คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย วิสิทธวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนโดยชอบด้วยกฎหมาย: ใบอนุญาตซื้อ (ป.3) เพียงพอสำหรับการครอบครองก่อนออกใบอนุญาตใช้ (ป.4)
การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน ผู้ขอจะต้องไปยื่นคำขอต่อนายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก่อน เมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่เห็นว่าผู้ขอมีคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กำหนดแล้วจึงอนุญาตให้ซื้อหรือรับโอนอาวุธปืนได้ โดยจะออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล(แบบ ป.3) ให้ จากนั้นผู้ขอจึงนำใบ ป.3 ดังกล่าวไปซื้ออาวุธปืนจากร้านค้าหรือผู้ขายแล้วจึงนำอาวุธปืนพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปแสดงต่อนายทะเบียนอาวุธปืนผู้ออกใบอนุญาตเพื่อออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ถือได้ว่านายทะเบียนอาวุธปืนผู้ออกใบอนุญาตได้อนุญาตให้ผู้ขอมีและใช้อาวุธปืนแล้วตั้งแต่ออกใบ ป.3ส่วนขั้นตอนการไปซื้อหรือรับโอนจนกระทั่งออกใบ ป.4 เป็นขั้นตอนต่อมาเพื่อควบคุมอาวุธปืนในราชอาณาจักรให้รู้ว่าอาวุธปืนแต่ละกระบอกอยู่ในครอบครองของผู้ใดเท่านั้นไม่ได้หมายความว่าผู้ขอเพิ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเมื่อนายทะเบียนออกใบป.4 ให้ การที่จำเลยซื้อและครอบครองอาวุธปืนของกลางตามใบ ป.3 และดำเนินการขอออกใบ ป.4 สำหรับอาวุธปืนของกลางจนได้รับใบ ป.4 จึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และเมื่อจำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลางก่อนที่ศาลชั้นต้นสั่งริบ อาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่สิ่งที่มีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบอนุญาตซื้ออาวุธปืน (ป.3) ถือเป็นการอนุญาตให้มีและใช้ได้ การขอ ป.4 เป็นขั้นตอนต่อเนื่อง ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย
การที่นายทะเบียนอาวุธปืนออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล (แบบ ป.3) ให้แก่ผู้ขออนุญาต ถือได้ว่านายทะเบียนอาวุธปืนได้อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนได้แล้ว ส่วนการไปซื้อหรือรับโอนอาวุธปืนตามแบบ ป.3 ดังกล่าว แล้วนำไปดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) เป็นขั้นตอนต่อเนื่องมาเพื่อควบคุมอาวุธปืนในราชอาณาจักรให้รู้ว่าอาวุธปืนแต่ละกระบอกอยู่ในครอบครองของผู้ใดเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าผู้ขออนุญาตเพิ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนออกใบอนุญาตแบบ ป.4 ให้
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 23 (2) กำหนดให้แบบ ป.3 มีอายุ 6 เดือน นับแต่วันออก การที่จำเลยซื้อและครอบครองอาวุธปืนตามแบบ ป.3 แล้วดำเนินการขอจดทะเบียนรับใบอนุญาตแบบ ป.4 ภายในกำหนดเวลา จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเพิกถอนสูติบัตร: กรุงเทพมหานครไม่ใช่หน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย
กรุงเทพมหานครไม่ใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจฟ้องบังคับกรุงเทพมหานครให้เพิกถอนสูติบัตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเพิกถอนสูติบัตร: นายทะเบียนท้องถิ่นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย และขอบเขตการฟ้องร้อง
นายทะเบียนท้องถิ่น คือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งการเกิด การตาย ฯลฯ ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรฯ ตามมาตรา 18 ถึงมาตรา 22 รวมทั้งมีฐานะเป็น"นายทะเบียน" ผู้มีอำนาจเพิกถอนหลักฐานทะเบียนตามมาตรา 10 และมาตรา 8(5)วรรคสอง บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตเป็นนายทะเบียนท้องถิ่นคดีนี้หากการจัดทำสูติบัตรเด็กชาย ภ. มิชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอน คือนายทะเบียนท้องถิ่นเขตพญาไทหรือผู้อำนวยการเขตพญาไท ซึ่งเป็นผู้รับแจ้งการเกิดของเด็กชาย ภ. แต่เมื่อมีการปรับปรุงแบ่งเขตปกครองเสียใหม่ เป็นผลให้อำนาจพิจารณาสั่งเพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. เป็นของนายทะเบียนท้องถิ่นเขตราชเทวี และโจทก์ได้ร้องขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเขตราชเทวีซึ่งได้พิจารณาสั่งไม่เพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. โดยให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลต่อไป แต่กรุงเทพมหานครจำเลยมิใช่นายทะเบียนท้องถิ่นผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรฯ โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยให้เพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายทะเบียนเพิกถอนสูติบัตร: กรุงเทพมหานครไม่ใช่ผู้มีอำนาจเพิกถอน
กรุงเทพมหานครไม่ใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจฟ้องบังคับกรุงเทพมหานครให้เพิกถอนสูติบัตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งออกโฉนดที่ดิน: อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ม.60 และการฟ้องร้องกรรมสิทธิ์
แม้โจทก์จะบรรยายคำฟ้องโดยตั้งประเด็นกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยการสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ ช. ผู้คัดค้านในทำนองให้รับผิดฐานละเมิด แต่ในคำฟ้องของโจทก์คงบรรยายฟ้องลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 ไม่พิจารณาหลักฐานให้รอบคอบถูกต้องชัดเจนโดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 พิจารณาหลักฐานไม่รอบคอบอย่างไรกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำขอท้ายคำฟ้องโจทก์ขอเพียงให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว กับให้จำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินเลขที่ 1020 ให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดแต่มีลักษณะเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 ซึ่งโจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 กำหนด ด้วยการฟ้อง ช. ผู้คัดค้าน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2
ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจสั่งการไปตามที่เห็นสมควร จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ ช. ผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4317/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเพื่อรอเอกสารสำคัญและพยานหลักฐาน ศาลต้องอนุญาตโดยคำนึงถึงสิทธิในการนำสืบพยานของผู้ฟ้อง
โจทก์ระบุพยานไว้ 30 อันดับ เป็นพยานนำเกือบทั้งหมด เอกสารบางอย่างเห็นชัดว่าน่าจะมิได้มีอยู่ที่โจทก์จะต้องติดตามมาซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร คดีของโจทก์มีทุนทรัพย์สูง โจทก์นำสืบทนายความของโจทก์ไปแล้ว 1 ปาก ยังมิได้อ้างส่งเอกสาร เอกสาร 25 อันดับตามบัญชีระบุพยานเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ในการสืบพยานบุคคลของโจทก์ 3 ปาก ที่เหลืออยู่ เหตุที่อ้างมาตามคำร้องว่ายังขัดข้องในเรื่องเอกสารซึ่งมีจำนวนมากยังได้มาไม่ครบนั้น ถือได้ว่าเป็นเหตุจำเป็นที่ทำให้โจทก์ยังไม่สามารถสืบพยานบุคคลที่เหลืออยู่ได้ โจทก์เพิ่งจะขอเลื่อนคดีเป็นครั้งที่สองและจำเลยทั้งสี่รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน สมควรที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้เลื่อนคดีไปก่อนได้อีกครั้งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4088/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยศาลอุทธรณ์ โดยที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ถือเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 4,55,78 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีลูกระเบิดอันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ จำคุก 4 ปี ฐานร่วมกันใช้ลูกระเบิดอันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้และฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 10 ปีรวมจำคุก 14 ปี จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80,83 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 55 ประกอบด้วยมาตรา 78 วรรคหนึ่งและวรรคสามความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดและใช้วัตถุระเบิดเพื่อฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงเดียว 14 ปีเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกในแต่ละกระทงโดยที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ อันเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4088/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์เกินกว่าที่ศาลชั้นต้นวางโทษ ถือเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 4 , 55 , 78 ป.อ.มาตรา 288 , 80 , 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษ ตาม ป.อ.มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีลูกระเบิดอันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ จำคุก 4 ปี ฐานร่วมกันใช้ลูกระเบิดอันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้และฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 จำคุก 10 ปี รวมจำคุก 14 ปี จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 , 83 พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 55 ประกอบด้วยมาตรา 78 วรรคหนึ่งและวรรคสาม ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดและใช้วัตถุระเบิดเพื่อฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงเดียว 14 ปี เกินกว่าที่ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกในแต่ละกระทงโดยที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ อันเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 212 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่ติดอากรแสตมป์-ไม่ส่งสำเนาเอกสาร ศาลรับฟังได้หากเป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโจทก์เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลได้รับการยกเว้นไม่ต้องติดอากรแสตมป์ตามมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์ในเอกสาร ก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารต่อศาลและส่งให้แก่จำเลยเป็นการล่วงหน้าตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 บัญญัติไว้ แต่เอกสารเหล่านั้นเป็นเพียงบันทึกประวัติการเช่าของจำเลย เป็นเอกสารแสดงรายละเอียดในการที่จำเลยไม่ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ระหว่างที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นหนังสือบอกเลิกการเช่าและให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้าง และเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เช่าอาคารข้างเคียงที่ทำธุรกิจเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานในคดีได้ตามมาตรา 87(2)
of 26