พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ต้องแสดงเจตนาชัดเจน การครอบครองทำประโยชน์นานปีถือเป็นสิทธิ
การยกที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับแผ่นดินนั้น หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือแล้วต้องมีการแสดงเจตนาตอบรับการยกให้ จากรัฐโดยอย่างน้อยต้องทำเป็นหนังสือตอบรับหรือเข้าไปครอบครองใช้สอยทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับการยกให้ เมื่อไม่ปรากฏว่าก.ได้ทำเป็นหนังสือยกที่ดินพิพาทให้แก่ส่วนราชการของรัฐหน่วยใดเมื่อใดหรือส่วนราชการของรัฐหน่วยใดได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ใช้ที่ดินพิพาท คงได้ความว่าพ.ศ. 2533 จำเลยขอเลขที่บ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทไม่ได้จึงได้ร้องเรียนต่อทางราชการ ทางราชการจึงดำเนินการตรวจสอบที่ดินพิพาทซึ่งมีบ้านจำเลยปลูกอาศัยและขอออกเลขที่บ้านหลังดังกล่าว จึงมีการอ้างว่า ก. ยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์แล้ว ทั้ง ล. ซึ่งเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นกำนันตำบลหนองอิรุณเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปกครองดูแลที่ดินพิพาท ย่อมต้องรู้ว่าที่ดินใดเป็นที่สาธารณประโยชน์ แต่ล.ก็มิได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้เห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ดังอ้างเลย จึงรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์เมื่อจำเลยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นมะพร้าวและมะขามเทศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2495 และปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทเมื่อ พ.ศ. 2530จึงเป็นการที่จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์และอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทไม่เป็นการบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยเจตนาทุจริตหลังได้รับแจ้งให้รื้อถอน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
จำเลยเข้าครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ที่เกิดเหตุโดยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยมีสิทธิครอบครอง ต่อมาทางราชการได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าที่เกิดเหตุเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่จำเลยไม่ยอมออก การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ภายหลังจากที่ทางราชการได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่เกิดเหตุแล้ว ถือว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครองที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสองประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ข้อ 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองที่ดินของรัฐโดยมิชอบ หุ้นส่วนผู้จัดการมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วม
การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องดำเนินการโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของ ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. และจำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่เกิดเหตุซึ่งเป็นที่ดินของรัฐโดยมิได้มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ แม้จำเลยเข้ายึดถือครอบครองในฐานะจำเลย เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างดังกล่าว ก็ถือว่าจำเลยเป็น ตัวการร่วมกระทำความผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินโบราณสถาน: การอนุญาตจากกรมศิลปากรมีผลเหนือประกาศหวงห้าม
กรมศิลปากรอนุญาตให้สำนักหุบผาสวรรค์ใช้ประโยชน์เนื้อที่ภูเขาและรัศมีเขาถ้ำพระอันเป็นโบราณสถานได้ จำเลยในฐานะเจ้าสำนักหุบผาสวรรค์ย่อมได้รับประโยชน์จากการอนุญาตนั้นด้วยจำเลยจึงเป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว แม้ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ที่เขาหรือภูเขาและปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขา 40 เมตรทุกแห่งทุกจังหวัดเป็นที่หวงห้ามซึ่งกินความถึงบริเวณที่กรมศิลปากรอนุญาตเช่นว่านั้นด้วย ก็หามีผลเป็นการห้ามมิให้จำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินบริเวณนั้นไม่การปลูกสร้างของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108,108 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3918/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์: ความแตกต่างขององค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินก่อนและหลังประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 96
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ของรัฐ ภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับแล้ว ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐประเภทสาธารณประโยชน์แปลงเดียวกัน โดยบุกรุกตั้งแต่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ฯ ใช้บังคับ อันเป็นความผิดที่มีองค์ประกอบแต่งต่างกันกล่าวคือ ความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ฯ ใช้บังคับจะมีความผิดต่อเมื่อได้รับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ออกจากที่ดินแล้วไม่ยอมออก ส่วนความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ฯ มีผลใช้บังคับ ผู้บุกรุกมีความผิดในทันทีที่บุกรุกที่ดินของรัฐ การกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนกับในคดีนี้จึงไม่ใช่ความผิดกรรมเดียวกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน - การบุกรุก - ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน - เหตุผลเชื่อว่ามีสิทธิครอบครอง
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปจากที่ดินของรัฐนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาว่าบุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ แล้ว เมื่อที่พิพาทยังไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ และจำเลยยึดถือครอบครองอยู่โดยเชื่อว่าตนมีสิทธิครอบครองต่อจากบิดา จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอ เพราะเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันกับที่วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 แม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยเชื่อว่ามีสิทธิ และความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีความผิด
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปจากที่ดินของรัฐนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาว่า บุคคลดังกล่าวได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ แล้ว เมื่อที่พิพาทยังไม่อาจฟังได้แน่ชัดว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์และจำเลยยึดถือครอบครองอยู่โดยเชื่อว่าตนมีสิทธิครอบครองต่อจากบิดา จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ การที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอเพราะเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันกับที่วินิจฉัยมาแล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 แม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา215 และ 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกพื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินด้วยการไถพูนดินและปลูกต้นมะพร้าว การลงโทษตามกฎหมายที่ดิน
จำเลยเข้าไปไถพูนดินและปลูกต้นมะพร้าวในบริเวณที่น้ำท่วมถึงอันเป็นหนองน้ำสาธารณะซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และยังคงอยู่ในที่ไม่ยอมรื้อถอนต้นมะพร้าวเมื่อนายอำเภอแจ้งให้ออกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสองประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ข้อ 11 แต่จะลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365 หาได้ไม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งประสงค์ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ใช่ลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งการกระทำของจำเลยเป็นเพียงเข้าไปถือเอาประโยชน์ในที่สาธารณประโยชน์ ไม่ได้ประสงค์จะเข้าไปทำให้ที่นั้นเสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์ จึงลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360 ไม่ได้อีกเช่นกัน