คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 321

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319-1320/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันต้องเกิดจากการชำระหนี้แทนจำเลยให้เจ้าหนี้ มิใช่การผูกพันตนเป็นลูกหนี้ใหม่
สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยย่อมจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยแล้วตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693แต่การชำระหนี้โดยวิธีการที่โจทก์ยอมผูกพันตนเข้าเป็นลูกหนี้ของ ธ.เพื่อชำระหนี้ของจำเลยอีกคนหนึ่งหาใช่เป็นการที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ ธ. เสร็จสิ้นแล้วไม่ทั้งไม่ทำให้หนี้ระหว่าง ธ.กับจำเลยที่มีอยู่เดิมระงับสิ้นไปเพราะมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ธ. ยังคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวได้เช่นเดิมเมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยให้แก่ ธ. ไปแล้วหรือไม่เป็นจำนวนเท่าใดโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการกู้เงินทดแทนและการคิดดอกเบี้ยเมื่อมีการชำระหนี้ต้นเงิน
ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 7,000,000 บาท จากเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ได้กู้ยืมเงินจำนวนเท่ากันจากธนาคาร อ. โดยปรากฏในรายงานการประชุมบริษัทของเจ้าหนี้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้เสนอต่อเจ้าหนี้ว่ากำลังเจรจาซื้อหุ้นโรงแรม ม. จำนวนหนึ่งเพื่อนำมาขายให้เจ้าหนี้ ที่ประชุมของบริษัทเจ้าหนี้มีมติตกลงรับซื้อ และให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ก่อน โดยมีโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นประกัน เมื่อขายหุ้นได้แล้วให้เอาเงินค่าหุ้นชำระคืนให้เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย แต่ที่ประชุมบริษัทของเจ้าหนี้เห็นว่า การที่ลูกหนี้ที่ 1 จะซื้อหุ้นโรงแรมดังกล่าวมาขายให้เจ้าหนี้และการจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชำระหนี้คงมีปัญหาจึงมีมติให้เจ้าหนี้ติดต่อขอกู้เงินจำนวน 7,000,000 บาท จากธนาคาร อ. โดยให้ใช้ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นหลักประกันและให้แจ้งลูกหนี้ที่ 1 ทราบ ต่อมาวันที่21 มกราคม 2529 ลูกหนี้ที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ต่อธนาคาร อ. แม้หนี้เงินกู้ทั้งสองรายจะเป็นหนี้คนละส่วนกัน แต่สาเหตุแห่งการกู้ยืมเงินมีส่วนเกี่ยวพันกัน และลูกหนี้ที่ 1ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะได้นำเงินไปซื้อหุ้นหมดแล้ว และยังขายหุ้นไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ได้ขอกู้เงินจากธนาคาร อ.เท่าจำนวนเงินที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้จากเจ้าหนี้ โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้ต่อธนาคาร อ. ทั้งตามข้อตกลงในสัญญากู้ระบุว่า ถ้าลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญากู้ยืมเงินก็ให้เจ้าหนี้จัดการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ทันทีหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามหนังสือมอบอำนาจของลูกหนี้ที่ 1 ที่ให้ไว้ ประกอบกับสัญญากู้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ 1 ปี ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่ 16 กรกฎาคม 2529 แต่เจ้าหนี้ได้กู้เงินจากธนาคาร อ. เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2529 ก่อนวันที่หนี้เงินกู้ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงกำหนดชำระ แสดงว่าเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่สามารถชำระได้แทนที่เจ้าหนี้จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตามข้อตกลงในสัญญากู้หรือให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากธนาคารเองโดยจำนองที่ดินเป็นประกันแล้วเอาเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้กลับเลือกเอาทางไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. เอง โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันเช่นนี้จึงต้องฟังว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ที่ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมไปจากเจ้าหนี้ตามสัญญากู้แล้วตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2529 หนี้ต้นเงินกู้จำนวน 7,000,000 บาท จึงระงับไป ส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวน7,000,000 บาท อัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญากู้นั้น ลูกหนี้ที่ 1 ไม่เคยชำระแก่เจ้าหนี้เลย ลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ในต้นเงินจำนวน 7,000,000 บาท นับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกู้จนถึงวันที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ต้นเงินกู้คืนคือวันที่ 21 มกราคม 2529 ส่วนดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราช-บัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับเพราะหนี้ต้นเงินกู้ได้ระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการกู้เงินซ้ำซ้อนและการชำระหนี้โดยทางอ้อม แม้เป็นการกู้คนละส่วนกัน แต่มีวัตถุประสงค์เชื่อมโยง
ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 7,000,000 บาท จากเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ได้กู้ยืมเงินจำนวนเท่ากันจากธนาคาร อ.โดยปรากฏในรายงานการประชุมบริษัทของเจ้าหนี้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้เสนอต่อเจ้าหนี้ว่ากำลังเจรจาซื้อหุ้นโรงแรม ม. จำนวนหนึ่งเพื่อนำมาขายให้เจ้าหนี้ ที่ประชุมของบริษัทเจ้าหนี้มีมติตกลงรับซื้อ และให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ก่อนโดยมีโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นประกัน เมื่อขายหุ้นได้แล้วให้เอาเงินค่าหุ้นชำระคืนให้เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย แต่ที่ประชุมบริษัทของเจ้าหนี้เห็นว่า การที่ลูกหนี้ที่ 1 จะซื้อหุ้นโรงแรมดังกล่าวมาขายให้เจ้าหนี้และการจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชำระหนี้คงมีปัญหาจึงมีมติให้เจ้าหนี้ติดต่อขอกู้เงินจำนวน 7,000,000 บาท จากธนาคาร อ. โดยให้ใช้ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นหลักประกันและให้แจ้งลูกหนี้ที่ 1 ทราบ ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2529 ลูกหนี้ที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้จำนวน7,000,000 บาท ต่อธนาคาร อ. แม้หนี้เงินกู้ทั้งสองรายจะเป็นหนี้คนละส่วนกัน แต่สาเหตุแห่งการกู้ยืมเงินมีส่วนเกี่ยวพันกันและลูกหนี้ที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะได้นำเงินไปซื้อหุ้นหมดแล้ว และยังขายหุ้นไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ได้ขอกู้เงินจากธนาคาร อ.เท่าจำนวนเงินที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้จากเจ้าหนี้ โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้ต่อธนาคาร อ.ทั้งตามข้อตกลงในสัญญากู้ระบุว่า ถ้าลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญากู้ยืมเงินก็ให้เจ้าหนี้จัดการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ทันทีหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามหนังสือมอบอำนาจของลูกหนี้ที่ 1 ที่ให้ไว้ ประกอบกับสัญญากู้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ 1 ปี ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่16 กรกฎาคม 2529 แต่เจ้าหนี้ได้กู้เงินจากธนาคาร อ.เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2529 ก่อนวันที่หนี้เงินกู้ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงกำหนดชำระ แสดงว่าเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่สามารถชำระได้แทนที่เจ้าหนี้จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตามข้อตกลงในสัญญากู้หรือให้ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมเงินจากธนาคารเองโดยจำนองที่ดินเป้นประกันแล้วเอาเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้กลับเลือกเอาทางไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. เอง โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันเช่นนี้จึงต้องฟังว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 7,000,000 บาทที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมไปจากเจ้าหนี้ตามสัญญากู้แล้วตั้งแต่วันที่21 มกราคม 2529 หนี้ต้นเงินกู้จำนวน 7,000,000 บาท จึงระงับไปส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวน 7,000,000 บาท อัตราร้อยละ 15ต่อปีตามสัญญากู้นั้น ลูกหนี้ที่ 1 ไม่เคยชำระแก่เจ้าหนี้เลยลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ในต้นเงินจำนวน7,000,000 บาท นับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกู้จนถึงวันที่เจ้าหนีได้รับชำระหนี้ต้นเงินกู้คืนคือวันที่21 มกราคม 2529 ส่วนดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับเพราะหนี้ต้นเงินกู้ได้ระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินและการบังคับคดีเมื่อผิดนัดชำระ หนี้ยังไม่ระงับ ดอกเบี้ยยังคงคิดได้
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแก่โจทก์ จนโจทก์ยอมถอนการยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ ต่อมาจำเลยและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. ผู้อาวัล มิได้ชำระเงินตามกำหนดเวลาที่ระบุในตั๋วสัญญาใช้เงิน หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยชำระด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวจึงยังไม่ระงับลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากหนี้ดังกล่าวต่อไปจนถึงวันที่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนและดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งของหนี้ที่จะต้องชำระในคดีนี้ด้วย มิใช่หนี้ที่เกิดขึ้นใหม่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อบังคับคดีอีก จึงเป็นการบังคับคดีโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินและการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระ
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแก่โจทก์ จนโจทก์ยอมถอนการยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ ต่อมา จำเลยและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช.ผู้อาวัล มิได้ชำระเงินตามกำหนดเวลาที่ระบุในตั๋วสัญญาใช้เงินหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยชำระด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวจึงยังไม่ระงับลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากหนี้ดังกล่าวต่อไปจนถึงวันที่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน และดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งของหนี้ที่จะต้องชำระในคดีนี้ด้วย มิใช่หนี้ที่เกิดขึ้นใหม่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อบังคับคดีอีก จึงเป็นการบังคับคดีโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ทรงเช็คคืน - อายุความสัญญาซื้อขายลดเช็ค - การแปลงหนี้
เช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมโอนให้แก่กันโดยการส่งมอบเมื่อโจทก์ได้รับเช็คไว้ในครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 แม้โจทก์จะสลักหลังโอนเช็คให้แก่บริษัท ท.และบริษัทท. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ ซึ่งถือว่าบริษัท ท. เป็นผู้เสียหายในขณะเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้รับเช็คคืนมา โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้ทรงในการที่จะบังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989วรรคแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องคดีนี้อันเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายลดเช็คที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเช็คเพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หนี้จึงไม่ระงับไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงิน: เจตนาค้ำประกันทุกฉบับ แม้ไม่มีระบุระยะเวลา
การที่จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่มาเปลี่ยนกับตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรกที่จำเลยที่ 1 ออกให้ไว้แก่โจทก์นั้นไม่ใช่การชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรกยังไม่ระงับเพราะยังไม่มีการชำระเงินเพียงแต่เปลี่ยนไปผูกพันกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่เท่านั้น จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ออกไว้ให้แก่โจทก์ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทโดยไม่ระบุว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดและไม่ได้ระบุระยะเวลาไว้ และยังตกลงยินยอมให้หนังสือสัญญาค้ำประกันมีผลใช้บังคับได้ตลอดไป จนกว่าธนาคารจะบอกเลิกเพิกถอนการอำนวยสินเชื่อ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 เจตนาค้ำประกันหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่จำกัดจำนวนฉบับและไม่จำกัดระยะเวลาตลอดไปภายในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับสุดท้ายที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ภาษีอากรและการขยายเวลาไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลัง การเฉลี่ยชำระหนี้
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่26 กุมภาพันธ์ 2525 ข้อ 4 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2525 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ดังนี้ การที่โจทก์ชำระภาษีอากรให้แก่จำเลยด้วยเช็ค จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา321 วรรคท้าย กล่าวคือหนี้ภาษีอากรจะระงับต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้ว เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้ภาษีอากรย่อมไม่ระงับสิ้นไป แม้ว่าต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2525โจทก์จะได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระหนี้ให้จำเลยแทนเช็คเดิมที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และจำเลยได้รับชำระหนี้ตามแคชเชียร์เช็คนั้นแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการล่วงเลยเวลาวันที่ 31 พฤษภาคม2528 ตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2528 ข้อ 3 วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระ หรือยังมิได้ชำระเฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2528ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น และวรรคสองกำหนดว่ากรณีที่มีการชำระค่าภาษีอากรไว้แล้ว คงค้างอยู่เฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรยื่นคำร้องขอก็ให้ได้รับสิทธิตามประกาศนี้ด้วย ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าแคชเชียร์เช็คที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้หมดทุกราย อีกทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรต้องเสียเป็นกรณีพิเศษ มิใช่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 329ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระก่อนหนี้ภาษีอากร การชำระหนี้รายนี้จึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา328 วรรคแรก และการที่โจทก์มอบแคชเชียร์เช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมแสดงว่าโจทก์ระบุชำระหนี้ค่าภาษีอากรก่อน หนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ตามมาตรา 328วรรคแรก กรณีเช่นนี้จำเลยจะถือปฏิบัติตามระเบียบโดยให้เฉลี่ยชำระหนี้ทั้งค่าภาษีอากร เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ด้วยการจัดการแบ่งเฉลี่ยชำระเองตามที่ต้องการโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้เมื่อมีการชำระค่าภาษีอากรแล้ว คงค้างเฉพาะเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอตามประกาศกระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับสิทธิไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ภาษีอากร การระบุวัตถุประสงค์การชำระ และสิทธิในการได้รับประโยชน์จากประกาศขยายเวลาชำระ
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 ข้อ 4 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 31พฤษภาคม 2525 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ดังนี้การที่โจทก์ชำระภาษีอากรให้แก่จำเลยด้วยเช็ค จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย กล่าวคือหนี้ภาษีอากรจะระงับต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้ว เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้ภาษีอากรย่อมไม่ระงับสิ้นไปแม้ว่าต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2525 โจทก์จะได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระหนี้ให้จำเลยแทนเช็คเดิมที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และจำเลยได้รับชำระหนี้ตามแคชเชียร์เช็คนั้นก็ตามแต่ก็เป็นการล่วงเลยเวลาวันที่ 31 พฤษภาคม 2528 ตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2528 ข้อ 3วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระ หรือยังมิได้ชำระเฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2528 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น และวรรคสองกำหนดว่ากรณีที่มีการชำระค่าภาษีอากรไว้แล้วคงค้างอยู่เฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรยื่นคำร้องขอก็ให้ได้รับสิทธิตามประกาศนี้ด้วย ดังนี้เมื่อปรากฏว่าแคชเชียร์เช็คที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้หมดทุกราย อีกทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรต้องเสียเป็นกรณีพิเศษ มิใช่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระก่อนหนี้ภาษีอากร การชำระหนี้รายนี้จึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328วรรคแรก และการที่โจทก์มอบแคชเชียร์เช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมแสดงว่าโจทก์ระบุชำระหนี้ค่าภาษีอากรก่อน หนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ตามมาตรา 328 วรรคแรก กรณีเช่นนี้จำเลยจะถือปฏิบัติตามระเบียบโดยให้เฉลี่ยชำระหนี้ทั้งค่าภาษีอากรเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ด้วยการจัดการแบ่งเฉลี่ยชำระเองตามที่ต้องการโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้เมื่อมีการชำระค่าภาษีอากรแล้วคงค้างเฉพาะเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอตามประกาศกระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับสิทธิไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ความรับผิดของผู้ออกเช็ค, ผู้สั่งจ่าย, หุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงิน
เช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับ เป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือและโจทก์เป็นผู้รับเช็คนั้นไว้ในความครอบครอง ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คนั้นโดยชอบ มีอำนาจที่จะฟ้องบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้โจทก์จะนำเงินจากบิดาโจทก์มารับแลกเช็คพิพาทก็หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 ขณะที่จำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อจำกัดอำนาจของผู้จัดการไว้ การที่จำเลยที่ 2สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับเป็นการกระทำโดยมีอำนาจภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 แม้ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายร่วมกับจำเลยที่ 2 ในเช็คพิพาทจะเป็นลายมือชื่อปลอมของจำเลยที่ 3 แต่ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1006 เช็คพิพาทจึงยังเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาท แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1052 ประกอบด้วยมาตรา 1080 และมาตรา 1087 การที่จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันด้วยอาวัลในเช็คพิพาทซึ่งต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้วได้ออกเช็คฉบับใหม่แก่โจทก์ หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ แต่เป็นการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม ซึ่งหนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อได้ใช้เงินตามเช็คฉบับใหม่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับใหม่ได้หรือไม่ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังไม่ระงับไป ปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์คบคิดกับจำเลยที่ 4ฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 3 และปัญหาว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 3เป็นลายมือชื่อปลอม การสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยที่ 2 จึงผิดไปจากข้อตกลงกับธนาคาร จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
of 28