พบผลลัพธ์ทั้งหมด 82 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องที่ชอบธรรม ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับชำระหนี้ แม้หนี้สินน้อยกว่าสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงพยาบาลกับกระทรวงสาธารณสุขแล้วทำสัญญากับธนาคารผู้ร้องโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างเหมาทั้งหมดที่จะได้รับตามสัญญาเป็นเงิน 9 ล้านบาทเศษให้แก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้อง 3 ล้านบาท ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิในเงินดังกล่าว เพราะสิทธิเรียกร้องนั้นย่อมโอนให้แก่กันได้ และกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องมีค่าตอบแทนแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าหนี้สินที่จำเลยมีต่อผู้ร้องจะมากหรือน้อยกว่าสิทธิเรียกร้องที่มี ต่อกระทรวงสาธารณสุข เมื่อจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องโดยชอบ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิ
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิของผู้รับโอนในการถอนอายัดเงิน
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงพยาบาลกับกระทรวงสาธารณสุขแล้วทำสัญญากับธนาคารผู้ร้องโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างเหมาทั้งหมดที่จะได้รับตามสัญญาเป็นเงิน 9 ล้านบาทเศษให้แก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้อง 3 ล้านบาท ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิในเงินดังกล่าว เพราะสิทธิเรียกร้องนั้นย่อมโอนให้แก่กันได้ และกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องมีค่าตอบแทนแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าหนี้สินที่จำเลยมีต่อผู้ร้องจะมากหรือน้อยกว่าสิทธิเรียกร้องที่มี ต่อกระทรวงสาธารณสุข เมื่อจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องโดยชอบ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิ
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะเมื่อมีเจตนาลวงเพื่อนำไปจำนอง โจทก์มีสิทธิเรียกคืนที่ดิน
โจทก์ประสงค์จะจำนองที่พิพาทแต่ถ้าโจทก์จำนองด้วยตนเองจะไม่ได้เงินมากตามจำนวนที่ต้องการ จึงได้ตกลงทำเป็นจดทะเบียนขายฝากที่พิพาทไว้กับจำเลยก่อน แล้วให้จำเลยนำที่ดินไปจำนองบริษัท ท. ซึ่งผู้จัดการเป็นญาติกับจำเลยเอาเงินมาให้โจทก์ ดังนี้ นิติกรรมขายฝากดังกล่าวเป็นเพียงเจตนาลวงเพื่อให้จำเลยนำที่พิพาทไปจำนองเท่านั้นจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118คือไม่มีสัญญาขายฝากต่อกัน ที่พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์มีอำนาจเรียกที่พิพาทคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ จำเลยมีหน้าที่คืนที่พิพาทและโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามเดิม เงินที่โจทก์ได้มาไม่ใช่เงินของจำเลยอันโจทก์จะพึงคืนให้แก่จำเลย แต่เป็นเงินซึ่งโจทก์จะต้องชำระคืนให้แก่ผู้รับจำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรงส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้นย่อมเป็นไปตามมูลหนี้ที่ปรากฏอยู่ในสัญญาจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187-3188/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข แม้จะระบุชื่อสัญญาผิด และประเด็นตัวแทนเชิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากตัวแทนจำหน่ายของจำเลยราคา 68,000 บาท ชำระในวันทำสัญญา 16,000 บาท และผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 2,000 บาทตลอดมา ชำระงวดสุดท้ายแล้ว 40,000บาท เมื่อโจทก์ขอให้แก้ชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ ตัวแทนของจำเลยขอผัดเรื่อยมา จึงขอให้บังคับจำเลยจัดการจดทะเบียนรถยนต์แก้ชื่อเป็นชื่อของโจทก์ ดังนี้ เป็นการฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม โจทก์หาจำต้องแสดงหลักฐานสัญญาเช่าซื้อประกอบข้ออ้างในคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องว่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยโดยมีส. ตัวแทนจำหน่ายของจำเลย ดังนี้ การที่ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยรู้แล้วยอมให้ ส. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดเสมือนว่า ส. เป็นตัวแทนของจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อหาในฟ้องที่ว่า ส. เป็นตัวแทนของจำเลย ไม่เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้อง
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนแก่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทตามสัญญาซึ่งโจทก์เรียกว่าสัญญาเช่าซื้อ แต่เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าสัญญานั้นเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์พิพาทครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญานั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องเรียกชื่อสัญญาดังกล่าวว่าสัญญาเช่าซื้อ หาเป็นข้อสารสำคัญไม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนแก้ชื่อ โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทได้
โจทก์ฟ้องว่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยโดยมีส. ตัวแทนจำหน่ายของจำเลย ดังนี้ การที่ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยรู้แล้วยอมให้ ส. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดเสมือนว่า ส. เป็นตัวแทนของจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อหาในฟ้องที่ว่า ส. เป็นตัวแทนของจำเลย ไม่เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้อง
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนแก่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทตามสัญญาซึ่งโจทก์เรียกว่าสัญญาเช่าซื้อ แต่เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าสัญญานั้นเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์พิพาทครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญานั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องเรียกชื่อสัญญาดังกล่าวว่าสัญญาเช่าซื้อ หาเป็นข้อสารสำคัญไม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนแก้ชื่อ โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ผ่านตัวแทนโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ: ผลของการยอมรับตัวแทนโดยปริยายและการชำระหนี้ที่สมบูรณ์
บริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของโจทก์มอบรถยนต์ของโจทก์แก่ส.ไปขายต่างจังหวัด.จำเลยซื้อรถยนต์จากส. โดยจำเลยลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญา ไปให้โจทก์กรอกข้อความส่งคืนมา ทำอยู่ 1 ปี ขายรถยนต์ไปกว่า 100 คัน โดยโจทก์ไม่ทักท้วงจน ส. หลบหนีไป เป็นการยอมให้ ส.เชิดออกเป็นตัวแทนของโจทก์ จำเลยชำระราคารถยนต์แก่ ส.ถือว่าชำระแก่ผู้มีอำนาจรับชำระ อยู่ในความหมายของคำว่าชำระหนี้แก่เจ้าของรถยนต์ ไม่ถือเป็นการฝากส่งเงินแก่โจทก์ตามที่ระบุในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้: เงินที่รับชำระเป็นของเจ้าหนี้ ไม่ใช่ของตัวแทนหรือผู้ชำระ
เงิน 10,000 บาทที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนบริษัท ย. เป็นค่าเช่าซื้อรถไถนาที่โจทก์เช่าซื้อจากบริษัท ย. จำเลยยังไม่ส่งมอบให้บริษัท จนเป็นเหตุให้บริษัทบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ยึดรถไถนาคืนและฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงิน 10,000 บาทคืนจากจำเลย เพราะจำเลยรับเงินจำนวนนี้ไว้แทน และจะต้องส่งเงินให้แก่บริษัท เงินที่จำเลยรับไว้จากโจทก์จึงเป็นการรับชำระหนี้ไว้โดยชอบในฐานะตัวแทนและเป็นของบริษัท ไม่ใช่ของโจทก์หรือของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ เงินเป็นของบริษัทยนตรภัณฑ์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนจากตัวแทน
เงิน 10,000 บาทที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนบริษัท ย. เป็นค่าเช่าซื้อรถไถนาที่โจทก์เช่าซื้อจากบริษัทย. จำเลยยังไม่ส่งมอบให้บริษัทจนเป็นเหตุให้บริษัทบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ยึดรถไถนาคืนและฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงิน 10,000 บาทคืนจากจำเลย เพราะจำเลยรับเงินจำนวนนี้ไว้แทน และจะต้องส่งเงินให้แก่บริษัท เงินที่จำเลยรับไว้จากโจทก์จึงเป็นการชำระหนี้ไว้โดยชอบในฐานะตัวแทนและเป็นของบริษัท ไม่ใช่ของโจทก์หรือของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อบุคคลภายนอก: หลักสันนิษฐาน & การพิสูจน์ความสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้นต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่าเมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่า จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่า จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
(วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเรื่องการทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และการชำระหนี้โดยสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1) บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบ ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินชำระหนี้ที่ไม่ใช่ใบรับตามประมวลรัษฎากร ใช้เป็นหลักฐานการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้
เอกสารที่มีข้อความว่า "วันนี้ ข้าพเจ้านายสำราญ พานิชย์ ตัวแทนของนายยักโม ฮัลซิงห์ ได้รับชำระหนี้จากนายชัยยุทธ วงษ์เมธา ลูกหนี้ของนายยักโม ฮัลซิงห์ตามสัญญากู้ลงวันที่ 1 มกราคม 2506เป็นเงิน 14,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยครบถ้วนแล้ว และข้าพเจ้าจะได้นำเงินทั้งหมดนี้ไปชำระให้นายยักโม ฮัลซิงห์ เจ้าหนี้ต่อไปจึงได้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน" นั้น เป็นหลักฐานแสดงถึงฐานะของนายสำราญตัวแทนโจทก์ในอันที่จะรับชำระหนี้จากลูกหนี้เป็นหลักฐานแสดงว่าตัวแทนได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้แทนตัวการแล้วและเป็นหลักฐานแสดงว่าตัวแทนจะเอาเงินดังกล่าวไปส่งแก่ตัวการต่อไป เช่นนี้ ไม่เป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร แต่เป็นหลักฐานการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2515)