คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พลประสิทธิ์ ฤทธิ์รักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้ตามเกณฑ์สิทธิสำหรับธุรกิจก่อสร้าง และการงดเบี้ยปรับ
คำสั่งของกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้อ 2 และข้อ 4.4 หมายความว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นให้ถือว่ารายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้ถือว่าเป็นรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และงานที่ทำเสร็จในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้จะยังไม่ได้รับเงินก็ต้องนำเอางานที่ทำเสร็จนั้นมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย ค่ารับเหมาก่อสร้างจำนวน 2,707,215.10บาท เป็นเงินที่ผู้ว่าจ้างจ่ายให้โจทก์ล่วงหน้าโดยจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 รายได้รับล่วงหน้าดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้มีผลงานให้แก่ผู้ว่าจ้าง ก็ยังไม่ถือเป็นรายได้ของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532โจทก์จึงไม่ต้องนำค่าจ้างรับล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532
ประมวลรัษฎากรให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นเพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้นหาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ ดังนั้น หากศาลเห็นว่าผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลดหรืองดเบี้ยปรับนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิกรณีเงินรับล่วงหน้า และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
คำสั่งของกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ข้อ 2 และข้อ 4.4 หมายความว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นให้ถือว่ารายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้ถือว่าเป็นรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และงานที่ทำเสร็จในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้จะยังไม่ได้รับเงินก็ต้องนำเอางานที่ทำเสร็จนั้นมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย ค่ารับเหมาก่อสร้างจำนวน 2,707,215.10 บาท เป็นเงินที่ผู้ว่าจ้างจ่ายให้โจทก์ล่วงหน้าโดยจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 รายได้รับล่วงหน้าดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้มีผลงานให้แก่ ผู้ว่าจ้าง ก็ยังไม่ถือเป็นรายได้ของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์จึงไม่ต้องนำค่าจ้างรับล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532
ประมวลรัษฎากรให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ แต่ระเบียบ ดังกล่าวเป็นเพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้น หาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้อง ถือตามไม่ ดังนั้น หากศาลเห็นว่าผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือ เสียเบี้ยปรับน้อยลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลดหรืองดเบี้ยปรับนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันทำร้ายจนถึงแก่ความตาย: เจตนาฆ่าและความรับผิดทางอาญา
จำเลยกับพวกช่วยกันถีบผู้ตายกับผู้เสียหายที่ 1ตกจากรถยนต์โดยสารขณะที่กำลังแล่นด้วยความเร็วประมาณ60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้ตายอาจไปกระแทกผู้เสียหายที่ 2 ที่ยืนอยู่ตรงบันไดตกจากรถไปด้วยกันและศีรษะกับลำตัวของผู้ตายหรือของผู้เสียหายทั้งสองอาจกระแทกกับพื้นถนนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสองตกจากรถทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการถีบผู้โดยสารตกจากรถ ความรับผิดทางอาญาต่อการกระทำที่เล็งเห็นผลถึงชีวิต
จำเลยเข้าร่วมทำร้ายผู้ตายกับผู้เสียหายที่ 1 การที่จำเลยกับพวกช่วยกันถีบผู้ตายกับผู้เสียหายที่ 1 ตกจากรถยนต์โดยสารขณะที่รถยนต์นั้นกำลังแล่นด้วยความเร็วประมาณ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้ตายอาจไปกระแทกผู้เสียหายที่ 2 ที่ยืนอยู่ตรงบันไดตกจากรถไปด้วยกันได้และศีรษะกับลำตัวของผู้ตายหรือของผู้เสียหายทั้งสองอาจกระแทกกับพื้นถนนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังปรากฏว่าผู้ตายมีเลือดออกในผนังหัวใจ ในปอดและกระบังลม เนื้อสมองบวมทั้งสมองอันเกิดจากแรงภายนอกกระทำต่อศีรษะและหน้าอกของผู้ตายอย่างรุนแรงอันถือได้ว่าเป็นผลธรรมดาจากการกระทำของจำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดพยายามจำหน่ายยาเสพติดตามกฎหมายพิเศษ โจทก์ต้องขอท้ายฟ้อง
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานพยายามต้องระวางโทษเท่ากับความผิดสำเร็จ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะทำให้จำเลยต้องรับโทษสูงขึ้นกว่าการกระทำความผิดขั้นพยายามทั่ว ๆ ไป เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 7 ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษหนักขึ้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดพยายามจำหน่ายยาเสพติดตามกฎหมายพิเศษ โจทก์ต้องขอท้ายฟ้องชัดเจน
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดโทษให้ผู้กระทำความผิดฐานพยายามต้องระวางโทษเท่ากับความผิดสำเร็จบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะทำให้จำเลยต้องรับโทษสูงขึ้นกว่าการกระทำความผิดขั้นพยายามทั่ว ๆ ไป ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 7ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ จึงนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีใหม่หลังศาลจำหน่ายคดีเดิมเนื่องจากไม่มีอำนาจ พิจารณาจากวันที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลคดีเดียวกันกับคดีนี้ที่ศาลแพ่งธนบุรีแต่ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539เนื่องจากจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาหรือมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจซึ่งคดีจะครบอายุความภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2539 กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสองโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งศาลแพ่งธนบุรีถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 4 กรกฎาคม 2539 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้แทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีในไทย ผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนหากเรียกจากผู้แทนไม่ได้
บริษัท อ. เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มี พ. เป็นผู้กระทำการแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทยซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย พ. จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
โจทก์ส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. โดย พ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัท อ.ได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยัง พ. เพื่อที่ พ. จะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงมิใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหาก การออกและส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินในลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ. และ พ. โดยชอบแล้ว
โจทก์ได้ติดตามสืบหาทรัพย์สินของบริษัท อ. และ พ. แต่ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึด นอกจากนี้โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้ พ. ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท อ. นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระ แต่ พ. ไม่ชำระ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ได้พิสูจน์แล้วว่าโจทก์ได้เรียกร้องหนี้ภาษีอากรค้างจาก พ. แล้วแต่เรียกไม่ได้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระเงินภาษีอากรค้างแทน พ. โดยมิต้องเรียกร้องให้ พ. ชำระก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทำการแทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีในไทย ศาลยืนตามคำพิพากษาถึงที่สุด
หมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลของกรมสรรพากรโจทก์ที่แจ้งไปยังบริษัท อ.ซึ่งอยู่ต่างประเทศโดยพ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัทดังกล่าวได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี เพื่อที่บุคคลนั้นจะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ.เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหากถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ.และ พ. โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมลักลอบนำเข้าและขายน้ำมันเถื่อน ศาลฎีกายืนโทษเดิม
จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานร่วมกันขนถ่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 37 ตรี หลังจากที่จำเลยลักลอบนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในเขตต่อเนื่องแล้ว ซึ่งไม่แน่ชัดว่าจำเลยทั้งห้าขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีหรือเจตนาอื่น จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดโดยเจตนาต่างหากจากความผิดฐานอื่นเมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานนี้เป็นความผิดกรรมเดียว ส่วนความผิดฐานร่วมกันนำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังไม่ได้เสียภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 กับความผิดฐานร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขาย ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มิได้เสียภาษีสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติสรรพสามิตฯ มาตรา 162(1) เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต่างพระราชบัญญัติกัน โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งห้าทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตามที่โจทก์ฟ้องให้จำคุกสถานเดียวเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้รอการลงโทษแต่กำหนดโทษปรับอีกสถานหนึ่ง ก็ยังทำให้จำเลยทั้งห้าไม่ต้องรับโทษจำคุกเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ลงโทษเบากว่าศาลชั้นต้น กรณีไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
จำเลยทั้งห้ามีอาชีพรับจ้าง การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นการกระทำตามคำสั่งของนายจ้างเพื่อหาเลี้ยงชีพ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนประกอบกับมีภาระที่จะต้องเลี้ยงดูครอบครัว เห็นควรให้โอกาสจำเลยทั้งห้ากลับตนเป็นพลเมืองดีจึงเห็นพ้องกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้รอการลงโทษจำคุก
of 9