คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พลประสิทธิ์ ฤทธิ์รักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7758/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงขอเงินชดเชยภาษีอากร, การโอนบัตรภาษีโดยไม่ชอบ, ความรับผิดร่วมกันของจำเลยในการชดใช้เงินและดอกเบี้ย
ศาลภาษีอากรกลางอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 24 การนับเวลา ยื่นอุทธรณ์ 1 เดือน ต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 และสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ตามมาตรา 193/5 โจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 28 สิงหาคม 2541 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 มิได้ส่งสินค้าตามใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้า 22 ฉบับ ออกไปนอกราชอาณาจักร แต่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการหลอกลวงโจทก์ โดยยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่อ้างว่าส่งออกตามใบขนสินค้าขาออกฯ ดังกล่าวจนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยในรูปของบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของบัตรภาษีโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่มิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของ บัตรภาษี จำเลยที่ 3 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน จำเลยที่ 3 จึงได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินชดเชย ค่าภาษีอากรที่จ่ายในรูปบัตรภาษีจึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยที่ 3 จะต้องคืนบัตรภาษีให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ต้องชดใช้ราคาแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
จำเลยที่ 3 ให้การว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ขาดอายุความ เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทน โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 แต่ฟ้องคดีวันที่ 5 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึง ขาดอายุความ จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความตามมูลละเมิดหรือไม่เท่านั้น เมื่อคดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ฟังได้ว่าเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ลาภมิควรได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ลาภมิควรได้สำหรับจำเลยที่ 3 ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยที่ 3 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้ง ศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17, 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
ที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า เอกสารชุดคำขอที่โจทก์อ้างส่งเป็นเอกสารที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้รับบัตรภาษีและนำบัตรภาษีของโจทก์ไปใช้แล้วนั้น เป็นคำแก้อุทธรณ์ที่ขัดกับคำให้การของจำเลยที่ 3 จึงเป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินชดเชยค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 รับไปจากโจทก์ จึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยที่ 4 และที่ 5 จะต้องคืนบัตรภาษีให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ต้องชดใช้ราคาตามที่กำหนดไว้ในบัตรภาษีให้แก่โจทก์
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้น และโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็น ผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนบัตรภาษีดังกล่าว หากคืนไม่ได้ก็ต้องชดใช้ราคาและตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดหรือวันที่รับบัตรภาษี
แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ตามพฤติการณ์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จะต้องคืนทรัพย์สินนั้นหรือเวลาที่โจทก์เรียกคืนบัตรภาษีเพราะมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นมูลหนี้ลาภมิควรได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้รับหนังสือแจ้งจากโจทก์ให้คืนบัตรภาษีเมื่อใด ถือว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 คืนบัตรภาษีนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7722/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์: การร่วมกระทำผิดกับผู้อื่น และขอบเขตความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง
แม้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ลักมาจะเป็นเงินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงเครื่องชั่งเพื่อโกงน้ำหนัก และการใช้เครื่องชั่งที่ผิดกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษากลับ
จำเลยซึ่งเป็นพ่อค้าซื้อขายข้าวเปลือกต้องรู้เรื่องเครื่องชั่งเป็นอย่างดีการที่จำเลยนำเครื่องชั่งของกลางไปซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ซึ่งเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขดัดแปลงโดยถอดนอตเดิมออกแล้วใช้นอตอื่นใส่แทนในลักษณะหลวมเป็นผลให้ผู้ซื้อจะได้สินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่าที่เครื่องชั่งแสดง เชื่อว่าจำเลยมีเจตนาดัดแปลงแก้ไขเครื่องชั่งของกลางเพื่อเอาเปรียบในทางการค้า
ระหว่างการพิจารณาของศาลมี พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดพ.ศ. 2542 ใช้บังคับให้ยกเลิก พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด เดิมทุกฉบับตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติความผิดฐานกระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงไว้ในมาตรา 75 และการใช้เครื่องชั่งโดยรู้ว่าเป็นเครื่องชั่งที่ถูกแก้เปลี่ยนไว้ในมาตรา 76 และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 32 วรรคหนึ่งและวรรคสองตามลำดับ จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องไว้ แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มิได้บัญญัติความผิดในการมีเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดดังกล่าวให้เป็นความผิดไว้โดยเฉพาะ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31เท่านั้น ดังนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542จะบัญญัติให้การมีเครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้ตรวจสอบความเที่ยงเป็นความผิดตามมาตรา 76 ก็ตามก็ไม่อาจลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466มาตรา 31 นั้น ได้มีพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 บัญญัติความผิดฐานมีเครื่องชั่งโดยรู้ว่าเครื่องชั่งนั้นมีความเที่ยงผิดอัตราไว้ในมาตรา 79และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามมาตรา 31 จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลยในความผิดเกี่ยวกับเครื่องชั่งตวงวัด และการพิจารณาโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 มาตรา 79 ซึ่งแก้ไขใหม่ มีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามกฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้อง แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 มาตรา 76 ซึ่งแก้ไขใหม่ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 อันเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ขณะจำเลยกระทำความผิดมิได้บัญญัติไว้เป็นความผิด จำเลยจึงคงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลย ตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31 เท่านั้น ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7663/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยการพิเศษถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง: การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์
แม้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา 27บัญญัติให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)ที่จะเสนอก.อ.ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน ก.อ.รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อก.อ. ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 การจัดทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอที่ประชุมก.อ. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย
อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรอง
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนางด. กับนายป. ผู้ตาย ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และผู้ตายก็ไม่ได้จดทะเบียนรับรองว่าโจทก์เป็นบุตรนายป. เพียงแต่ให้ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 เท่านั้นเมื่อนายป. ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้นาย ป. ถึงแก่ความตาย กรณีดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ในเรื่องครอบครัวได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรอง
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนาง ด. กับนาย ป. ผู้ตายซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และผู้ตายก็ไม่ได้จดทะเบียนรับรองว่าโจทก์เป็นบุตรนาย ป. เพียงแต่ให้ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลทำให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629เท่านั้น เมื่อนาย ป. ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลย ผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้นาย ป. ถึงแก่ความตายกรณีดังกล่าว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ในเรื่องครอบครัวก็ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรอง
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนาง ด.กับนาย ป.ผู้ตาย ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และผู้ตายก็ไม่ได้จดทะเบียนรับรองว่าโจทก์เป็นบุตร นาย ป.เพียงแต่ให้ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และตามป.พ.พ. มาตรา 1564 บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลทำให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 เท่านั้น เมื่อนาย ป.ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลย ผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้นาย ป.ถึงแก่ความตาย กรณีดังกล่าว ป.พ.พ.บรรพ 5 ในเรื่องครอบครัวก็ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 4มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่? การแบ่งมรดกหลังบังคับคดี และสิทธิเจ้าของรวม: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นใหม่
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกที่ดินของ อ. ขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การต่อสู้คดี ต่อมาศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง และมีการบังคับคดีโดยใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ทั้งสองมาฟ้องขอให้แบ่งที่ดินแก่โจทก์ในฐานะเจ้าของรวม ซึ่งแม้การฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจะเป็นการฟ้องเกี่ยวเนื่องกับที่ดินแปลงเดียวกัน แต่ข้อที่ว่าเมื่อมีการแบ่งที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมแล้วโจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิเรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทอย่างไรหรือไม่ยังไม่มีคำวินิจฉัย ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้เกิดขึ้นใหม่หลังจากดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีเดิมเสร็จแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ และไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ทั้งสองชอบจะไปใช้สิทธิขอบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6813/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันขายเมทแอมเฟตามีน แม้ไม่ได้เจรจาโดยตรง แต่มีส่วนรู้เห็นและหลบหนีถือเป็นตัวการ
เจ้าพนักงานตำรวจผู้ล่อซื้อได้เจรจาซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับจำเลยที่ 1 เสร็จเรียบร้อยโดยตกลงซื้อจำนวน 1,000 เม็ด และได้รับมอบห่อเมทแอมเฟตามีนมาแล้วโดยตกลงไปจ่ายเงินกันที่ปั๊มน้ำมันที่กำหนดซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ ศ. ไปรับเงินแทนถือเป็นการตกลงซื้อขายและส่งมอบเมทแอมเฟตามีนอันเป็นการขายตามคำนิยามศัพท์ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ แล้ว หาใช่เป็นการตระเตรียมการหรือกำลังจะซื้อขายเท่านั้น ส่วนการชำระเงินหาใช้ข้อสำคัญไม่
การที่จำเลยที่ 2 มาพร้อมกับจำเลยที่ 1 โดยนำเมทแอมเฟตามีนมาด้วยและร่วมวงเจรจาซื้อขายกัน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนในการติดต่อรวบรวมซื้อขายร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม จำเลยที่ 2 ก็ได้วิ่งหลบหนีไปจากที่เกิดเหตุ ในชั้นจับกุมจำเลยที่ 2 ก็ให้การรับสารภาพพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะเป็นตัวการแบ่งหน้าที่กันทำ
of 9