พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. จากวุฒิการศึกษาปลอมและการลาออก
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ใช้วุฒิการศึกษาปลอมเข้าศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี จึงไม่มีสิทธิตามวุฒิการศึกษาชั้นปริญญาตรี ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกของผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการกระทำผิดตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 และให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งในระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลจากการลาออกของผู้คัดค้านที่ 2 ทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 118 (3)นับตั้งแต่วันลาออก ดังนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 ตามคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. จากการลาออกและคุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 2ใช้วุฒิการศึกษาปลอมเข้าศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี จึงไม่มีสิทธิตามวุฒิการศึกษาชั้นปริญญาตรี ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกของผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการกระทำผิดตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 และให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งในระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลจากการลาออกของผู้คัดค้านที่ 2 ทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 118(3)นับตั้งแต่วันลาออก ดังนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 ตามคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาแผ่นดินลักทรัพย์-รบกวนวิทยุคมนาคม: อำนาจฟ้องและพยานหลักฐานเพียงพอ
ความผิดในข้อหาลักทรัพย์และข้อหาร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม เป็นคดีอาญาแผ่นดินอันมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่ห้ามพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง เมื่อมีความผิดอาญาแผ่นดินเกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่ต้องสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพื่อเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18ประกอบมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษกระทำผิดหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนรวมทั้งการที่พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
ความผิดทั้งสองฐานตามฟ้องเกิดจากโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกับพวกนำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย แม้จำเลยกับพวกจะกระทำการดังกล่าวที่บริษัทของจำเลยแต่ผลของการกระทำก็เกิดขึ้นแก่โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูกรบกวน จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำต่อเนื่องกันระหว่างท้องที่ที่บริษัทจำเลยตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้แล้วเกิดขัดข้องซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพญาไทจึงมีอำนาจสอบสวน การสอบสวนได้กระทำโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โทรศัพท์มือถือที่ ช. ซื้อมาจากบริษัทจำเลยผ่านทาง ม. นั้น เป็นโทรศัพท์ที่คนของบริษัทจำเลยทำการลักลอบปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นช่องสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขของผู้เสียหาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรบกวนและขัดขวางการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมพ.ศ. 2498 มาตรา 26 และเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่าร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม จำเลยก็ให้การรับสารภาพ จากพยานหลักฐานของโจทก์และพฤติการณ์แห่งคดี แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องมือปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่หรือถอดรหัสสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็ฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือสมรู้ร่วมคิดกับพวกอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันประกอบธุรกิจอันไม่ชอบ
ความผิดทั้งสองฐานตามฟ้องเกิดจากโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกับพวกนำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย แม้จำเลยกับพวกจะกระทำการดังกล่าวที่บริษัทของจำเลยแต่ผลของการกระทำก็เกิดขึ้นแก่โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูกรบกวน จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำต่อเนื่องกันระหว่างท้องที่ที่บริษัทจำเลยตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้แล้วเกิดขัดข้องซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพญาไทจึงมีอำนาจสอบสวน การสอบสวนได้กระทำโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โทรศัพท์มือถือที่ ช. ซื้อมาจากบริษัทจำเลยผ่านทาง ม. นั้น เป็นโทรศัพท์ที่คนของบริษัทจำเลยทำการลักลอบปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นช่องสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขของผู้เสียหาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรบกวนและขัดขวางการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมพ.ศ. 2498 มาตรา 26 และเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่าร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม จำเลยก็ให้การรับสารภาพ จากพยานหลักฐานของโจทก์และพฤติการณ์แห่งคดี แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องมือปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่หรือถอดรหัสสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็ฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือสมรู้ร่วมคิดกับพวกอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันประกอบธุรกิจอันไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาต้องกระทำต่อหน้าคู่ความที่มาศาล การอ่านให้เสมียนทนายความถือว่าชอบแล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น
การที่คู่ความมาศาล หมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา มิใช่มาศาลแล้วแต่ไปอยู่ที่อื่น หรือมิได้แถลงต่อศาลหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลดังกล่าว เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่ามีคู่ความมาศาลหรือไม่
ทนายความโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาและลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาล เสมียนทนายย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของทนายความโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี โดยมีตราประทับของงานรับฟ้องของศาลชั้นต้นลงวันเวลาในใบมอบฉันทะว่า 25 สิงหาคม 2540 เวลา 13.55นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแสดงตัวต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เสมียนทนายความโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและเสมียนทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อไว้เช่นนี้ แม้จะอ่านล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่จำเลยมาแสดงตนว่าเป็นคู่ความหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านอีกชั้นหนึ่งโดยให้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาต่อ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังอีก
ถ้าจำเลยมาแสดงตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังหรือศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟัง จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังอีกได้ ซึ่งถ้าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านให้ฟังจึงจะถือได้ว่าเป็นการอ่านที่ไม่ชอบ
ฎีกาโต้แย้งประเด็นในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
การที่คู่ความมาศาล หมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา มิใช่มาศาลแล้วแต่ไปอยู่ที่อื่น หรือมิได้แถลงต่อศาลหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลดังกล่าว เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่ามีคู่ความมาศาลหรือไม่
ทนายความโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาและลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาล เสมียนทนายย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของทนายความโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี โดยมีตราประทับของงานรับฟ้องของศาลชั้นต้นลงวันเวลาในใบมอบฉันทะว่า 25 สิงหาคม 2540 เวลา 13.55นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแสดงตัวต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เสมียนทนายความโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและเสมียนทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อไว้เช่นนี้ แม้จะอ่านล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่จำเลยมาแสดงตนว่าเป็นคู่ความหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านอีกชั้นหนึ่งโดยให้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาต่อ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังอีก
ถ้าจำเลยมาแสดงตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังหรือศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟัง จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังอีกได้ ซึ่งถ้าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านให้ฟังจึงจะถือได้ว่าเป็นการอ่านที่ไม่ชอบ
ฎีกาโต้แย้งประเด็นในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาต่อหน้าคู่ความที่มาศาล และผลของการมาแสดงตัวหลังอ่านคำพิพากษา
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 140 (3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น
การที่คู่ความมาศาล หมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณามิใช่มาศาลแล้วแต่ไปอยู่ที่อื่น หรือมิได้แถลงต่อศาลหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลดังกล่าวเมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่ามีคู่ความมาศาลหรือไม่
ทนายความโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาและลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาล เสมียนทนายย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของทนายความโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี โดยมีตราประทับของงานรับฟ้องของศาลชั้นต้นลงวันเวลาในใบมอบฉันทะว่า 25 สิงหาคม 2540 เวลา 13.55 นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแสดงตัวต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เสมียนทนายความโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและเสมียนทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อไว้เช่นนี้ แม้จะอ่านล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่จำเลยมาแสดงตนว่าเป็นคู่ความหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านอีกชั้นหนึ่งโดยให้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาต่อ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังอีก
ถ้าจำเลยมาแสดงตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังหรือศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟัง จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังอีกได้ ซึ่งถ้าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านให้ฟังจึงจะถือได้ว่าเป็นการอ่านที่ไม่ชอบ
ฎีกาโต้แย้งประเด็นในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
การที่คู่ความมาศาล หมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณามิใช่มาศาลแล้วแต่ไปอยู่ที่อื่น หรือมิได้แถลงต่อศาลหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลดังกล่าวเมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่ามีคู่ความมาศาลหรือไม่
ทนายความโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาและลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาล เสมียนทนายย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของทนายความโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี โดยมีตราประทับของงานรับฟ้องของศาลชั้นต้นลงวันเวลาในใบมอบฉันทะว่า 25 สิงหาคม 2540 เวลา 13.55 นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแสดงตัวต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เสมียนทนายความโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและเสมียนทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อไว้เช่นนี้ แม้จะอ่านล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่จำเลยมาแสดงตนว่าเป็นคู่ความหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านอีกชั้นหนึ่งโดยให้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาต่อ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังอีก
ถ้าจำเลยมาแสดงตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังหรือศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟัง จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังอีกได้ ซึ่งถ้าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านให้ฟังจึงจะถือได้ว่าเป็นการอ่านที่ไม่ชอบ
ฎีกาโต้แย้งประเด็นในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาชอบด้วยกฎหมายเมื่อคู่ความมาศาลแสดงตัว และการอ่านคำพิพากษาต่อหน้าตัวแทนที่ได้รับมอบฉันทะ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น การที่คู่ความมาศาลหมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งเจ้าพนักงานศาล เพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่า มีคู่ความมาศาลหรือไม่ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยแสดงตัวต่อศาลการที่ศาลอ่านคำพิพากษาให้เสมียนทนายโจทก์ฟัง ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบจำเลยแสดงตนเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว ศาลอาจให้จำเลยรับทราบการอ่านโดยไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีฉ้อโกงทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงและลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ในระหว่างจำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกา โจทก์ร่วมและจำเลยต่างยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีขอถอนคำร้องทุกข์แก่จำเลย ศาลชั้นต้นนัดพร้อมและสอบถามคู่ความ โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงรับกันว่า จำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ขอถอนคำร้องทุกข์โจทก์ไม่ค้าน ถือได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ตกลงยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความในคดีฉ้อโกง: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีการชำระเงินและถอนคำร้องทุกข์
ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงและลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ในระหว่างจำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกา โจทก์ร่วมและจำเลยต่างยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีขอถอนคำร้องทุกข์แก่จำเลย ศาลชั้นต้นนัดพร้อมและสอบถามคู่ความ โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงรับกันว่า จำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ขอถอนคำร้องทุกข์ โจทก์ไม่ค้าน ถือได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ตกลงยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำโดยการทำหนังสือและบอกกล่าวเจตนา ถือเป็นการโอนสมบูรณ์
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำทั้งสามรายการเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินจำนวนดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่จำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
การที่ ฉ. มีเจตนายกเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และได้ทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้โดยปริยายว่ามีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของ ฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ฉ. ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฉ. โดยคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินฝากประจำดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 1
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่จำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
การที่ ฉ. มีเจตนายกเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และได้ทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้โดยปริยายว่ามีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของ ฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ฉ. ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฉ. โดยคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินฝากประจำดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำ: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจและเจตนาโอนสิทธิ
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น