พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้น, บันทึกข้อตกลง, และการระงับข้อพิพาท: สิทธิในการเรียกร้องหุ้นคืนหลังทำข้อตกลงประนีประนอม
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุว่าการบังคับตามคำพิพากษาไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ได้เพราะจำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จึงไม่มีอำนาจแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1139 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องว่าอ้าง จำเลยที่ 2 จัดทำสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์แล้วนำหุ้นของโจทก์ที่ลดลงไปเพิ่มในสัดส่วนการถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ แล้วศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 โอนหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อโดยไม่ชอบขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และข้อบังคับของจำเลยที่ 1 การโอนหุ้นตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยที่ 1 แก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้โจทก์กลับมาถือหุ้นของโจทก์ตามเดิม ซึ่งเลขหมายใบหุ้นบางส่วนเป็นหุ้นที่จำเลยที่ 2 ถือครองอยู่ และบางส่วนเป็นหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนไปให้บุคคลอื่นแล้ว คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงเป็นการกระทบสิทธิของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวโดยตรง จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
เมื่อเริ่มจัดตั้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญรับชำระเงินลงหุ้นซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับเงินไว้มาแสดง และจำเลยที่ 2 นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ในการปรับลดหุ้นของโจทก์ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เคารพสิทธิของโจทก็ในการเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักเชื่อได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งอ้างว่ากระทำโดยไม่ชอบ
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นคนใดรวมถึงโจทก์แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์หลายครั้งและสุดท้ายไม่ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์โอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เดิม
หลังจากเกิดข้อพาทเกี่ยวกับการโอนหุ้นโดยมิชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้เจรจาและทำบันทึกข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 2 ตกลงยกหุ้นของตนในบริษัทจำเลยที่ 1 บางส่วนให้แก่โจทก์และพี่สาวโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงปฏิบัติตามที่ได้ตกลงกัน ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ทำสัญญานี้ ทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจฟ้องร้องดำเนินคดีหรือเรียกร้องสิ่งอื่นใดต่อกันอีก ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 อันมีผลให้ข้อเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิมนั้นได้ระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนให้แก่ตนเองโดยมิชอบได้ คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 โอนหุ้นตามบันทึกข้อตกลงเท่านั้น แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และทางพิจารณามีการนำสืบต่อสู้เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงมาแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ เมื่อปรากฏตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นว่า จำเลยที่ 2 ยังถือหุ้นจำเลยที่ 1 ซึ่งสามารถโอนให้แก่โจทก์ได้ จึงชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลง
เมื่อโจทก์ทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 แล้ว ย่อมมีผลผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม การจะเลิกบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาจะกระทำได้ต่อเมื่อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจบอกเลิกโดยอำเภอใจ เมื่อบันทึกข้อตกลงไม่ได้ให้สิทธิคู่สัญญาที่จะบอกเลิกข้อตกลงและไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะบอกเลิกข้อตกลงแล้ว การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 จึงคงต้องผูกพันและปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
เมื่อเริ่มจัดตั้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญรับชำระเงินลงหุ้นซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับเงินไว้มาแสดง และจำเลยที่ 2 นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ในการปรับลดหุ้นของโจทก์ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เคารพสิทธิของโจทก็ในการเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักเชื่อได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งอ้างว่ากระทำโดยไม่ชอบ
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นคนใดรวมถึงโจทก์แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์หลายครั้งและสุดท้ายไม่ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์โอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เดิม
หลังจากเกิดข้อพาทเกี่ยวกับการโอนหุ้นโดยมิชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้เจรจาและทำบันทึกข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 2 ตกลงยกหุ้นของตนในบริษัทจำเลยที่ 1 บางส่วนให้แก่โจทก์และพี่สาวโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงปฏิบัติตามที่ได้ตกลงกัน ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ทำสัญญานี้ ทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจฟ้องร้องดำเนินคดีหรือเรียกร้องสิ่งอื่นใดต่อกันอีก ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 อันมีผลให้ข้อเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิมนั้นได้ระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนให้แก่ตนเองโดยมิชอบได้ คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 โอนหุ้นตามบันทึกข้อตกลงเท่านั้น แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และทางพิจารณามีการนำสืบต่อสู้เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงมาแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ เมื่อปรากฏตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นว่า จำเลยที่ 2 ยังถือหุ้นจำเลยที่ 1 ซึ่งสามารถโอนให้แก่โจทก์ได้ จึงชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลง
เมื่อโจทก์ทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 แล้ว ย่อมมีผลผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม การจะเลิกบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาจะกระทำได้ต่อเมื่อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจบอกเลิกโดยอำเภอใจ เมื่อบันทึกข้อตกลงไม่ได้ให้สิทธิคู่สัญญาที่จะบอกเลิกข้อตกลงและไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะบอกเลิกข้อตกลงแล้ว การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 จึงคงต้องผูกพันและปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด สัญญาซื้อขายหุ้นที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ป. น. และ ส. มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขายในสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขและไม่มีหลักฐานว่าได้มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้ขายหุ้นของตนหรือ บริษัท ก. เป็นผู้ขายหุ้นของ ป. น. และ ส. ถือไม่ได้ว่า ป. น. และ ส. ได้ขายหุ้นของตนให้แก่โจทก์ สัญญาขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพัน ป. น. และ ส. โจทก์ไม่มีตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ ป. น. และ ส. โอนให้แก่โจทก์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง มาแสดง ถือไม่ได้ว่าหุ้นของ ป. น. และ ส. ได้โอนไปยังโจทก์แล้ว ป. น. และ ส. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ก.
สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตามข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นาย ว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสารการโอนหุ้นตาม มาตรา 1129 วรรคสอง ป. น. และ ส. จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.
สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตามข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นาย ว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสารการโอนหุ้นตาม มาตรา 1129 วรรคสอง ป. น. และ ส. จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงบริษัท: การถือหุ้น, การประชุมผู้ถือหุ้น, และการประทับตราบริษัท
ป.น.และส.มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขายในสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขและไม่มีหลักฐานว่าได้มอบอำนาจ ให้จำเลยเป็นผู้ขายหุ้นของตนหรือ บริษัทก. เป็นผู้ขายหุ้นของป.น.และส.ถือไม่ได้ว่าป.น.และส. ได้ขายหุ้นของตนให้แก่โจทก์ สัญญาขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพัน ป.น. และส.โจทก์ไม่มีตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ป.น. และส. โอนให้แก่โจทก์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้โอน กับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็น อย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง มาแสดง ถือไม่ได้ว่าหุ้นของป.น.และส.ได้โอนไปยังโจทก์แล้วป.น.และส. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทก. สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขาย ได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตาม ข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นายว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อ นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสองเพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสาร การโอนหุ้นตามมาตรา 1129 วรรคสอง ป.น.และส.จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งโอนหุ้นเป็นโมฆะ ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแจ้งความเท็จ ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงเฉพาะคดีแพ่ง
คดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมการโอนหุ้นของบริษัท ย.โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนเป็นโมฆะ เพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้โอนหุ้นในหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัด โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม สิทธิฟ้องคดีในคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด ทั้งคู่ความในคดีส่วนอาญากับคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งมิได้เป็นคู่ความรายเดียวกัน เพราะ จำเลยที่ 2ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีส่วนอาญา และประเด็นแห่งคดีในคดีส่วนอาญามีประเด็นว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัดโดยปลอมลายมือชื่อโจทก์โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีนี้จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.วิ.อ.มาตรา 46 ที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยการปลอมลายมือชื่อเป็นโมฆะ แม้คดีอาญายกฟ้อง ศาลแพ่งยังสามารถพิจารณาจากหลักฐานอื่นได้
คดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมการโอนหุ้นของบริษัทย.โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนเป็นโมฆะ เพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้โอนหุ้นในหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัด โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม สิทธิฟ้องคดีในคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด ทั้งคู่ความในคดีส่วนอาญากับคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งมิได้เป็นคู่ความรายเดียวกัน เพราะจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีส่วนอาญา และประเด็นแห่งคดีในคดีส่วนอาญามีประเด็นว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครหรือไม่ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัดโดยปลอมลายมือชื่อโจทก์โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการพิพากษาคดีนี้จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46ที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องเป็นไปตามข้อบังคับและกฎหมาย หากไม่ถูกต้อง การโอนหุ้นนั้นไม่มีผลผูกพัน
ตามข้อบังคับของจำเลยที่1กำหนดไว้ว่าการโอนหุ้นจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนรวมทั้งระบุชื่อและที่อยู่ของผู้รับโอนให้ชัดแจ้งโดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อรับรองและจดแจ้งการโอนทั้งลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองบัญญัติว่าการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้นถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้นๆด้วยแล้วท่านว่าเป็นโมฆะอนึ่งตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วยแต่ตามหลักฐานใบโอนหุ้นตามคำฟ้องโจทก์และใบสำคัญการโอนหลักทรัพย์คงมีแต่ลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัทอ. ไม่มีรายชื่อผู้รับโอนและพยานลงลายมือชื่อรับรองไม่เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่1และบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับบริษัทอ.จึงไม่มีผลใช้ยันจำเลยที่1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นไม่เป็นไปตามข้อบังคับบริษัทและกฎหมาย ทำให้การโอนหุ้นไม่สมบูรณ์
ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ว่า การโอนหุ้นจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน รวมทั้งระบุชื่อและที่อยู่ของผู้รับโอนให้ชัดแจ้ง โดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อรับรอง และจดแจ้งการโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129 วรรคสอง บัญญัติว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่งตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย แต่ตามหลักฐานใบโอนหุ้นตามคำฟ้องโจทก์และใบสำคัญการโอนหลักทรัพย์คงมีแต่ลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัท อ. ไม่มีรายชื่อผู้รับโอนและพยานลงลายมือชื่อรับรอง ไม่เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงไม่มีผลใช้ยันจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นแบบมีเงื่อนไข: เจตนาคู่สัญญา, แบบตามกฎหมาย, สิทธิผู้รับโอน, การซื้อขายหุ้น
หุ้นพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นทั้งหมดที่จำเลยได้ลงชื่อในแบบโอนลอยให้แก่ธ. ไปหากธ. ประสงค์ต้องการมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นก็จะต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้รับโอนแล้วไปแก้ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นตามระเบียบได้และถ้าธ. ไม่ต้องการมีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นธ. สามารถโอนหุ้นดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นต่อไปได้เมื่อปรากฏต่อมาอีกว่าธ. ได้แบ่งโอนหุ้นบางส่วนให้แก่บุตรสาวคนหนึ่งซึ่งได้ดำเนินการเปลี่ยนและโอนใบหุ้นเป็นชื่อของตนแล้วจึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นชัดว่าการโอนหุ้นระหว่างจำเลยและธ. แบบโอนลอยนั้นคู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอนที่จะเลือกปฏิบัติได้ว่าหากประสงค์จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดก็จะต้องปฏิบัติตามแบบแห่งกฎหมายให้ถูกต้องต่อไปแต่หากยังไม่ประสงค์จะให้มีผลเสร็จเด็ดขาดก็อาจโอนลอยต่อให้บุคคลอื่นไปปฏิบัติต่อไปได้กล่าวโดยชัดแจ้งคือเป็นการแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดโดยฝ่ายจำเลยผู้โอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนฝ่ายตนแล้วมอบให้ฝ่ายผู้รับโอนไปเลือกปฏิบัติภายหลังให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไปโดยลำพังได้การโอนลอยหุ้นให้แก่ธ. จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนแล้วเป็นขั้นตอนแรกเท่านั้นยังมิได้เป็นขั้นตอนการโอนที่เสร็จเด็ดขาดและความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองที่บัญญัติว่าการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนมีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้นเป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้นหาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้นจึงมิอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนต่อในช่วงสุดท้ายยังอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิในหุ้นพิพาทที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นแบบโอนลอย: เจตนาคู่กรณีและผลทางกฎหมาย
หุ้นพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นทั้งหมดที่จำเลยได้ลงชื่อในแบบโอนลอยให้แก่ ธ.ไป หาก ธ.ประสงค์ต้องการมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้น ก็จะต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้รับโอนแล้วไปแก้ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นตามระเบียบได้ และถ้า ธ.ไม่ต้องการมีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้น ธ.สามารถโอนหุ้นดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นต่อไปได้ เมื่อปรากฏต่อมาอีกว่า ธ.ได้แบ่งโอนหุ้นบางส่วนให้แก่บุตรสาวคนหนึ่งซึ่งได้ดำเนินการเปลี่ยนและโอนใบหุ้นเป็นชื่อของตนแล้ว จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นชัดว่า การโอนหุ้นระหว่างจำเลยและ ธ.แบบโอนลอยนั้น คู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอนที่จะเลือกปฏิบัติได้ว่า หากประสงค์จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดก็จะต้องปฏิบัติตามแบบแห่งกฎหมายให้ถูกต้องต่อไป แต่หากยังไม่ประสงค์จะให้มีผลเสร็จเด็ดขาด ก็อาจโอนลอยต่อให้บุคคลอื่นไปปฏิบัติต่อไปได้ กล่าวโดยชัดแจ้งคือ เป็นการแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดโดยฝ่ายจำเลยผู้โอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนฝ่ายตนแล้วมอบให้ฝ่ายผู้รับโอนไปเลือกปฏิบัติภายหลังให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไปโดยลำพังได้ การโอนลอยหุ้นให้แก่ ธ.จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนแล้วเป็นขั้นตอนแรกเท่านั้น ยังมิได้เป็นขั้นตอนการโอนที่เสร็จเด็ดขาด และความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1129วรรคสอง ที่บัญญัติว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้นเป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว ยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ ป.พ.พ.บัญญัติไว้เท่านั้น จึงมิอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนต่อในช่วงสุดท้ายยังอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิในหุ้นพิพาทที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องทำตามแบบการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และไม่จำเป็นต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
การซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์มิใช่การซื้อขายหุ้นตามปกติธรรมดาไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129และการตั้งตัวแทนเพื่อซื้อและขายหุ้นดังกล่าวก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมีมูลหนี้จากที่จำเลยที่1กู้ยืมเงินจากโจทก์หาใช่ฟ้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้กู้ยืมเงินโดยตรงไม่จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานต่อศาล