พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินซ้ำกับคดีที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นฟ้องซ้ำไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีก่อน ส. เป็นโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดิน โดยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ซึ่งต่อมาคู่ความในคดีดังกล่าวตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ส่วนคดีนี้โจทก์มาฟ้องจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอ้างเหตุผลเดียวกันว่า การออกโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกทับที่ดินของส. เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินพิพาทต่อจาก ส. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอันเป็นการฟ้องอธิบดีกรมที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 แม้ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 รายเดียวกันนั่นเองโจทก์และจำเลยจึงเป็นคู่ความเดียวกันและต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินโดยอ้างว่าโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ออกทับที่ดินของ ส. อีก อันเป็นเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งมีคำวินิจฉัยมาแล้ว จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและการพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ทำงานของจำเลย
สถานที่เกิดเหตุที่จำเลยเข้าไปลักเอาสายไฟฟ้าของโจทก์ร่วมเป็นสำนักงานประปาสงขลา อันเป็นส่วนงานของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมิใช่สถานที่ราชการจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ แต่เมื่อจำเลยลักทรัพย์ดังกล่าวในเวลากลางคืนจึงยังคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคแรก
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแก่โจทก์ร่วมเป็นคำขอในส่วนคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 ซึ่งประเด็นนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแก่โจทก์ร่วมเป็นคำขอในส่วนคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 ซึ่งประเด็นนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสำนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
สำนักงานประปาสงขลาเป็นส่วนงานของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มิใช่สถานที่ราชการ การที่จำเลยเข้าไปลักทรัพย์ในบริเวณสำนักงานดังกล่าวในเวลากลางคืน จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ ราชการคงเป็นความผิดเพียงลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 335(1) วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสถานที่ของรัฐวิสาหกิจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
สถานที่เกิดเหตุอยู่ในสำนักงานประปาสงขลา (เขตจำหน่ายน้ำหาดใหญ่) อันเป็นส่วนงานของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มิใช่สถานที่ราชการ การที่จำเลยเข้าไปลักทรัพย์ในบริเวณสำนักงานประปาสงขลาในเวลากลางคืน จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลคดีเลือกตั้งเป็นที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์/ฎีกาได้ แม้มีข้อผิดพลาดทางกฎหมาย
ผู้ร้องทั้งสี่ใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ มาตรา 57เพื่อขอให้เปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาตรา 58 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ศาลดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้คัดค้าน และเมื่อศาลสั่งอย่างใดแล้วให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านทั้งแปดผู้ได้รับเลือกตั้งยื่นคำคัดค้านแล้วว่าตนได้รับการเลือกตั้งมาโดยชอบและต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนผู้คัดค้านที่ 4และที่ 5 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความหมายของมาตรา 58 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลแล้วคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดทุกกรณีคู่ความไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายฉะนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งแปดอุทธรณ์ในข้อกฎหมายว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 เนื่องจากมิได้วินิจฉัยว่าคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่เคลือบคลุมหรือไม่ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับและวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านทั้งแปดจึงเป็นการไม่ชอบ และเมื่อฎีกาของผู้คัดค้านทั้งแปดต้องห้ามแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาดังกล่าวไว้จึงไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการสุขาภิบาลพ้นตำแหน่งเมื่ออุปสมบท แม้ระยะเวลาสั้น ไม่จำเป็นต้องแก้ไขคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาลขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งกรรมการเพราะไปอุปสมบทเป็นภิกษุ ซึ่งต้องถือว่าประชาชนทุกคนในเขตพื้นที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวมประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหาย ส่วนประธานกรรมการสุขาภิบาลก็เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมาย เมื่อกรรมการสุขาภิบาลคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้ทั้งสองฐานะ
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลพ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กรเพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องเกี่ยวกับฐานะของผู้ร้อง
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติว่า กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้คือเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18(1)(2)(3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์เป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่งจึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทนานเพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลอุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านอุปสมบทโดยได้รับความยินยอมหรือการอุปสมบทของผู้คัดค้านทำให้สุขาภิบาลช่องแคเสียหายหรือไม่
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลพ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กรเพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องเกี่ยวกับฐานะของผู้ร้อง
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติว่า กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้คือเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18(1)(2)(3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์เป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่งจึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทนานเพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลอุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านอุปสมบทโดยได้รับความยินยอมหรือการอุปสมบทของผู้คัดค้านทำให้สุขาภิบาลช่องแคเสียหายหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลเนื่องจากการอุปสมบท และอำนาจในการฟ้องคดี
การที่ผู้ร้องระบุในคำร้องว่าในฐานะส่วนตัวคือในฐานะประชาชนในเขตสุขาภิบาลซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ถือได้ว่าประชาชนทุกคนในเขตพื้นที่นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม ประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหายได้ และในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมายหากกรรมการสุขาภิบาลคนใดพ้นตำแหน่งไปแล้วแต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการสุขาภิบาลมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้เพราะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องได้ทั้งสองฐานะ
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลฯ ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานองค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งการที่จะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลนั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่
พระราชบัญญัติสุขาภิบาลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ มาตรา 21 ห้ามบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิเลือกตั้ง และมาตรา 18 กำหนดห้ามมิให้ภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช ใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมาผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์และกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวจะมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง จึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทของผู้คัดค้านว่าอุปสมบทอยู่นานหรือไม่ เพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลาอุปสมบทได้แต่อย่างใดด้วย
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลฯ ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานองค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งการที่จะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลนั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่
พระราชบัญญัติสุขาภิบาลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ มาตรา 21 ห้ามบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิเลือกตั้ง และมาตรา 18 กำหนดห้ามมิให้ภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช ใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมาผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์และกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวจะมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง จึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทของผู้คัดค้านว่าอุปสมบทอยู่นานหรือไม่ เพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลาอุปสมบทได้แต่อย่างใดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลเนื่องจากการอุปสมบท และอำนาจการฟ้องคดีของประชาชนและประธานสุขาภิบาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งว่าผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลทั้งในฐานะส่วนตัวเนื่องจาก ผู้ร้องเป็นประชาชนในเขตสุขาภิบาลดังกล่าวซึ่งต้องถือว่าประชาชนทุกคนในพื้นที่นี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม ประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหาย และในฐานะเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลนั้นก็เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมาย เมื่อกรรมการสุขาภิบาลคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้ เพราะเป็นผู้รับผิดชอบอยู่โดยตรง ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องได้ทั้งสองฐานะ
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องให้ตรงกับสถานะของผู้คัดค้านที่เปลี่ยนไปเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
พ.ร.บ. สุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติไว้ชัดเจนว่ากรรมการสุขาภิบาล?พ้นจากตำแหน่งเมื่อ?(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21 บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ คือ?(8) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18 (1) (2) (3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ? (3) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนว่าเป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้ แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทของผู้คัดค้านสำเร็จบริบรูณ์ คือตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบทเป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลา
อุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องให้ตรงกับสถานะของผู้คัดค้านที่เปลี่ยนไปเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
พ.ร.บ. สุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติไว้ชัดเจนว่ากรรมการสุขาภิบาล?พ้นจากตำแหน่งเมื่อ?(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21 บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ คือ?(8) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18 (1) (2) (3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ? (3) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนว่าเป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้ แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทของผู้คัดค้านสำเร็จบริบรูณ์ คือตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบทเป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลา
อุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน พิจารณาจากที่ดินที่เหลืออยู่และราคาตลาด
การพิจารณาว่าที่ดินแปลงใดมีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินแปลงนั้นที่มีอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ หาได้มีความหมายเลยไปถึงที่ดินของโจทก์แปลงอื่นที่อยู่ข้างเคียงซึ่งมิได้ถูกเวนคืนด้วยเลยกลายเป็นที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุระเบิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ต้องส่งกำลังดันรุนแรงและมีแรงทำลาย หากไม่มีลักษณะดังกล่าวไม่ถือเป็นวัตถุระเบิด
"วัตถุระเบิด" ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 4(3) จำกัดความได้ 3 กรณีคือ เป็นวัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลัน ในเมื่อระเบิดขึ้นโดยมีสิ่งเหมาะมาทำให้เกิดกำลังดันหรือโดยการสลายตัวของวัตถุระเบิดนั้น แต่ทั้งสองอย่างนี้จะต้องทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหารเกิดขึ้นด้วยและหมายรวมถึงเชื้อประทุต่าง ๆ หรือวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกันซึ่งใช้หรือทำขึ้นเพื่อให้เกิดการระเบิดซึ่งรัฐมนตรีจะได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าน้ำมันเบนซินที่บรรจุอยู่ในขวดเบียร์ ขวดน้ำ และถึงแกลลอนของกลางนั้น เมื่อจุดไฟจากเศษผ้าซึ่งเป็นสายชนวนแล้ว จะทำให้เกิดการระเบิดส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลันหรือไม่ และไม่ได้ความว่ากำลังดันนั้นทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหารอย่างไรแต่กลับได้ความว่าของกลางเป็นระเบิดเพลิงชนิดทำเอง เมื่อจุดให้เกิดปะทุจะทำให้เกิดการไหม้ไฟและลุกไหม้ ซึ่งอานุภาพของระเบิดเพลิงทางสะเก็ดนั้นไม่มี มีแต่ทำให้เกิดเพลิงไหม้มากน้อยแล้วแต่การกระจายของน้ำมันเบนซิน จึงไม่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลัน และไม่มีกำลังดันทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหารลักษณะของวัตถุของกลางก็ไม่ใช่เชื้อประทุหรือวัตถุที่มีสภาพคล้ายคลึงกับเชื้อประทุซึ่งใช้หรือทำขึ้นเพื่อให้เกิดการระเบิด ขวดเบียร์ ขวดน้ำ และถังแกลลอนที่บรรจุน้ำมันเบนซินจึงไม่ถือเป็นวัตถุระเบิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 4(3)