พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7771/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เช็คชำระหนี้ซื้อขายสินค้า การแก้ไขเช็ค และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงิน
เดิมจำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าผ้าแก่โจทก์ด้วยเช็คหลายฉบับและหลายครั้ง แต่เช็คส่วนใหญ่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงเปลี่ยนเช็คเป็นเช็คพิพาทและเช็คอื่นเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 15 ฉบับ ให้แก่โจทก์แทน ซึ่งเช็คพิพาทธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกให้แก่โจทก์มีมูลหนี้มาจากจำเลยซื้อสินค้าผ้ายืดของโจทก์ การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 แล้ว
มูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการซื้อขายสินค้าผ้า และเมื่อจำเลยเพียงแต่ชำระมูลหนี้เดิมด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงิน แต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอด ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย ประกอบกับโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วกรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิม จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ
เช็คพิพาท แม้จะมีการแก้ไขวันเดือนที่สั่งจ่าย แต่ผู้แก้ไขคือศ.ซึ่งเป็นสามีจำเลย โดยจำเลยกับ ศ.สามีจำเลยได้ร่วมกันซื้อสินค้าผ้ายึดจากโจทก์และทั้งจำเลยกับ ศ.มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท ประกอบกับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ขอเปิดและบัตรตัวอย่างลายมือชื่อที่ทำไว้กับธนาคารตามเช็คพิพาท จำเลยและ ศ. ต่างมีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีดังกล่าวได้ ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยินยอมให้ ศ.เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลจะปรากฏว่า โจทก์ได้ดำเนินคดีทางแพ่งกับจำเลยและ ศ.สามีจำเลยแล้ว โดยโจทก์นำยึดที่ดินโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างคดีอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ดังกล่าว กรณียังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
มูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการซื้อขายสินค้าผ้า และเมื่อจำเลยเพียงแต่ชำระมูลหนี้เดิมด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงิน แต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอด ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย ประกอบกับโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วกรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิม จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ
เช็คพิพาท แม้จะมีการแก้ไขวันเดือนที่สั่งจ่าย แต่ผู้แก้ไขคือศ.ซึ่งเป็นสามีจำเลย โดยจำเลยกับ ศ.สามีจำเลยได้ร่วมกันซื้อสินค้าผ้ายึดจากโจทก์และทั้งจำเลยกับ ศ.มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท ประกอบกับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ขอเปิดและบัตรตัวอย่างลายมือชื่อที่ทำไว้กับธนาคารตามเช็คพิพาท จำเลยและ ศ. ต่างมีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีดังกล่าวได้ ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยินยอมให้ ศ.เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลจะปรากฏว่า โจทก์ได้ดำเนินคดีทางแพ่งกับจำเลยและ ศ.สามีจำเลยแล้ว โดยโจทก์นำยึดที่ดินโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างคดีอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ดังกล่าว กรณียังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, การยินยอมโดยปริยาย, และการกำหนดค่าทนายความในคดีแพ่ง
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดยมิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์ การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้ โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป.มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น
ป.พ.พ.มาตรา 728 มิได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควร การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว
คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ 72,059.57 บาทแล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า 10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ.แล้ว
ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์ การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้ โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป.มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น
ป.พ.พ.มาตรา 728 มิได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควร การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว
คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ 72,059.57 บาทแล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า 10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ.แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี การยินยอมโดยปริยาย การบอกกล่าวบังคับจำนอง และการกำหนดค่าทนายความ
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดย มิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่าง บุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป. มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 มิได้บัญญัติ ไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควรการบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์72,059.57 บาท แล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นแทนการชำระตามสัญญา และผลของการยอมรับการชำระหนี้
หนังสือสัญญากู้เงินพิพาททั้งสองฉบับเป็นเอกสารที่แท้จริง และจำเลยได้ชำระหนี้รายพิพาทแก่โจทก์แล้วเป็นเงิน 323,500 บาท โดยใช้วิธีส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติไปให้โจทก์และโจทก์ได้รับแล้ว ถือว่าได้ว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ อันเป็นผลให้หนี้ระงับไปตามป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงซึ่งต้องห้ามมิให้นำสืบตามมาตรา 653วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ และผลของการยอมรับการชำระหนี้แทนการชำระหนี้เดิม
หนังสือสัญญากู้เงินพิพาททั้งสองฉบับเป็นเอกสารที่แท้จริงและจำเลยได้ชำระหนี้รายพิพาทแก่โจทก์แล้วเป็นเงิน323,500 บาท โดยใช้วิธีส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ ไปให้โจทก์และโจทก์ได้รับแล้ว ถือว่าได้ว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ อันเป็นผลให้หนี้ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคหนึ่งกรณีมิใช่เป็นการนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงซึ่งต้องห้ามมิให้นำสืบตามมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับสภาพหนี้มีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ และการชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจนำไปหักชำระต้นเงินได้
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน 6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่ สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับสภาพหนี้ที่กำหนดดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมายเป็นโมฆะ และการชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจนำไปหักต้นเงินได้
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน 6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่ สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับสภาพหนี้ไม่เป็นประนีประนอมยอมความ ดอกเบี้ยสูงกว่ากฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาทจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000 บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญา-ประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาขายลดตั๋วเงิน/จำนอง/ค้ำประกัน หนี้ไม่ระงับแม้มีตั๋วใหม่ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามตั๋วใหม่
คำบรรยายฟ้องโจทก์ได้ความชัดว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 เป็นผู้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำมาขายลดแก่โจทก์ เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แก่โจทก์แทนตั๋วฉบับเดิม ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า เป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้ค่าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมและโจทก์รับชำระหนี้แล้ว หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจึงระงับ แต่โจทก์ไม่ยื่นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ภายในเวลาที่กำหนด จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่นั้นเป็นคำให้การปฎิเสธว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมแล้วโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แลกเปลี่ยน การเปลี่ยนเงื่อนไขวันถึงกำหนดใช้เงินจากวันที่กำหนดไว้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมเป็นเมื่อทวงถามตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ มิใช่เปลี่ยนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เพราะยังเป็นมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอยู่ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะระงับไปหรือไม่อย่างไรไม่ใช่ข้อสำคัญ ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ก็ไม่ระงับ หนี้ตามหนังสือสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นประกันการชำระหนี้ก็ไม่ระงับไปด้วย คำให้การของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสี่เข้าใจผิดหรือหลงข้อต่อสู้ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ก่อนจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินขายลดแก่โจทก์จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีข้อความสำคัญในสัญญาขายลดตั๋วเงินว่าหากโจทก์ไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลดไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะชำระเงินตามตั๋วคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฎิบัติตามยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับจำเลยที่ 1 ตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินตามตั๋วที่นำมาขายลดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ โดยมีสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันของจำเลยทั้งสี่เป็นหลักประกัน หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายตั๋วเงินกับโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 มาขายลดแก่โจทก์ 1 ฉบับ เป็นเงิน 15,000,000 บาท เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระเงินจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่จำนวนเงินแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้ตามตั๋วฉบับเดิม เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามตั๋วฉบับใหม่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ชำระ ดังนั้นเงินจำนวน 15,000,000 บาท ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระคืน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองกับค้ำประกันซึ่งเป็นประกันแห่งหนี้ จึงไม่ระงับและยังมีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 1 ให้การว่าไม่เคยได้รับหนังสือทวงถามบอกกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังนี้ข้อที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ จ. เป็นผู้บอกกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิม แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋ว แต่เมื่อโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงิน การระงับหนี้ และผลผูกพันตามสัญญาประกัน
คำบรรยายฟ้องโจทก์ได้ความชัดว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำมาขายลดแก่โจทก์ เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แก่โจทก์แทนตั๋วฉบับเดิม ที่จำเลยที่ 1ให้การว่า เป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้ค่าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมและโจทก์รับชำระหนี้แล้ว หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจึงระงับ แต่โจทก์ไม่ยื่นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ภายในเวลาที่กำหนด จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่นั้น เป็นคำให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมแล้วโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แลกเปลี่ยน การเปลี่ยนเงื่อนไขวันถึงกำหนดใช้เงินจากวันที่กำหนดไว้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมเป็นเมื่อทวงถามตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ มิใช่เปลี่ยนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เพราะยังเป็นมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอยู่ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะระงับไปหรือไม่อย่างไรไม่ใช่ข้อสำคัญ ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ก็ไม่ระงับ หนี้ตามหนังสือสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นประกันการชำระหนี้ก็ไม่ระงับไปด้วย คำให้การของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสี่เข้าใจผิดหรือหลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ก่อนจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินขายลดแก่โจทก์ จำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ มีข้อความสำคัญในสัญญาขายลดตั๋วเงินว่าหากโจทก์ไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลดไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะชำระเงินตามตั๋วคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับจำเลยที่ 1 ตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินตามตั๋วที่นำมาขายลดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ โดยมีสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันของจำเลยทั้งสี่เป็นหลักประกัน
หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 มาขายลดแก่โจทก์ 1 ฉบับเป็นเงิน 15,000,000 บาท เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระเงินจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่จำนวนเงินแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้ตามตั๋วฉบับเดิม เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามตั๋วฉบับใหม่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ชำระ ดังนั้นเงินจำนวน 15,000,000 บาท ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระคืน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองกับค้ำประกันซึ่งเป็นประกันแห่งหนี้ จึงไม่ระงับและยังมีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่
จำเลยที่ 1 ให้การว่าไม่เคยได้รับหนังสือทวงถามบอกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังนี้ข้อที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ จ.เป็นผู้บอกกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิม แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋ว แต่เมื่อโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่
ก่อนจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินขายลดแก่โจทก์ จำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ มีข้อความสำคัญในสัญญาขายลดตั๋วเงินว่าหากโจทก์ไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลดไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะชำระเงินตามตั๋วคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับจำเลยที่ 1 ตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินตามตั๋วที่นำมาขายลดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ โดยมีสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันของจำเลยทั้งสี่เป็นหลักประกัน
หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 มาขายลดแก่โจทก์ 1 ฉบับเป็นเงิน 15,000,000 บาท เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระเงินจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่จำนวนเงินแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้ตามตั๋วฉบับเดิม เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามตั๋วฉบับใหม่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ชำระ ดังนั้นเงินจำนวน 15,000,000 บาท ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระคืน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองกับค้ำประกันซึ่งเป็นประกันแห่งหนี้ จึงไม่ระงับและยังมีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่
จำเลยที่ 1 ให้การว่าไม่เคยได้รับหนังสือทวงถามบอกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังนี้ข้อที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ จ.เป็นผู้บอกกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิม แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋ว แต่เมื่อโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่