พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การรื้อฟ้องประเด็นเดิมที่ศาลฎีกาตัดสินแล้ว แม้ผู้สืบสิทธิจะฟ้องใหม่
ในคดีก่อน ย. มารดาโจทก์ ฟ้องจำเลยอ้างว่านายอำเภอประกาศหวงห้ามที่ดินซึ่งไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินฯ ทำให้การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไม่ชอบและขอให้เพิกถอนประกาศและหนังสือสำคัญดังกล่าว โดยจำเลยในคดีก่อนให้การว่า ย. ไม่เคยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท และที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินหวงห้ามที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแล้ว ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดว่า ย. ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากป. ที่ดินฯ ใช้บังคับ ย. จึงไม่ได้สิทธิครอบครองทั้งการครอบครองของ ย. มิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นการยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9 ย. ไม่มีอำนาจฟ้อง ฉะนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ย. มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับรองของผู้ตายก่อนสิ้นใจเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันตัวผู้กระทำผิดได้ แม้ไม่มีพยานบุคคลอื่นสนับสนุน
ขณะที่ผู้ตายพูดกับ พ. พยานโจทก์นั้น ผู้ตายมีอาการล้มลุกคลุกคลานขอให้รีบนำส่งโรงพยาบาล และขณะพูดกับโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นมารดานั้น ผู้ตายมีใบหน้าสีดำคล้ำ หายใจโรย คว้ามือโจทก์ร่วมที่ 1 ไปบอกชื่อคนร้าย จากนั้นผู้ตายก็พูดไม่ได้และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา แสดงว่าผู้ตายยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายในขณะที่ตนเองรู้ตัวว่าใกล้จะตาย คำกล่าวเช่นนี้รับฟังเป็นพยานได้ว่าเป็นความจริง แม้โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองไม่มีประจักษ์พยานก็ฟัง ลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทนที่ดินโดยพิจารณาจากราคาที่ซื้อขายจริงและสภาพการใช้ประโยชน์
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาก่อนการเวนคืนภายในระยะเวลา 5 ปี ในราคาเฉลี่ยตารางวาละ 2,383.50 บาท โดยโจทก์มิได้ใช้ที่ดินพิพาทอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำประโยชน์ที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เข้ากรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 22 ที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินพิพาทในขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา ทั้งที่ดินพิพาทอยู่ในทำเลที่ห่างไกล แม้จะอยู่ติดถนนสาธารณะและถมดินไว้แล้ว แต่จากสภาพความเจริญของท้องถิ่นในระยะเวลาที่ผ่านไป 5 ปี ไม่น่าจะทำให้ที่ดินพิพาทมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวได้ ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 6,000 บาท เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินต่ำกว่าราคาตลาดเมื่อผู้ถูกเวนคืนได้ที่ดินมาภายใน 5 ปี และไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาก่อนการเวนคืนภายในระยะเวลา 5 ปี ในราคาเฉลี่ยตารางวาละ 2,383.50 บาท โดยโจทก์มิได้ใช้ที่ดินพิพาทอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำประโยชน์ที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เข้ากรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 22 ที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินพิพาทในขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา ทั้งที่ดินพิพาทอยู่ในทำเลที่ห่างไกล แม้จะอยู่ติดถนนสาธารณะและถมดินไว้แล้ว แต่จากสภาพความเจริญของท้องถิ่นในระยะเวลาที่ผ่านไป 5 ปี ไม่น่าจะทำให้ที่ดินพิพาทมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวได้ ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 6,000 บาท เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืน: รั้วลวดหนามรื้อถอนและติดตั้งใหม่ได้ง่าย ไม่ถือเป็นการสร้างใหม่ จึงคิดเฉพาะค่ารื้อถอน ขนย้าย
รั้วลวดหนามของโจทก์ต้องรื้อถอนเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตเวนคืนเป็นความยาว160 เมตร โจทก์เพียงแต่จ้างคนงานมารื้อถอน ขนย้ายเสาไปปักตามแนวเขตใหม่แล้วขนย้ายลวดหนามที่ม้วนเก็บได้นำไปยึดติดกับเสาเหล่านั้นเท่านั้น วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุเดิมขนย้ายไปใกล้ ๆ และคนงานก็คงไม่ต้องใช้มาก เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างรั้วลวดหนามจำนวน 22,253.78 บาท ที่กำหนดให้มากเพียงพอแล้ว จะคิดราคาเป็นตารางเมตรเหมือนกับสร้างขึ้นมาใหม่ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(5) บัญญัติไว้ว่า "พึงกำหนดให้เฉพาะค่ารื้อถอนค่าขนย้าย และค่าปลูกสร้างใหม่เท่านั้น"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญา มาตรา 92 ต้องมี 'วันพ้นโทษ' จากการรับโทษจำคุกจริง ไม่นับรวมระยะรอการลงโทษ
ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งวันพ้นโทษก็คือพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้ แม้ว่าจำเลยจะมาทำความผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษก็ตาม ก็เพิ่มโทษมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญา: วันพ้นโทษสำคัญกว่ากำหนดรอการลงโทษ
ตาม ป.อ. มาตรา 92 นั้นผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการ ลงโทษไว้ จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษเมื่อจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันชีวิต - การบอกล้างสัญญา - สุขภาพของผู้เอาประกัน - เหตุผลในการบอกล้างสัญญา
จำเลยเป็นบริษัทรับประกันชีวิตแก่ประชาชนทั่วไปจึงมีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นจำนวนมาก โดยโจทก์นำสืบว่าการที่จำเลยปฏิเสธใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ พ. ผู้ร้องโดยอ้างอาการอ่อนเพลียของผู้เอาประกันภัยซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าไม่ใช่โรคนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมและไม่ใช่เพียงผู้ร้องรายเดียวที่ประสบกับเหตุลักษณะนี้ แต่คาดว่ายังมีประชาชนผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอีกจำนวนมากที่ประสบกับเหตุลักษณะทำนองเดียวกันนี้ ทั้งจำเลยก็รับว่าไม่มีระเบียบกำหนดให้อาการน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคต้องห้ามที่จะไม่รับประกันภัย ดังนั้น ที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นสมควรดำเนินคดีแทน พ. ผู้บริโภค จึงมอบหมายให้โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลย จึงเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคฯ มาตรา 10(7) และมาตรา 39 แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
ก่อนที่ ป. จะยื่นคำขอเอาประกันชีวิตกับจำเลย ป. เคยเข้ารับการรักษาและนอนพักในโรงพยาบาลหลายครั้งด้วยอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก ใจสั่น เพราะเหตุน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่ ป. ก็มิได้แถลงข้อความจริงในเรื่องดังกล่าวให้จำเลยทราบ ซึ่งในทางการแพทย์แล้วไม่ถือว่าการมีน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไฮโปโกซีเมียเป็นโรคติดต่อเพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หากรับประทานอาหารเข้าไปก็จะหายโดยไม่ต้องใช้ยา แม้จำเลยจะอ้างว่าการมีน้ำตาลในเลือดต่ำอาจมีสาเหตุมาจากการดื่มสุราด้วยก็ตาม แต่หากดื่มสุราและยังรับประทานอาหารตรงเวลาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำคงไม่เกิดขึ้นทั้งจำเลยก็ไม่มีระเบียบว่า ผู้เอาประกันภัยที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคต้องห้ามมิให้ทำสัญญาประกันชีวิต ได้ความว่าก่อนรับทำสัญญาประกันชีวิต จำเลยได้จัดให้แพทย์ทำการตรวจสุขภาพของ ป. แล้ว ซึ่งปรากฏว่าป. มีสุขภาพแข็งแรง ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าอาการน้ำตาลในเลือดต่ำของ ป. เกิดจากการดื่มสุราจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ฉะนั้นที่ ป. ไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้จำเลยทราบจึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยข้อความจริงเช่นนั้นจะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาอันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป. กับจำเลยตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาได้ เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย เนื่องจากอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ โดยมิได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ พ. ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
ก่อนที่ ป. จะยื่นคำขอเอาประกันชีวิตกับจำเลย ป. เคยเข้ารับการรักษาและนอนพักในโรงพยาบาลหลายครั้งด้วยอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก ใจสั่น เพราะเหตุน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่ ป. ก็มิได้แถลงข้อความจริงในเรื่องดังกล่าวให้จำเลยทราบ ซึ่งในทางการแพทย์แล้วไม่ถือว่าการมีน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไฮโปโกซีเมียเป็นโรคติดต่อเพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หากรับประทานอาหารเข้าไปก็จะหายโดยไม่ต้องใช้ยา แม้จำเลยจะอ้างว่าการมีน้ำตาลในเลือดต่ำอาจมีสาเหตุมาจากการดื่มสุราด้วยก็ตาม แต่หากดื่มสุราและยังรับประทานอาหารตรงเวลาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำคงไม่เกิดขึ้นทั้งจำเลยก็ไม่มีระเบียบว่า ผู้เอาประกันภัยที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคต้องห้ามมิให้ทำสัญญาประกันชีวิต ได้ความว่าก่อนรับทำสัญญาประกันชีวิต จำเลยได้จัดให้แพทย์ทำการตรวจสุขภาพของ ป. แล้ว ซึ่งปรากฏว่าป. มีสุขภาพแข็งแรง ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าอาการน้ำตาลในเลือดต่ำของ ป. เกิดจากการดื่มสุราจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ฉะนั้นที่ ป. ไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้จำเลยทราบจึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยข้อความจริงเช่นนั้นจะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาอันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป. กับจำเลยตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาได้ เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย เนื่องจากอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ โดยมิได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ พ. ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค และการบอกล้างสัญญาประกันภัยเนื่องจากอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
การที่จำเลยปฏิเสธการใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ พ. ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตโดยอ้างอาการอ่อนเพลียของผู้เอาประกันภัย ซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าไม่ใช่โรคนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้อง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมอบหมายให้โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดำเนินคดีแก่จำเลยเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม ชอบด้วย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ป. มีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงก่อนจะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย การที่นาย ป. มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นทางแพทย์ถือว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่ถือว่าเป็นโรค ฉะนั้น ที่ ป. ไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้จำเลยทราบในคำขอเอาประกันชีวิตจึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยความจริงเช่นนั้น จะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา อันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป. กับจำเลยตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาได้ เมื่อ ป. ได้ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ พ. ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
ป. มีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงก่อนจะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย การที่นาย ป. มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นทางแพทย์ถือว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่ถือว่าเป็นโรค ฉะนั้น ที่ ป. ไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้จำเลยทราบในคำขอเอาประกันชีวิตจึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยความจริงเช่นนั้น จะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา อันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป. กับจำเลยตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาได้ เมื่อ ป. ได้ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ พ. ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค กรณีบริษัทประกันปฏิเสธค่าสินไหมทดแทนโดยอ้างเหตุไม่เปิดเผยอาการเจ็บป่วย
จำเลยเป็นบริษัทรับประกันชีวิตแก่ประชาชนทั่วไปจึงมีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อมีประชาชนผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอีกจำนวนมากที่ประสบกับเหตุลักษณะทำนองเดียวกับ พ. ทั้งจำเลยไม่ได้กำหนดเป็นระเบียบไว้ว่า อาการน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคที่ต้องห้ามที่จำเลยจะไม่รับประกันภัย การที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นสมควรดำเนินคดีแทน พ. ผู้บริโภค จึงได้มอบหมายให้โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลย จึงเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย