พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชำระหนี้ด้วยของอื่นและการระงับหนี้จากการรับชำระหนี้
ออกเช็คใช้หนี้เงินกู้เป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่น เมื่อโจทก์ยอมรับและได้รับเงินตามเช็คแล้ว หนี้ก็ระงับจำเลยนำสืบการใช้เงินโดยพยานบุคคลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการชำระเงินตามเช็ค และผลกระทบต่อเอกสารสัญญากู้
ลูกหนี้ยืมเงินเจ้าหนี้โดยออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ไว้และทำหนังสือให้ไว้ด้วยว่าได้ยืมเงินและออกเช็คให้เจ้าหนี้ไว้ หากไม่ใช้เงินตามกำหนดให้เจ้าหนี้ฟ้องต่อศาลได้แทนสัญญากู้ ดังนี้ เมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค เจ้าหนี้ฟ้องตามเอกสารนี้หรือฟ้องตามเช็คก็ได้ลูกหนี้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ตามเช็คแล้วหนี้ระงับโดยไม่ต้องมีใบรับเงินตามมาตรา 653 เมื่อหนี้ระงับแล้วเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามเอกสารนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันทึกข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิเรียกร้องตามเช็คยังคงมีอยู่
บันทึกของพนักงานสอบสวนมีความว่า "ต่อมาในวันนี้....... ได้เรียกนายฮั่งตัง แซ่อึ้ง (คือจำเลยที่ 1) พร้อมกับนายไพบูลย์ แสงเจริญตระกูล (คือโจทก์) ทั้งสองฝ่ายมาสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง 1 ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วทางฝ่ายนายฮั่งตัง แซ่อึ้ง ได้รับว่าตนได้ขอยืมเงินสด จำนวน 50,000 บาท จากนายไพบูลย์ แสงเจริญตระกูล ไปจริงและได้ออกเช็คของธนาคารไทยพัฒนาทั้งสองฉบับ....... ไว้เป็นหลักค้ำประกันเงินที่ขอยืมไปจริง ในวันนี้ได้ทำการตกลงกันได้ความว่าทางฝ่ายนายฮั่งตัง แซ่อึ้ง ยินยอมผ่อนชำระ ให้เป็นรายเดือน เดือนละ 2,000 บาท โดยจะนำเงินมาชำระให้ในวันที่ 15 ของทุก ๆ เดือนจนกว่าจะหมดจำนวน เงินที่ค้างอยู่ เห็นว่าทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้จึงได้จัดทำบันทึกไว้เป็นหลักฐาน" ดังนี้ หาเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ เพราะมิได้กล่าวถึงการคืนเช็คหรือยกเลิกเพิกถอนเช็ค เป็นเพียงความตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น สิทธิและความรับผิดชอบระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ตามเช็คนั้นยังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามเช็คทั้งสองฉบับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีเจตนาคืนเช็ค การผ่อนชำระหนี้ตามเช็คไม่ใช่การระงับหนี้
บันทึกของพนักงานสอบสวนมีความว่า 'ต่อมาในวันนี้ ได้เรียกนายฮั่งตังแซ่อึ้ง (คือจำเลยที่ 1) พร้อมกับนายไพบูลย์แสงเจริญตระกูล (คือโจทก์) ทั้งสองฝ่ายมา สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง 1 ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วทางฝ่ายนายฮั่งตังแซ่อึ้ง ได้รับว่าตนได้ขอยืมเงินสด จำนวน 50,000 บาท จากนายไพบูลย์แสงเจริญตระกูล ไปจริงและได้ออกเช็คของธนาคารไทยพัฒนาทั้งสองฉบับ ไว้เป็นหลักค้ำประกันเงินที่ขอยืมไปจริง ในวันนี้ได้ทำการตกลงกันได้ความว่า ทางฝ่ายนายฮั่งตัง แซ่อึ้ง ยินยอมผ่อนชำระให้เป็นรายเดือน เดือนละ2,000 บาท โดยจะนำเงินมาชำระให้ในวันที่ 15 ของทุก ๆ เดือน จนกว่าจะหมดจำนวนเงินที่ค้างอยู่ เห็นว่าทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ จึงได้จัดทำบันทึกไว้เป็นหลักฐาน' ดังนี้ หาเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ เพราะมิได้กล่าวถึงการคืนเช็คหรือยกเลิกเพิกถอนเช็ค เป็นเพียงความตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น สิทธิและความรับผิดชอบระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ตามเช็คนั้นยังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามเช็คทั้งสองฉบับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จำนองด้วยการโอนทรัพย์สิน: นิติกรรมไม่เป็นโมฆะ แม้มิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นต้น
แม้ข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาที่ว่า นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยยกขึ้นอ้างอิงฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรค 2
จำเลยโอนสวนยางรายพิพาทตีใช้หนี้จำนองที่สามีของจำเลยติดค้างโจทก์อยู่ เป็นการชำระหนี้จำนองแก่กันให้เสร็จสิ้นไปไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยโอนสวนยางรายพิพาทตีใช้หนี้จำนองที่สามีของจำเลยติดค้างโจทก์อยู่ เป็นการชำระหนี้จำนองแก่กันให้เสร็จสิ้นไปไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์เพื่อชำระหนี้จำนอง: นิติกรรมไม่เป็นโมฆะ แม้มิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นต้น
แม้ข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ปัญหาที่ว่า นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยยกขึ้นอ้างอิงฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรค 2
จำเลยโอนสวนยางรายพิพาทตีใช้หนี้จำนองที่สามีของจำเลยติดค้างโจทก์อยู่เป็นการชำระหนี้จำนองแก่กันให้เสร็จสิ้นไป ไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยโอนสวนยางรายพิพาทตีใช้หนี้จำนองที่สามีของจำเลยติดค้างโจทก์อยู่เป็นการชำระหนี้จำนองแก่กันให้เสร็จสิ้นไป ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามเช็คและการพิสูจน์มูลหนี้เดิม: จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดหากไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้เงินที่ยังค้างชำระตามเช็คพร้อมกับแนบรูปถ่ายเช็คมาท้ายฟ้อง โดยกล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์มิได้กล่าวถึงจำเลยที่ 2 ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดกับเช็คด้วย ฟ้องของโจทก์จึงแสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีลายมือชื่อในเช็ค ทั้งรูปถ่ายเช็คท้ายฟ้องก็ไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ฉะนั้น การที่ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มิได้ลงลายมือในเช็คไม่ว่าในฐานะผู้สั่งจ่ายหรือฐานะอื่นใด อันเป็นการแสดงว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเช็คนั้น จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเพราะเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากคำฟ้องของโจทก์เอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากัน ได้ก่อหนี้ร่วมกันโดยจำเลยที่ 1 ออกเช็คแลกเงินสดจากโจทก์ ดังนี้ เช็คหาใช่หลักฐานแห่งหนี้หรือแสดงว่าจำเลยเป็นหนี้ไม่ แต่เป็นการสั่งธนาคารให้ใช้เงิน กรณีนี้ต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยใช้เช็คแทนเงิน เกิดความผูกพันระหว่างกันในลักษณะตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 ซึ่งบุคคลที่ลงลายมือชื่อในเช็คเท่านั้นที่จะต้องรับผิดตามข้อความในเช็ค แม้โจทก์จะอ้างว่า ฟ้องเรียกเงินตามมูลหนี้เดิมก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามฟ้อง เพราะจำเลยที่ 2 มิได้มีลายมือชื่อในเช็คหากจะถือว่ามูลหนี้เดิมเป็นหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ก็ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 2 มาแสดง โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 2 หาได้ไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากัน ได้ก่อหนี้ร่วมกันโดยจำเลยที่ 1 ออกเช็คแลกเงินสดจากโจทก์ ดังนี้ เช็คหาใช่หลักฐานแห่งหนี้หรือแสดงว่าจำเลยเป็นหนี้ไม่ แต่เป็นการสั่งธนาคารให้ใช้เงิน กรณีนี้ต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยใช้เช็คแทนเงิน เกิดความผูกพันระหว่างกันในลักษณะตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 ซึ่งบุคคลที่ลงลายมือชื่อในเช็คเท่านั้นที่จะต้องรับผิดตามข้อความในเช็ค แม้โจทก์จะอ้างว่า ฟ้องเรียกเงินตามมูลหนี้เดิมก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามฟ้อง เพราะจำเลยที่ 2 มิได้มีลายมือชื่อในเช็คหากจะถือว่ามูลหนี้เดิมเป็นหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ก็ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 2 มาแสดง โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 2 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญาและการพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ทำกันในศาลมีใจความสำคัญว่า โจทก์ยอมให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยจำเลยรับจะส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละ 3 เกวียน หากผิดสัญญาไม่ปฏิบัติ ก็ให้ที่พิพาทกลับเป็นของโจทก์ ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ดังกล่าวนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลจะบังคับให้จำเลยปฏิบัติได้ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยจะปฏิบัติต่อกันเองตามความสมัครใจ จึงอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความได้ เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่งข้าวเปลือกให้ไม่ครบ จำเลยต่อสู้ว่าได้ตกลงกับโจทก์ใหม่และปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่จำเลยต่อสู้จริง จำเลยก็มิใช่ฝ่ายผิดสัญญากรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป จะพิพากษาให้จำเลยคืนที่พิพาทให้โจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงต่อไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหลังทำสัญญาไม่ถือเป็นการผิดสัญญา หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่จำเลยอ้าง
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ทำกันในศาลมีใจความสำคัญว่า โจทก์ยอมให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยจำเลยรับจะส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละ 3 เกวียน หากผิดสัญญาไม่ปฏิบัติก็ให้ที่พิพาทกลับเป็นของโจทก์ ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ดังกล่าวนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลจะบังคับให้จำเลยปฏิบัติได้ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยจะปฏิบัติต่อกันเองตามความสมัครใจ จึงอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความได้ เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่งข้าวเปลือกให้ไม่ครบ จำเลยต่อสู้ว่าได้ตกลงกับโจทก์ใหม่และปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่จำเลยต่อสู้จริง จำเลยก็มิใช่ฝ่ายผิดสัญญา กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป จะพิพากษาให้จำเลยคืนที่พิพาทให้โจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงต่อไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ - เพิกถอนนิติกรรมเนื่องจากทายาทโอนทรัพย์สินทิ้งก่อนชำระหนี้ให้เจ้าหนี้
บิดาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีความว่า บิดาจำเลยได้ขายฝากที่ดินพิพาทอันมี ส.ค.1 ให้โจทก์ทำผลประโยชน์ในที่ดินแทนดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วถ้าไม่นำเงินมาชำระจะยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์เป็นจำนวนเงินหกหมื่นบาท และยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์ในวันถัดจากวันครบกำหนด บิดาจำเลยได้รับราคาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ไม่ใช่สัญญาขายฝากที่พิพาท แต่เป็นเรื่องกู้เงินโดยมอบที่พิพาทให้ทำนาต่างดอกเบี้ย ครั้นบิดาจำเลยตาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับสภาพหนี้โดยให้โจทก์ทำนาต่อมา เมื่อหนี้ถึงกำหนดจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงกับโจทก์ขอชำระหนี้ด้วยที่พิพาทโดยขอเงินเพิ่มจากโจทก์อีกโจทก์ตกลงและจ่ายเงินให้บางส่วนแล้ว ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้ในวันโอน เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า การที่โจทก์ได้รับมอบให้ครอบครองที่พิพาทต่อมานับแต่ตกลงกันนั้น หนี้ของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ที่พิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ การที่จำเลยจะไปโอนให้แก่โจทก์นั้นเป็นเพียงพิธีการ โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยโอนให้ และรับเงินที่ยังค้างอยู่ได้และเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เจ้าหนี้อีกรายหนึ่งไป โดยจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เสียได้