
++ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ความรับผิดทางอาญามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 บังคับว่าไม่ว่าพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานได้เพียงใด หรือไม่ก็มีบทบัญญัติบังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 อันเป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา การฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227นั้น
++ เห็นว่า ก่อนศาลจะฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย ต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า มีการกระทำครบองค์ประกอบเป็นความผิดสำเร็จตามกฎหมายเสียก่อน แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 มีองค์ประกอบความผิดที่เกี่ยวกับหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ว่า ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คชำระเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีประมวลกฎหมายรัษฎากรบัญญัติถึงการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งของสัญญากู้ยืมเงินกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง จึงแตกต่างจากหนี้ทางแพ่งอื่นทั่วไปเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้แจ้งชัดเช่นนี้ ย่อมไม่มีหนทางที่จะนำหลักกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาทำให้พลิกผันไปเป็นอย่างอื่นได้
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายการออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
++ ++++++++++++++++++++++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยและนายสุพลอินทรำพรรณ สามีของจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินนายฉัตรชัย เจริญผล ผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2539ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
ต่อมาจำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุดลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จำนวนเงิน 100,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.3 ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝาก
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ คดีนี้จำเลยและสามีร่วมกันกู้ยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1สำหรับการกู้ยืมเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" และประมวลรัษฎากร มาตรา 118บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น เมื่อสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 ต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยและสามีไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องบังคับจำเลยและสามีให้คืนเงิน 100,000 บาทแก่ตนมิได้ เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ แม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยจะได้ความว่า จำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายเสียแล้ว การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
++
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือว่าจำเลยกู้ยืมและทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากผู้เสียหายจริงข้อเท็จจริงจึงยุติว่า จำเลยกู้ยืมเงินจริง คดีไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานในคดี แม้สัญญากู้ยืมเงินมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินให้ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น
++ ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ให้ถูกต้องความผิดของจำเลยก็ยังไม่เกิด
++ ขณะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยและมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวกับจำเลยตลอดจนในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การกระทำของจำเลยก็ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
++ ที่จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายก็ไม่อาจทำให้สิทธิการร้องทุกข์ของผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่มีมาแต่เริ่มแรกพลิกฟื้นเกิดขึ้นโดยมีผลย้อนหลังไปได้คำฟ้องที่เสียไปก็ไม่อาจกลับคืนดีขึ้นมาได้อีก
++ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ความรับผิดทางอาญามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 บังคับว่าไม่ว่าพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานได้เพียงใด หรือไม่ก็มีบทบัญญัติบังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 อันเป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา การฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227นั้น
++ เห็นว่า ก่อนศาลจะฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย ต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า มีการกระทำครบองค์ประกอบเป็นความผิดสำเร็จตามกฎหมายเสียก่อน แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 มีองค์ประกอบความผิดที่เกี่ยวกับหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ว่า ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คชำระเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีประมวลกฎหมายรัษฎากรบัญญัติถึงการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งของสัญญากู้ยืมเงินกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง จึงแตกต่างจากหนี้ทางแพ่งอื่นทั่วไปเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้แจ้งชัดเช่นนี้ ย่อมไม่มีหนทางที่จะนำหลักกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาทำให้พลิกผันไปเป็นอย่างอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การพิสูจน์ความผิดฐานรับของโจร โจทก์ต้องพิสูจน์จำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
ในคดีความผิดฐานรับของโจร โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่า จำเลยรับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจาก การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครอง รถจักรยานยนต์ของกลางนั้นจำเลยก็ต้องนำสืบว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของ ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีสัญญากู้เงิน จำเลยปฏิเสธ ลายมือชื่อไม่ตรง พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยทำหนังสือสัญญากู้เงินและรับเงินจากโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้ใดไปจดทะเบียนจำนองที่ดิน ลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ภาระการพิสูจน์จึงตกอยู่แก่โจทก์ที่มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามประเด็นที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง แต่ ย. พยานโจทก์กลับเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าพยานไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทำสัญญากู้เงิน ไม่ทราบว่าจำเลยลงชื่อสัญญากู้เงินและรับเงินที่กู้หรือไม่ และไม่ทราบว่าลายมือชื่อผู้มอบอำนาจให้จำนองที่ดินพิพาทเป็นลายมือชื่อจำเลยหรือไม่ ส่วน ป. พยานโจทก์อีกปากหนึ่งก็เบิกความทำนองเดียวกันว่าจำเลยไม่ได้ลงชื่อผู้กู้ต่อหน้าพยานจึงไม่ยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยหรือไม่ ส่วน น. ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาของโจทก์ซึ่งเป็นประจักษ์พยานโดยตรง โจทก์กลับไม่นำมาเบิกความยืนยันตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์เพียงเท่าที่นำสืบจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า ลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินและลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5151/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาค้ำประกันและจำนอง: ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อหนี้ของลูกหนี้อีกทอดหนึ่ง
ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 171 และในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามมาตรา 11
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงินและ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์) ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าภายใน วงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ใจความว่าจำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงิน ไม่เกิน1,500,000 บาท ดังนั้น ตามสัญญาดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าหมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น คู่สัญญาไม่น่าจะคาดหมายว่าจะต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอก คือ จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงินและ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์) ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าภายใน วงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ใจความว่าจำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงิน ไม่เกิน1,500,000 บาท ดังนั้น ตามสัญญาดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าหมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น คู่สัญญาไม่น่าจะคาดหมายว่าจะต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอก คือ จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5151/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาค้ำประกัน เจตนาสำคัญกว่าตัวอักษร และให้ประโยชน์แก่ผู้ต้องเสีย
ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร ตาม ป.พ.พ.มาตรา 171 และในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามมาตรา 11
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงิน และ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์)ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ว่า จำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ตามสัญญาดังกล่าวนี้มีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2 ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอกต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงิน และ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์)ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ว่า จำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ตามสัญญาดังกล่าวนี้มีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2 ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอกต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4938/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดพยายามส่งออกเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย – ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ตามฟ้องในความผิดพยายามส่งเฮโรอีนของกลางออกนอกราชอาณาจักร โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่ายที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามส่งเฮโรอีนของกลางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย จึงไม่ถูกต้อง แม้ปัญหาดังกล่าวจำเลยจะไม่ฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4938/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดพยายามส่งออกยาเสพติด จำเป็นต้องระบุเจตนาเพื่อจำหน่าย
ตามฟ้องในความผิดพยายามส่งเฮโรอีนของกลางออกนอกราชอาณาจักร โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามส่งเฮโรอีนของกลางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย จึงไม่ถูกต้องแม้ปัญหาดังกล่าวจำเลยจะไม่ฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่แก้ไขคำสั่งปรับตามสัญญาประกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเพราะคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามนัด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกัน ผู้ประกันได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ขอให้ลดค่าปรับ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้ว พิพากษาให้ลดค่าปรับผู้ประกัน ดังนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8จึงถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ผู้ประกันจึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปกครอง: คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น vs. นิติบุคคล จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจออกคำสั่ง
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่อย่างใดการที่ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่มีหนังสือถึงโจทก์ก็เป็นการกระทำในฐานะปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย ดังนั้นจำเลยจึงมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แต่ประการใดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย