พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและการฟ้องบังคับหนี้ การรับชำระหนี้แทน และผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องของผู้รับชำระหนี้
โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน และจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว โจทก์ที่ 1ให้จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินตามเช็คพิพาทเพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ตามความประสงค์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแก่โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 314,315 และ 321 มูลหนี้จึงมีเฉพาะการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินเลือกใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1ทำไว้ต่อโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ 1ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทได้อีก เพราะไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการบังคับชำระหนี้ซ้ำซ้อน: สิทธิของเจ้าหนี้และการขาดมูลหนี้
โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน และจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินตามเช็คพิพาทเพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ตามความประสงค์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแก่โจทก์ที่ 2ผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 314, 315 และ 321 มูลหนี้จึงมีเฉพาะการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินเลือกใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ 1 ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทได้อีก เพราะไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนโจทก์ที่ 1อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยข้าวเปลือกแทนเงิน: หนี้ระงับสิ้นเมื่อชำระตามตกลง
จำเลยซื้อสังกะสีจากโจทก์จำนวน 5 หาบ ตกลงผ่อนชำระหนี้ด้วยข้าวเปลือกปีละ 100 ถัง เป็นเวลา 5 ปี โดยจำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์และจำเลยได้ชำระหนี้ด้วยข้าวเปลือกให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว อันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นตามที่ตกลงกันไว้ หนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยวิธีการอื่นแทนการชำระหนี้ตามสัญญาเดิม และผลกระทบต่อการระงับสิ้นหนี้
การนำสืบว่า จำเลยโอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วกรณีมิใช่ เป็นการนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็น หนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จึงไม่ต้องห้าม มิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง จำเลยได้โอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และโจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ ที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมทำให้หนี้กู้ยืมรายพิพาทระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นและการระงับสิ้นหนี้
การนำสืบว่า จำเลยโอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนื้เงินกู้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วกรณีมิใช่เป็นการนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง
จำเลยได้โอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และโจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้รับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมทำให้หนี้กู้ยืมรายพิพาทระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
จำเลยได้โอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และโจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้รับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมทำให้หนี้กู้ยืมรายพิพาทระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเช็คเป็นการชำระหนี้แทนเงินสด เมื่อเช็คใช้ไม่ได้ สิทธิเรียกร้องระงับ หนี้เดิมก็ระงับตามไปด้วย
จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทต่อมาการที่โจทก์ยอมรับเช็คซึ่งบริษัทน. เป็นผู้สั่งจ่ายเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก และเมื่อปรากฏว่าเช็คฉบับดังกล่าวไม่อาจเรียกเก็บเงินได้ โจทก์ได้ฟ้องผู้สั่งจ่ายและได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายผ่อนชำระ ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเช็คฉบับดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์ได้สิทธิใหม่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลเท่ากับว่าเช็คได้ใช้เงินแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายเมื่อหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจำนวน 600,000 บาทเป็นส่วนหนึ่งของหนี้ในเช็คจำนวน 1,700,000 บาทซึ่งได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้วหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงย่อมระงับสิ้นไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและการระงับสิ้นหนี้เดิมเมื่อมีสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาท ต่อมาการที่โจทก์ยอมรับเช็คซึ่งบริษัท น.เป็นผู้สั่งจ่าย เป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321วรรคแรก และเมื่อปรากฏว่าเช็คฉบับดังกล่าวไม่อาจเรียกเก็บเงินได้ โจทก์ได้ฟ้องผู้สั่งจ่ายและได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายผ่อนชำระ ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเช็คฉบับดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์ได้สิทธิใหม่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลเท่ากับว่าเช็คได้ใช้เงินแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย เมื่อหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจำนวน 600,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของหนี้ในเช็คจำนวน 1,700,000 บาท ซึ่งได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้วหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงย่อมระงับสิ้นไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าซื้อเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ไม่ชัดเจนราคา และผลของการเป็นโมฆะต่อกรรมสิทธิ์
ส. สามีโจทก์กับ ล. สามีจำเลยมีนิติสัมพันธ์กันโดย ล. ซึ่งมีสิทธิได้โควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยงวดละ 10 เล่มครึ่งเมื่อ ล. มอบบัตรโควต้าของตนให้ ส. ไปรับแทน โดย ส. ต้องชำระเงินค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สภาสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในนามของ ล. ไปก่อน ย่อมถือได้ว่า ล.ตัวการให้ ส. เป็นตัวแทนของตนในการทำการรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย อันเป็นสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 ส. จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล. ตัวการ ส. จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล. ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส. กับ ล. ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล. ยังเป็นหนี้ ส. อยู่อีกจำนวนมากล. จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล. ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล. กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส. โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656 วรรคสองตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดิน และบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส. สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท ที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินและการตกเป็นโมฆะของข้อตกลงราคา
ส.สามีโจทก์กับ ล.สามีจำเลยมีนิติสัมพันธ์กัน โดย ล.ซึ่งมีสิทธิได้โควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยงวดละ 10 เล่มครึ่ง เมื่อ ล.มอบบัตรโควต้าของตนให้ ส.ไปรับแทน โดย ส.ต้องชำระเงินค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในนามของ ล.ไปก่อน ย่อมถือได้ว่า ล.ตัวการให้ ส.เป็นตัวแทนของตนในการทำการรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย อันเป็นสัญญาตัวแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 797
ส.จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล.ตัวการส.จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล.ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส.กับ ล.ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล.ยังเป็นหนี้ส.อยู่อีกจำนวนมาก ล.จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล.ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นการที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล.กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส.โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส.สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่
ส.จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล.ตัวการส.จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล.ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส.กับ ล.ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล.ยังเป็นหนี้ส.อยู่อีกจำนวนมาก ล.จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล.ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นการที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล.กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส.โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส.สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7771/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สามารถระงับหนี้ได้หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้มีการเปลี่ยนเช็ค และการแก้ไขวันที่สั่งจ่ายไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ
จำเลยชำระหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ค่าซื้อขายผ้าด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงินแต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอดธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายประกอบการที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิมจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ ศ. แก้ไขวันที่สั่งจ่ายซึ่งเป็นสาระสำคัญและจำเลยไม่ได้ยินยอมด้วย จำเลยกับ ศ.ได้ร่วมกันซื้อสินค้าจากโจทก์และจำเลยกับ ศ. มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท จำเลยและศ.มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีที่เปิดร่วมกันได้จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ศ. เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทยังคงใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง และแม้จะมีการบังคับคดีแพ่งโดยมีการยึดทรัพย์ของจำเลยกับ ศ. สามีจำเลย แต่โจทก์ก็ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ ยังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงยังไม่เกินกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534