คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 10 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องโทรศัพท์ไร้สาย และอำนาจประเมินภาษีเพิ่มเติมของเจ้าหน้าที่
สินค้าพิพาทต้องใช้คู่สายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงจะใช้งานได้ จึงต้องจัดเข้าอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10เพราะพิกัดนี้เป็นพิกัดย่อยของพิกัดใหญ่ประเภทที่ 85.17ซึ่งระบุว่าได้แก่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์หรือโทรเลขแบบใช้สาย เมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10 อัตราภาษีร้อยละ 40 แต่จำเลยที่ 1 สำแดงและชำระภาษีอากรในประเภทพิกัดที่ 8525.20 อัตราภาษีร้อยละ 5จำเลยที่ 1 จึงชำระภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้องได้ มิพักต้องคำนึงว่าการประเมินผิดพลาดในชั้นแรกที่ตรวจปล่อยสินค้านั้นเป็นการกระทำโดยสุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ ทั้งมิใช่เป็นการบังคับใช้กฎหมายให้มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่จำเลย เนื่องจากหน้าที่เสียค่าภาษีของจำเลยเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเพิ่มเติม: สินค้าต้องใช้คู่สายโทรศัพท์ จัดอยู่ในพิกัด 8517.10 แม้การตรวจปล่อยในชั้นแรกจะผิดพลาด
สินค้าพิพาทต้องใช้คู่สายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงจะใช้งานได้ จึงต้องจัดเข้าอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10 เพราะพิกัดนี้เป็นพิกัดย่อยของพิกัดใหญ่ประเภทที่ 85.17 ซึ่งระบุว่าได้แก่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์หรือโทรเลขแบบใช้สาย เมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่8517.10 อัตราภาษีร้อยละ 40 แต่จำเลยที่ 1 สำแดงและชำระภาษีอากรในประเภทพิกัดที่ 8525.20 อัตราภาษีร้อยละ 5 จำเลยที่ 1 จึงชำระภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1ชำระเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้องได้ มิพักต้องคำนึงว่าการประเมินผิดพลาดในชั้นแรกที่ตรวจปล่อยสินค้านั้นเป็นการกระทำโดยสุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ทั้งมิใช่เป็นการบังคับใช้กฎหมายให้มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่จำเลย เนื่องจากหน้าที่เสียค่าภาษีของจำเลยเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนทางศุลกากร: ตัวแทนมีสถานะเป็นเจ้าของสินค้าและต้องรับผิดชอบค่าภาษีอากร
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินสำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ถือว่าการประเมินสำหรับภาษีดังกล่าวยุติแล้ว จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งในศาลอีกต่อไป และประเด็นข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้นำของเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ลงชื่อในบันทึกการตรวจยึดสินค้า อีกทั้งยังเป็นผู้รับสินค้าไปจากการตรวจปล่อยของโจทก์ที่ 1 ด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1เจ้าของสินค้าให้เป็นตัวแทนเพื่อปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และจำเลยที่ 3 ก็ได้รับอนุมัติจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรให้เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1เพื่อดำเนินการนำเข้าเกี่ยวกับสินค้ารายนี้แล้ว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 106 ซึ่งให้ถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของสินค้าที่นำเข้าในครั้งนี้ด้วยจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า เมื่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 106 บัญญัติให้ตัวแทนเป็นเจ้าของสินค้าด้วย ก็ต้องถือว่ามีความประสงค์ให้ตัวแทนมีความรับผิดเช่นเดียวกับเจ้าของสินค้าอันแท้จริงและตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ถ้าค่าภาษีที่ได้เสียไว้ไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องเสียจริง กรมศุลกากรมีสิทธิเรียกเก็บส่วนที่ขาดจนครบ ดังนั้น แม้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 จะได้ตรวจปล่อยสินค้าไปแล้ว หากปรากฏว่าค่าภาษีอากรที่เสียไว้ไม่ครบถ้วน โจทก์ที่ 1 ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้เจ้าของสินค้าหรือตัวแทนร่วมกันรับผิดชำระส่วนที่ขาดจนครบถ้วนได้ความรับผิดของตัวแทนที่ถือว่าเป็นเจ้าของสินค้าหาได้สิ้นสุดลงเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากสินค้าที่ผ่านการชำระภาษีแล้ว โจทก์ต้องพิสูจน์การวิเคราะห์สินค้าที่ถูกต้อง
จำเลยนำสินค้าคาร์บอลสตีลราวน์บาร์ล โลหะเหล็กกล้าชนิดแอลลอยประเภทพิกัดที่73.15ง. เข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2517 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ผ่านใบขนสินค้าและรับชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จำเลยนำสินค้าโลหะเหล็กกล้าชนิดแอลลอยที่มีชื่ออย่างเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรอีก เจ้าหน้าที่โจทก์ได้ตรวจสอบวิเคราะห์สินค้าดังกล่าว แล้วเรียกเก็บอากรขาเข้าในประเภทพิกัด73.10 โจทก์จะเอาผลการวิเคราะห์สินค้าที่จำเลยนำเข้าในปี พ.ศ. 2518 ไปเรียกให้จำเลยชำระอากรเพิ่มเติมในพิกัดที่ 73.10 สำหรับสินค้าที่จำเลยนำเข้าเมื่อวันที่ 1ธันวาคม 2517 หาได้ไม่.