พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสมณเพศโดยเจ้าพนักงานตำรวจและการขาดเจตนาในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 29 การสละสมณเพศเพราะถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญามีได้ 3 กรณี คือ เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุมพนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้กรณีหนึ่งหรือเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้กรณีหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและพระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัด พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้อีกกรณีหนึ่ง ในคดีก่อนที่จำเลยถูกจับกุมในข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้ในครอบครอง พนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และพาจำเลยไปที่วัด บ. เพื่อให้จำเลยสึกแต่จำเลยไม่ยอมสึก และเจ้าอาวาสวัด บ. ก็ไม่ยอมสึกให้ พนักงานสอบสวนจึงพาจำเลยกลับไปที่สถานีตำรวจและจัดให้จำเลยลาสิกขาบทต่อหน้าพระพุทธรูปที่อยู่บนสถานีตำรวจ ดังนี้ จำเลยย่อมเข้าใจได้ว่าจำเลยยังไม่ขาดจากความเป็นพระภิกษุเนื่องจากจำเลยไม่สมัครใจลาสิกขาบทและการดำเนินการให้จำเลยสละสมณเพศกระทำโดยพลการของเจ้าพนักงานตำรวจ เมื่อจำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อพ้นจากการคุมขังโดยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6489/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยทำเอกสารปลอมทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้ โจทก์ฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหายได้
การที่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บค่าภาษีอากรเนื่องมาจากโจทก์หลงเชื่อว่าบริษัท ส. จำกัด ได้ส่งผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด ตามเอกสารที่จำเลยเป็นผู้ทำปลอมและเท็จขึ้น แม้ต่อมาโจทก์ตรวจสอบพบว่าบริษัทดังกล่าวปฏิบัติผิดเงื่อนไข เป็นผลให้โจทก์สามารถเรียกเก็บภาษีอากรจากบริษัทดังกล่าวได้หรือสิทธิในการเรียกเก็บภาษีอากรของโจทก์จากบริษัทดังกล่าวยังมิได้หมดสิ้นไป แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์แจ้งให้บริษัทดังกล่าวนำเงินค่าภาษีอากรมาชำระ แต่บริษัทดังกล่าวเพิกเฉยซึ่งจำเลยก็ไม่นำสืบให้เห็นได้ว่าโจทก์สามารถเรียกเก็บภาษีจากบริษัทดังกล่าวหรือจากธนาคารที่ออกหนังสือค้ำประกันแทนการชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวได้ การที่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีอากรดังกล่าวได้จึงมีผลมาจากการกระทำโดยจงใจของจำเลยโดยตรงที่กระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายและทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6489/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร โจทก์เสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย
จำเลยทำเอกสารปลอมและเท็จขึ้น ซึ่งสำเนาใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าฉบับมุมน้ำเงินทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าบริษัท ส. ได้ส่งผลิตภัณฑ์ผ้าลายปักฉลุหรือผ้าผืนปักลายฉลุที่ผลิตได้จากผ้าผืนออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด ถ้าหากจำเลยไม่กระทำเช่นนั้นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนย่อมสามารถเรียกเก็บอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีส่วนท้องถิ่น สำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาจากต่างประเทศได้เมื่อครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า การที่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีอากรจากบริษัทและธนาคารที่ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าว มีผลมาจากการกระทำโดยจงใจของจำเลยโดยตรงที่กระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายแก่สิทธิในการจัดเก็บภาษีจากบริษัทและธนาคารที่ออกหนังสือค้ำประกันและต้องจ่ายเงินค่าชดเชยค่าภาษีให้แก่บริษัทดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าภาษีอากรที่โจทก์ไม่สามารถจะเรียกเก็บได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยเจตนาและการอ้างเหตุบันดาลโทสะ จำเลยต้องพิสูจน์การข่มเหงร้ายแรงของผู้ตาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่าจำเลยกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะเพราะผู้ตายกล่าววาจาด่าและไล่จำเลย ดังนี้ เมื่อตามฎีกาของจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ตายด่าว่าจำเลยด้วยถ้อยคำอย่างไร หรือผู้ตายมีพฤติการณ์ในการขับไล่จำเลยอันจะแสดงให้เห็นว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงอย่างไร ทั้งจำเลยก็ไม่สืบพยานลำพังข้อเท็จจริงเพียงที่ได้ความจากฎีกาของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าผู้ตายข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันจะเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าพิสูจน์หลักฐานและการยกฟ้องตามข้อตกลง การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นเป็นเหตุต้องห้าม
โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นส่งหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าลายมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และลายพิมพ์นิ้วมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ หากผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองยอมแพ้คดี แต่ถ้าหากไม่ใช่จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ลงความเห็นว่าลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จริง ครบเงื่อนไขตามคำท้า ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์โดยอ้างว่าคำท้าดังกล่าวขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพราะลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ขายในหนังสือสัญญาขายที่ดินไม่ชัดเจน ไม่สามารถตรวจสอบได้ เป็นลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกอุทธรณ์โดยอ้างว่าข้ออ้างตามอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันไร้สาระ จึงไม่รับวินิจฉัย แต่ในส่วนคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งว่าการท้ากันไม่ขัดต่อกฎหมายจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เช่นเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าพิสูจน์ลายมือชื่อ-พิมพ์นิ้วมือในสัญญาซื้อขายที่ดิน และการอุทธรณ์เรื่องข้อเท็จจริงที่ไม่เคยว่ากันในศาล
โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นส่งหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ว่าลายมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และลายพิมพ์นิ้วมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ หากผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองยอมแพ้คดี แต่ถ้าหากไม่ใช่จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ลงความเห็นว่าลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2จริง ครบเงื่อนไขตามคำท้า ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์โดยอ้างว่าคำท้าดังกล่าวขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพราะลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ขายในหนังสือสัญญาขายที่ดินไม่ชัดเจน ไม่สามารถตรวจสอบได้ เป็นลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกอุทธรณ์โดยอ้างว่าข้ออ้างตามอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันไร้สาระ จึงไม่รับวินิจฉัย แต่ในส่วนคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งว่าการท้ากันไม่ขัดต่อกฎหมายจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เช่นเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดตามทรัพย์สินคืนจากข้าราชการที่เบิกจ่ายเงินโดยมิชอบ ไม่ถือเป็นการละเมิด และไม่ขาดอายุความ
จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์ทำเอกสารเท็จเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยมิชอบต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ การที่โจทก์ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาทรัพย์ของตนคืน มิใช่เป็น การละเมิดที่จำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ขึ้นมาบอกปัดการชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: การตรวจสอบทรัพย์สินโดยเลขาธิการในกรณีเร่งด่วนชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 18, 19, 21, 22, 23
แม้การดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจะต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการที่กรรมการแต่งตั้งก็ตาม แต่การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านในคดีนี้ เลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้ออกคำสั่งให้ตรวจสอบทรัพย์สินและมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ด้วยเหตุมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบทรัพย์สิน ยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านและทำบันทึกการพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สิน ตลอดจนมีความเห็นขอให้คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพิจารณาวินิจฉัย เพื่อมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน กับคณะอนุกรรมการประจำคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้มีมติเห็นชอบตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอ ต่อมาคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินได้มีคำวินิจฉัยว่าทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดกับมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน ทั้งได้ส่งคำวินิจฉัยและขอให้พนักงานอัยการได้พิจารณายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินแล้ว ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งและตามที่ได้รับมอบหมาย จากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบแม้การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านจะไม่ปรากฏรายชื่อของคณะอนุกรรมการหรือความเห็นของคณะอนุกรรมการหรือผู้ร้องมิได้นำคณะอนุกรรมการมาเบิกความยืนยันว่าการตรวจสอบทรัพย์สินดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินแต่งตั้งก็ตาม ก็หาทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายต้องเสียไปไม่ ผู้ร้องมีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินตามคำร้องได้
แม้การดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจะต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการที่กรรมการแต่งตั้งก็ตาม แต่การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านในคดีนี้ เลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้ออกคำสั่งให้ตรวจสอบทรัพย์สินและมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ด้วยเหตุมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบทรัพย์สิน ยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านและทำบันทึกการพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สิน ตลอดจนมีความเห็นขอให้คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพิจารณาวินิจฉัย เพื่อมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน กับคณะอนุกรรมการประจำคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้มีมติเห็นชอบตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอ ต่อมาคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินได้มีคำวินิจฉัยว่าทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดกับมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน ทั้งได้ส่งคำวินิจฉัยและขอให้พนักงานอัยการได้พิจารณายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินแล้ว ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งและตามที่ได้รับมอบหมาย จากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบแม้การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านจะไม่ปรากฏรายชื่อของคณะอนุกรรมการหรือความเห็นของคณะอนุกรรมการหรือผู้ร้องมิได้นำคณะอนุกรรมการมาเบิกความยืนยันว่าการตรวจสอบทรัพย์สินดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินแต่งตั้งก็ตาม ก็หาทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายต้องเสียไปไม่ ผู้ร้องมีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้ายต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่มีการประเมินที่ถูกต้อง
ในกรณีที่เจ้าของป้ายเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้าย มาตรา 14 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 บังคับให้เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ เมื่อจำเลยแก้ไขข้อความในป้ายแล้วมิได้ยื่นแบบดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องประเมินภาษีป้ายเช่นเดียวกับกรณีปกติและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตาม พ.ร.บ.ป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 17 ประกอบด้วยมาตรา 29 แต่การประเมินในกรณีที่เจ้าของป้ายเดิมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้นอีกในปีเดียวกันนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง มีความชัดเจนในการดำเนินงาน นับแต่ตรวจสอบ คิดคำนวณภาษีและทำการประเมิน แม้จะกระทำเป็นการภายในก็ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอตามลำดับขั้นตอนจนถึงขั้นแจ้งการประเมินให้จำเลยทราบ เพราะหากเจ้าของป้ายเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะขอตรวจดูเอกสารหลักฐานดังกล่าวได้
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีป้ายตามกฎหมาย แต่ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีป้ายของโจทก์ที่กระทำต่อจำเลยในกรณีที่ตรวจพบว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมซึ่งจำเลยได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้ว อันจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียภาษีป้ายอีกในป้ายเดียวกัน กลับไม่มีรายละเอียดแสดงขั้นตอนนับแต่ บ. ตรวจสอบพบว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมว่าเหตุใดจึงตรวจพบไม่มีรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือขออนุมัติไปตรวจสอบและเมื่อตรวจสอบแล้วก็หามีรายงานเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับผลการตรวจสอบดังกล่าวไม่ เป็นการผิดปกติวิสัยของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ประเมินภาษีป้ายของจำเลยสำหรับกรณีที่จำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือแจ้งการประเมินอันเป็นการข้ามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ส่งหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.ป. 3) ไปยังจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้มีการประเมินให้จำเลยเสียภาษีป้าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียภาษีป้าย แม้ว่าจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องหาได้ไม่ เพราะขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 205 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาจากพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมานั้นแล้ววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ทำการประเมินภาษีป้ายและแจ้งการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีที่จำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นจึงชอบแล้ว และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้ทำการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระภาษีป้ายส่วนที่จำเลยได้เปลี่ยนแปลง
แก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นได้
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีป้ายตามกฎหมาย แต่ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีป้ายของโจทก์ที่กระทำต่อจำเลยในกรณีที่ตรวจพบว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมซึ่งจำเลยได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้ว อันจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียภาษีป้ายอีกในป้ายเดียวกัน กลับไม่มีรายละเอียดแสดงขั้นตอนนับแต่ บ. ตรวจสอบพบว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมว่าเหตุใดจึงตรวจพบไม่มีรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือขออนุมัติไปตรวจสอบและเมื่อตรวจสอบแล้วก็หามีรายงานเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับผลการตรวจสอบดังกล่าวไม่ เป็นการผิดปกติวิสัยของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ประเมินภาษีป้ายของจำเลยสำหรับกรณีที่จำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือแจ้งการประเมินอันเป็นการข้ามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ส่งหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.ป. 3) ไปยังจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้มีการประเมินให้จำเลยเสียภาษีป้าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียภาษีป้าย แม้ว่าจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องหาได้ไม่ เพราะขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 205 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาจากพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมานั้นแล้ววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ทำการประเมินภาษีป้ายและแจ้งการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีที่จำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นจึงชอบแล้ว และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้ทำการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระภาษีป้ายส่วนที่จำเลยได้เปลี่ยนแปลง
แก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้ายต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากมิได้ประเมินภาษี
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีป้ายตามกฎหมายแต่ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีป้ายของโจทก์ที่กระทำต่อจำเลยในกรณีที่ ตรวจพบว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมซึ่งจำเลยได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้วอันจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียภาษีป้ายอีกในป้ายเดียวกัน กลับไม่มี รายละเอียดแสดงขั้นตอนนับแต่ บ. ตรวจสอบพบว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลง แก้ไขป้ายเดิมว่าเหตุใดจึงตรวจพบ ไม่มีรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ขออนุมัติไปตรวจสอบและเมื่อตรวจสอบแล้วก็หามีรายงานเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับผลการตรวจสอบดังกล่าวนี้ไม่เป็นการผิดปกติวิสัยของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดเก็บภาษีป้ายในกรณีที่ผู้เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 14 วรรคสองแห่ง พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้าย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 9 บังคับให้เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ แต่จำเลยมิได้ยื่นแบบดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องประเมินภาษีป้ายเช่นเดียวกับกรณีปกติและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือให้เจ้าของป้ายทราบตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 17 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ประกอบด้วยมาตรา 29 เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ประเมินภาษีป้ายของจำเลยสำหรับกรณีที่ จำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ย่อม ไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือแจ้งการประเมินอันเป็นการข้ามขั้นตอน ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ ส่งหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3) ไปยังจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้มีการประเมิน ให้จำเลยเสียภาษีป้าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียภาษีป้าย แม้ว่า จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับ ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องหาได้ไม่ เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 การที่ศาลภาษีอากรพิจารณาจากพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมานั้นแล้ว วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ทำการ ประเมินภาษีป้ายและแจ้งการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีที่จำเลย เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นจึงชอบแล้ว และเมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้ทำการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระภาษีป้ายส่วนที่จำเลย ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นได้