พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญากู้ยืมเงินกรณีคณะกรรมการไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และการคิดดอกเบี้ยเมื่อไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือ สัญญากู้ยืม เงิน ระบุ คณะกรรมการ กองทุน ผู้บริหาร สำนักงาน การ ประถม ศึกษา อำเภอ เป็น ผู้กู้ โดย มี จำเลย เป็น ผู้ลงนาม ใน ฐานะ ประธาน คณะกรรมการ แต่เมื่อ คณะกรรมการ ไม่มี ฐานะ เป็น นิติบุคคล ที่ จะ สามารถ รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ บุคคลภายนอก สำหรับ กิจการ ที่ จำเลย กระทำ ไป ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 จึง ถือไม่ได้ว่า จำเลย เข้า ทำ สัญญา แทน ตัวการ ที่ มี ตัว อยู่ จริง ดังนั้น จำเลย จึง ต้อง รับผิด ตาม สัญญากู้ยืม เงิน ตาม ลำพัง สัญญากู้ยืม เงิน ไม่ได้ กำหนด อัตรา ดอกเบี้ย ไว้ เพียงแต่ กำหนด ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ทุกวัน สิ้นเดือน โจทก์ จึง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ใน ระหว่าง ผิดนัด อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ อัตรา ร้อยละ 2 บาท ต่อ เดือน ก็ เป็น การ ชำระ ดอกเบี้ย ตาม อำเภอ ใจ โดย รู้ อยู่ ว่า ตน ไม่มี ความผูกพัน ที่ จะ ต้อง ชำระ จำเลย หา มีสิทธิ จะ ได้รับ ดอกเบี้ย ที่ ชำระ ไป แล้ว คืน ไม่ อย่างไร ก็ ตาม เนื่องจาก สัญญากู้ยืม เงิน มิได้ กำหนด เวลา ให้ จำเลย ใช้ คืนเงิน ที่ กู้ยืม และ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ บอกกล่าว แก่ จำเลย ให้ คืนเงิน ดังกล่าว ภายใน เวลา อันควร ตาม มาตรา 652 จึง ไม่อาจ ถือว่า วันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่ง เป็น วัน หลังจาก วันที่ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย สำหรับ เดือน สุดท้าย ให้ แก่ โจทก์ เป็น วันที่ จำเลย ผิดนัด ต้อง ถือว่า จำเลย ผิดนัด และ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1759/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญากู้ยืมเงินเมื่อผู้ลงนามไม่ใช่ตัวการ และการคิดดอกเบี้ยเมื่อไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเป็นผู้กู้โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานคณะกรรมการ แต่เมื่อคณะกรรมการไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่จะสามารถรับผิดต่อโจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกสำหรับกิจการที่จำเลยกระทำไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 820 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าทำสัญญาแทนตัวการที่มีตัวอยู่จริง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินตามลำพัง
สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 บาทต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรตามมาตรา 652จึงไม่อาจถือว่าวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์ เป็นวันที่จำเลยผิดนัด ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 บาทต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรตามมาตรา 652จึงไม่อาจถือว่าวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์ เป็นวันที่จำเลยผิดนัด ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1759/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ไม่มีฐานะนิติบุคคลผู้กู้ และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตาซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ในนามคณะกรรมการกองทุนดังกล่าว แม้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจะระบุคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตาเป็นผู้กู้โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุน แต่เมื่อคณะกรรมการกองทุนดังกล่าวไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จะสามารถรับผิดต่อโจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกสำหรับกิจการที่จำเลยกระทำไปตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 820 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าทำสัญญาแทนตัวการที่มีตัวอยู่จริง จำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามลำพัง
การที่สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินแก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 แม้ว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงินกันแล้วจำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไปไม่ แต่เมื่อสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรที่กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 652 จึงไม่อาจถือว่าวันหลังจากที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์เป็นวันที่จำเลยผิดนัด แต่ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
การที่สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินแก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 แม้ว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงินกันแล้วจำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไปไม่ แต่เมื่อสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรที่กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 652 จึงไม่อาจถือว่าวันหลังจากที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์เป็นวันที่จำเลยผิดนัด แต่ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม: การไม่ใช้สิทธิขออัตรา 7% ทำให้ต้องเสียภาษีอัตรา 9% และคำแถลงก่อนศาลตัดสินไม่กระทบต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ยื่นคำแถลงก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาอ้างเพียงว่า พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ของจำเลยที่ 1 เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราสูงสุดเท่านั้น โดยมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใด เพราะเหตุใด ประกอบกับท้ายคำแถลงดังกล่าวโจทก์มีคำขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำขอท้ายฟ้อง แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นคำแถลงดังกล่าวในลักษณะของแถลงการณ์ปิดคดีเพื่อให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำฟ้องเท่านั้น คำแถลงดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบด้วยมาตรา 264 ที่ศาลจะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่ออกตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่ออกตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อคำแถลงไม่ชัดเจน
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์อ้างเพียงว่า พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 309 ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรของจำเลย เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่สูงสุดเท่านั้น โดยโจทก์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุน ประกอบกับท้ายคำแถลงดังกล่าวโจทก์มีคำขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำขอท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นคำแถลงดังกล่าวก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาในลักษณะของการแถลงการณ์ปิดคดี เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำฟ้องเท่านั้น คำแถลงของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯมาตรา 6 ประกอบด้วยมาตรา 264 ที่ศาลชั้นต้นจะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นยกคำแถลงแล้วพิจารณาคดีต่อไปจึงชอบแล้ว และเมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรฉบับที่ 309 ฯ ตามการประเมินของเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8327/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากค่าวัสดุอุปกรณ์ได้รับการยกเว้นภาษีตามสนธิสัญญาฯ การประเมินภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรไม่ชอบ
สัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย คู่สัญญามีเจตนาแยกเป็นสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์และสัญญาจ้างทำของ ในส่วนสัญญาซื้อขายถือไม่ได้ว่าเกิดจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย เมื่อขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีสถานประกอบการถาวรตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น รายได้จากค่าวัสดุอุปกรณ์โจทก์จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฯ โจทก์จึงไม่ต้องนำรายได้ค่าวัสดุอุปกรณ์ในปี 2532 และปี 2533 มาเป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 และปี 2533 ตามลำดับ
รายได้ค่าวัสดุอุปกรณ์โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และจำเลยไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการจำหน่ายเงินกำไรส่วนอื่นออกไปจากประเทศไทย การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว จึงไม่ชอบ
รายได้ค่าวัสดุอุปกรณ์โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และจำเลยไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการจำหน่ายเงินกำไรส่วนอื่นออกไปจากประเทศไทย การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล และการชำระหนี้สินสมรสเพื่อยกเลิกการบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้ร้องเพียงกึ่งหนึ่งและยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ดังนี้ แม้ก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องนี้ ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดังกล่าวและคดีถึงที่สุดแล้ว แต่คำร้องนี้เป็นคำร้องคนละอย่างกับคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์การที่คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องถึงที่สุดก็ไม่มีผลต่อสิทธิของผู้ร้องที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องนี้ เมื่อคำสั่งคำร้องนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ผู้ร้องอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงย่อมอุทธรณ์ได้
การขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลให้ตัวทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้หลุดพ้นจากการบังคับคดี และมิใช่เป็นเพียงขอรับการคุ้มครองจากการได้รับผลกระทบกระทั่งจากการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 แต่เป็นการดำเนินการที่มีผลอย่างเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 นั่นเอง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องชอบแล้ว
การขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลให้ตัวทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้หลุดพ้นจากการบังคับคดี และมิใช่เป็นเพียงขอรับการคุ้มครองจากการได้รับผลกระทบกระทั่งจากการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 แต่เป็นการดำเนินการที่มีผลอย่างเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 นั่นเอง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7884/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันเล่นการพนัน, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, และลักทรัพย์ (วิ่งราวทรัพย์) ศาลพิพากษาตามพยานหลักฐาน
ผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าทำการจับกุมผู้เล่นการพนันขณะเข้าจับกุม ผู้เสียหายใช้กล้องถ่ายรูปผู้เล่นการพนัน ครั้นจะถ่ายรูปภาพที่สอง จำเลยที่ 1 ได้เข้าไปกระชากกล้องถ่ายรูปจากมือผู้เสียหายไป และต่อว่าผู้เสียหายพร้อมกับร่วมกับพวกกลุ้มรุมทำร้ายผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายไม่ได้รับกล้องถ่ายรูปคืนดังนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง ลักษณะการกระทำของจำเลยจึงเป็นการฉกฉวยเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปซึ่งหน้าโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยไม่บรรยายว่า จำเลยที่ 1 กับพวกฉกฉวยพาทรัพย์หนีไปต่อหน้าอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ด้วยจะลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ คงลงโทษจำเลยได้ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคแรกเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยไม่บรรยายว่า จำเลยที่ 1 กับพวกฉกฉวยพาทรัพย์หนีไปต่อหน้าอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ด้วยจะลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ คงลงโทษจำเลยได้ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคแรกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7118/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายแก้ไขใหม่ต่อสิทธิฎีกา: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดหลังแก้ไขกฎหมาย
กฎหมายวิธีสบัญญัติส่วนที่มีการแก้ไข เมื่อมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้วผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความทันที ดังนั้น แม้ขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด คดีของจำเลยจะไม่ต้องห้ามฎีกา แต่ขณะที่จำเลยยื่นฎีกาได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ จำเลยก็ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์ภาษี, การแยกพิจารณาภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม, หลักการประมาณการกำไรสุทธิเกินร้อยละ 25
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้แสดงหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้โจทก์และบัญชีรายได้ของโจทก์ว่าโจทก์ มีบัญชีรายได้เป็นเงิน 16,834,480.41 บาท ซึ่งตรงกับงบดุลในปี 2535 แต่เจ้าพนักงานของจำเลยได้คำนวณรายได้ ของโจทก์รวมทั้งสิ้น 16,982,605.43 บาท และแจ้งว่าโจทก์บันทึกรายได้ต่างจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน 148,125.02 บาท ซึ่งยอดตามที่เจ้าพนักงานจำเลยคำนวณมานั้น เจ้าพนักงานได้บวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปด้วย การที่โจทก์ อุทธรณ์ว่า โจทก์มีรายได้จำนวนตามฟ้อง เพราะเวลาที่โจทก์ขายน้ำมันจะมีส่วนลดให้แก่ลูกค้า ยอดที่จำเลยคำนวณ ไม่ตรงกันเพราะคิดเฉลี่ยจากราคาเต็มไม่คิดส่วนลดให้ และราคาเฉลี่ยที่เจ้าพนักงานสรรพากรประเมินอาจไม่ตรงกับราคาน้ำมันในแต่ละวัน เป็นการคำนวณไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนอาจผิดหรือถูกก็ได้นั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นอ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ (1) หรือยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตาม มาตรา 67 ตรี ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือ ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและสามารถประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องการยื่นรายการตามแบบไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินเพิ่มตามที่ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมิน จึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า ภาษีที่ชำระตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 68 ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 (ครึ่งปี) ที่เจ้าพนักงานประเมินจำนวน 23,425.27 บาท จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าภาษีที่โจทก์ต้องชำระเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 เมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นตามปกติและที่ได้ยื่นเพิ่มเติมรวมทั้ง จะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 เนื่องจากบันทึกยอดขายขาดไป ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีจำนวนดังกล่าว จึงซ้ำซ้อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 67 ตรี บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยไม่มีเหตุอันสมควรเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสีย ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี เมื่อโจทก์มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะนำมาหักได้ตามกฎหมายในรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ซึ่งแบบ ภ.ง.ด. 51 ของจำเลยก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แล้วจึงนำมาถือเป็นภาษีเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติม โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปมาหักได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ทุนทรัพย์ที่พิพาทเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มต้องแยกคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของภาษีทั้งสองประเภทมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและมีวิธีการคำนวณแตกต่างกัน เมื่อทุนทรัพย์เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีที่พิพาท 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์เสียภาษีครบถ้วนถูกต้องแล้วโดยมียอดขายจำนวน 367,496.49 บาท และยอดซื้อจำนวน 339,058.97 บาท เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ (1) หรือยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตาม มาตรา 67 ตรี ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือ ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและสามารถประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องการยื่นรายการตามแบบไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินเพิ่มตามที่ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมิน จึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า ภาษีที่ชำระตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 68 ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 (ครึ่งปี) ที่เจ้าพนักงานประเมินจำนวน 23,425.27 บาท จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าภาษีที่โจทก์ต้องชำระเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 เมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นตามปกติและที่ได้ยื่นเพิ่มเติมรวมทั้ง จะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 เนื่องจากบันทึกยอดขายขาดไป ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีจำนวนดังกล่าว จึงซ้ำซ้อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 67 ตรี บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยไม่มีเหตุอันสมควรเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสีย ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี เมื่อโจทก์มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะนำมาหักได้ตามกฎหมายในรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ซึ่งแบบ ภ.ง.ด. 51 ของจำเลยก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แล้วจึงนำมาถือเป็นภาษีเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติม โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปมาหักได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ทุนทรัพย์ที่พิพาทเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มต้องแยกคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของภาษีทั้งสองประเภทมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและมีวิธีการคำนวณแตกต่างกัน เมื่อทุนทรัพย์เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีที่พิพาท 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์เสียภาษีครบถ้วนถูกต้องแล้วโดยมียอดขายจำนวน 367,496.49 บาท และยอดซื้อจำนวน 339,058.97 บาท เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว