พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801-3802/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ ดอกเบี้ยต้องชำระก่อนเงินต้น และการบังคับจำนองเกินคำฟ้อง
ในการชำระหนี้แต่ละครั้งนั้นเมื่อไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่นต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างอยู่เสียก่อน หลังจากนั้นเหลือเงินเท่าใดจึงนำไปชำระเงินต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์แต่ละคราวจึงต้องคำนวณเสียก่อนว่ามีดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาจนถึงวันชำระเป็นเงินเท่าใด เมื่อมีเงินเหลือจากการชำระดอกเบี้ยแล้วก็นำไปชำระเงินต้นซึ่งอาจทำให้เงินต้นเหลือลดลงไปและดอกเบี้ยต่อจากนั้นก็ลดลงไปด้วยเช่นเดียวกัน
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม เช็คดังกล่าว จึงถือเป็นการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคาร
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โจทก์แยกฟ้องมาเป็นคนละสำนวนซึ่งมีคำขอบังคับจำเลยแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน แม้ศาลชั้นต้นจะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันแล้ว เมื่อจะพิจารณาคดีรวมกันก็ต้องคำนึงถึงคำขอของแต่ละสำนวนด้วยว่ามีอยู่อย่างไร คดีสำนวนของจำเลยที่ 1 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีคำขอบังคับจำนองด้วย ส่วนคดีสำนวนของจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าไม่ชำระจึงขอให้บังคับจำนอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เดียวเท่านั้นที่กู้ยืมเงินจากโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 มิได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ย่อมไม่มีกรณีที่จะต้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขจึงเป็นการพิพาทเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องสำนวนคดีของจำเลยที่ 1 อันเป็นการมิชอบ กรณีเช่นนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกา
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม เช็คดังกล่าว จึงถือเป็นการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคาร
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โจทก์แยกฟ้องมาเป็นคนละสำนวนซึ่งมีคำขอบังคับจำเลยแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน แม้ศาลชั้นต้นจะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันแล้ว เมื่อจะพิจารณาคดีรวมกันก็ต้องคำนึงถึงคำขอของแต่ละสำนวนด้วยว่ามีอยู่อย่างไร คดีสำนวนของจำเลยที่ 1 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีคำขอบังคับจำนองด้วย ส่วนคดีสำนวนของจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าไม่ชำระจึงขอให้บังคับจำนอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เดียวเท่านั้นที่กู้ยืมเงินจากโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 มิได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ย่อมไม่มีกรณีที่จะต้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขจึงเป็นการพิพาทเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องสำนวนคดีของจำเลยที่ 1 อันเป็นการมิชอบ กรณีเช่นนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6449/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหลังศาลตั้งผู้จัดการมรดก การโอนที่ดินโดยไม่คำนวณราคาตลาดเป็นโมฆะ
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ทายาทย่อมหมดอำนาจจัดการทรัพย์มรดกและกระทำ นิติกรรมใด ๆ กับบุคคลภายนอก ทั้งนี้จนกว่าจะแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จ ผู้จัดการมรดกเท่านั้นที่รับชำระหนี้ แทนผู้ตายได้ จำเลยเพิ่งโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่อ้างว่าโอนเพื่อชำระหนี้ตามฟ้องภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็น ผู้จัดการมรดกแล้ว แม้จำเลยร่วมจะเป็นทายาทของผู้ตายก็ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้แทนผู้ตาย
เอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นข้อตกลงการโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระเงินที่จำเลยทำกับจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าได้มีการคิดเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งที่ดินใน วันที่จดทะเบียนอันเป็นการส่งมอบ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการตกลงชำระหนี้เงินกู้ยืมด้วยทรัพย์สินอื่นแทน จำนวนเงินที่กู้ยืมโดยไม่มีการคำนวณหนี้เงินที่ค้างชำระเท่ากับราคาท้องตลาดของที่ดิน จึงเป็นข้อตกลงที่ขัดกับ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคหนึ่ง และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคท้าย ดังนั้นการจดทะเบียนโอน ขายกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยร่วมและการทำข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับลง จำเลยต้องชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
เอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นข้อตกลงการโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระเงินที่จำเลยทำกับจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าได้มีการคิดเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งที่ดินใน วันที่จดทะเบียนอันเป็นการส่งมอบ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการตกลงชำระหนี้เงินกู้ยืมด้วยทรัพย์สินอื่นแทน จำนวนเงินที่กู้ยืมโดยไม่มีการคำนวณหนี้เงินที่ค้างชำระเท่ากับราคาท้องตลาดของที่ดิน จึงเป็นข้อตกลงที่ขัดกับ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคหนึ่ง และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคท้าย ดังนั้นการจดทะเบียนโอน ขายกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยร่วมและการทำข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับลง จำเลยต้องชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5312-5313/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินถือเป็นการชำระหนี้แทนการจ่ายเงินตามเช็ค ทำให้หนี้ตามเช็คระงับสิ้น
โจทก์จำเลยลงทุนร่วมกันเพื่อซื้อที่ดินไปขายแบ่งกำไรกันต่อมาโจทก์ขอเงินลงทุนคืนจำเลยจึงออกเช็คชำระหนี้ดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อเช็คที่จำเลยออกให้ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้นำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยไปดำเนินการโอนที่ดินทั้งสามแปลงของจำเลยเป็นชื่อโจทก์ โดยไม่ได้ตกลงกำหนดราคาที่ดินทั้งสามแปลงเป็นอย่างอื่น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคแรก ทำให้หนี้ตามเช็คเป็นอันระงับสิ้นไป โจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5312-5313/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินถือเป็นการชำระหนี้แทนการชำระด้วยเงินตามเช็ค ทำให้หนี้ระงับสิ้น
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนอื่นใดต่อโจทก์อีกนอกจากหนี้ตามเช็คพิพาท ทั้งพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยมีหนี้สินอื่น เมื่อเช็คพิพาทถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้ดำเนินการโอนที่ดินของจำเลยเป็นชื่อโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าได้ตกลงกำหนดราคาที่ดินเป็นอย่างอื่น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคแรก ทำให้ หนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันระงับสิ้นไป โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาฟ้องเรียกจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แปลงหนี้จากค่าแชร์เป็นกู้ยืม การหักกลบลบหนี้ และการนำสืบการชำระหนี้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เล่นแชร์กันโดยโจทก์เป็นนายวงแชร์ เมื่อจำเลยที่ 1ประมูลแชร์ได้รับเงินไปแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ส่งค่าแชร์และดอกเบี้ยแก่โจทก์โจทก์ต้องชำระค่าแชร์ให้ผู้ประมูลได้แทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 128,500 บาทโจทก์จึงระบุยอดเงินจำนวนดังกล่าวในสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อค้ำประกันเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จากหนี้ค่าแชร์เป็นหนี้เงินกู้ หนี้ค่าแชร์ระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ ทำให้สัญญากู้ยืมเงินชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับโดยสมบูรณ์
ส่วนที่จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าโจทก์หักเงินค่าแชร์ของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการหักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการนำสืบการใช้เงินของจำเลยทั้งสองโดยเห็นว่าต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองจึงไม่ชอบ
ส่วนที่จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าโจทก์หักเงินค่าแชร์ของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการหักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการนำสืบการใช้เงินของจำเลยทั้งสองโดยเห็นว่าต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์การชำระหนี้ และการรับฟังเทปบันทึกเสียงเป็นพยานหลักฐาน
แม้โจทก์จะมีสัญญากู้ยืมเงินมาแสดงว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 400,000 บาท แต่จำเลยก็ยังนำสืบโต้แย้งจำนวนเงินที่กู้ไปจากโจทก์ว่า ไม่ได้รับเงินไปครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน อันเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยทั้งสองย่อมนำสืบได้หาใช่เป็นกรณีต้องห้ามมิให้นำสืบไม่
ในการกู้ยืมเงินโจทก์ยึดสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารและบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไว้ ที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปเบิกเงินเดือนของจำเลยเป็นเงินประมาณ 300,000 บาท เป็นการนำสืบว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้
จำเลยอ้างส่งเทปบันทึกเสียงซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างโจทก์และจำเลยพร้อมเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาดังกล่าว และรายการบัญชีเงินฝากของจำเลยเป็นพยานหลักฐานว่า โจทก์ได้ชำระหนี้ไปครบถ้วนแล้ว โดยเสียงที่ปรากฏในเทปบันทึกเสียงอันเป็นเสียงของโจทก์จริง เทปบันทึกเสียงการสนทนาระหว่างโจทก์และจำเลย เอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนา นับเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบในประเด็นเรื่อง การใช้เงิน และเมื่อการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนา เป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบ อันจะต้องห้ามมิให้ รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 243 วรรคสอง
ในการกู้ยืมเงินโจทก์ยึดสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารและบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไว้ ที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปเบิกเงินเดือนของจำเลยเป็นเงินประมาณ 300,000 บาท เป็นการนำสืบว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้
จำเลยอ้างส่งเทปบันทึกเสียงซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างโจทก์และจำเลยพร้อมเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาดังกล่าว และรายการบัญชีเงินฝากของจำเลยเป็นพยานหลักฐานว่า โจทก์ได้ชำระหนี้ไปครบถ้วนแล้ว โดยเสียงที่ปรากฏในเทปบันทึกเสียงอันเป็นเสียงของโจทก์จริง เทปบันทึกเสียงการสนทนาระหว่างโจทก์และจำเลย เอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนา นับเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบในประเด็นเรื่อง การใช้เงิน และเมื่อการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนา เป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบ อันจะต้องห้ามมิให้ รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 243 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์จำนวนเงินกู้ที่แท้จริง และการใช้สิทธิรับฟังพยานหลักฐานการชำระหนี้โดยวิธีการอื่น
จำเลยสามารถนำสืบโต้แย้งจำนวนเงินที่กู้ไปจากโจทก์ได้ว่าไม่ได้รับเงินไปครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย
จำเลยนำสืบว่าในปี 2534 ถึง 2537 โจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปเบิกเงินเดือนของจำเลยเป็นเงินประมาณ 300,000 บาทเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยวิธีอื่น ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้
การที่จำเลยอ้างส่งเทปบันทึกเสียงซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างโจทก์และจำเลยพร้อมเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาเป็นพยานหลักฐานนั้นนับเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบในประเด็นเรื่องการใช้เงินแม้โจทก์จะไม่ทราบว่ามีการบันทึกเสียงไว้ก็ตาม แต่เมื่อเสียงที่ปรากฏเป็นเสียงของโจทก์จริง และการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความนั้นเป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบอันจะต้องมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 243 วรรคสอง
จำเลยนำสืบว่าในปี 2534 ถึง 2537 โจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปเบิกเงินเดือนของจำเลยเป็นเงินประมาณ 300,000 บาทเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยวิธีอื่น ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้
การที่จำเลยอ้างส่งเทปบันทึกเสียงซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างโจทก์และจำเลยพร้อมเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาเป็นพยานหลักฐานนั้นนับเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบในประเด็นเรื่องการใช้เงินแม้โจทก์จะไม่ทราบว่ามีการบันทึกเสียงไว้ก็ตาม แต่เมื่อเสียงที่ปรากฏเป็นเสียงของโจทก์จริง และการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความนั้นเป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบอันจะต้องมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 243 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของสัญญาประนีประนอมยอมความ: การระงับข้อพิพาทจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 จะกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกัน และเป็นกฎหมายต่างฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายจ้างเช่นเดียวกันสำหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานไม่เห็นสมควรให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีก
การที่โจทก์นำสาเหตุจากการที่จำเลยเลิกจ้าง ไปยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ และต่อมาโจทก์ได้นำเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงิน 147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจากจำเลยอีก ศาลแรงงานมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยชำระตอบแทนในการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็ตาม
เมื่อค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแรงงาน ต่างมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยเดียวกัน ค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของข้อความว่า ค่าเสียหายและเงินอื่นใดที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลย ที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง ค่าเสียหายที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระแก่โจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปก่อนแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้อีก
การที่โจทก์นำสาเหตุจากการที่จำเลยเลิกจ้าง ไปยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ และต่อมาโจทก์ได้นำเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงิน 147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจากจำเลยอีก ศาลแรงงานมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยชำระตอบแทนในการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็ตาม
เมื่อค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแรงงาน ต่างมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยเดียวกัน ค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของข้อความว่า ค่าเสียหายและเงินอื่นใดที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลย ที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง ค่าเสียหายที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระแก่โจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปก่อนแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความครอบคลุมค่าเสียหายทั้งหมดจากการเลิกจ้าง โจทก์จึงฟ้องซ้ำไม่ได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 จะกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกันและเป็นกฎหมายต่างฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายจ้างเช่นเดียวกันสำหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานไม่เห็นสมควรให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีก
การที่โจทก์นำสาเหตุจากการที่จำเลยเลิกจ้าง ไปยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์และต่อมาโจทก์ได้นำเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงิน 147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจากจำเลยอีกศาลแรงงานมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยชำระตอบแทนในการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็ตาม
เมื่อค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแรงงาน ต่างมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยเดียวกัน ค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของข้อความว่าค่าเสียหายและเงินอื่นใดที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลย ที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง ค่าเสียหายที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระแก่โจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปก่อนแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้อีก
การที่โจทก์นำสาเหตุจากการที่จำเลยเลิกจ้าง ไปยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์และต่อมาโจทก์ได้นำเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงิน 147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจากจำเลยอีกศาลแรงงานมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยชำระตอบแทนในการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็ตาม
เมื่อค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแรงงาน ต่างมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยเดียวกัน ค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของข้อความว่าค่าเสียหายและเงินอื่นใดที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลย ที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง ค่าเสียหายที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระแก่โจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปก่อนแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการบังคับชำระหนี้: เมื่อเจ้าหนี้เลือกฟ้องผู้กู้แล้ว ผู้รับชำระหนี้แทนไม่อาจฟ้องเรียกเงินจากผู้อื่นได้
โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน และให้จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินตามเช็คพิพาทเพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ดังนี้ เป็นการที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแก่โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 มูลหนี้จึงมีเฉพาะการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1เมื่อโจทก์ที่ 1 เลือกใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทได้อีกเพราะไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนโจทก์ที่ 1อีกต่อไป