คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 223

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลของอธิบดีกรมศุลกากรและการใช้ดุลพินิจตามระเบียบ หากถูกต้องตามขั้นตอนและไม่ประมาทเลินเล่อไม่ต้องคืนเงิน
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ 2 ที่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลตามบันทึกเสนอของจำเลยที่ 5 เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งห้าสิบเจ็ดจึงต้องคืนเงินรางวัลแก่โจทก์ตามส่วนที่จำเลยแต่ละคนรับไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามฟ้องจึงตั้งฐานมาจากคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยแต่ละคนมีจำนวนเงินที่แน่นอน แต่โจทก์ก็ยังมีคำขอให้จำเลยที่ 2และที่ 5 ร่วมกันชดใช้เงินรางวัลทั้งหมดแทนจำเลยอื่น ทั้งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 ร่วมกันชดใช้แทนจำเลยอื่นด้วย จำเลยทุกคนจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีอันมีทุนทรัพย์ทั้งหมดตามที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทุกคนซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 จึงมิใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ทั้งจำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 ก็ได้อุทธรณ์ด้วยว่า อำนาจการสั่งจ่ายเงินรางวัลเป็นอำนาจโดยเฉพาะตัวของอธิบดีกรมศุลกากรเป็นอำนาจทางด้านการบริหารราชการและเป็นอำนาจเด็ดขาดของอธิบดีกรมศุลกากรไม่อาจถูกเพิกถอนได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมาย ซึ่งหาได้ต้องห้ามอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์จำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดของจำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 ด้วยเหตุที่อ้างว่าอุทธรณ์จำเลยที่ 50 ถึงที่ 57ต้องห้ามอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง กรณีไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่จำเลยที่ 50 ถึงที่ 57
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี บัญญัติว่า"ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลตามระเบียบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด..." และระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ข้อ 4 (1) กำหนดว่า "กรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 1คือความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำกัดในการนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในกรณีที่มีผู้แจ้งความนำจับ ให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนร้อยละ 30 เป็นเงินรางวัลร้อยละ 25 กรณีที่ไม่มีผู้แจ้งความนำจับให้หักจ่ายเป็นรางวัลร้อยละ 30 โดยคำนวณจากค่าปรับ" ส่วนข้อ 6 (5) กำหนดว่า"เงินรางวัลตามข้อ 4 (1) และ (2) ให้จ่ายแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้...(5) เงินรางวัลจะไม่จ่ายให้ในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาเห็นว่าความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วเช่น เป็นความผิดเกี่ยวกับพิธีการหรือเอกสาร เป็นต้น" บทบัญญัติของกฎหมายและข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าอธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามจำนวนในข้อ 4 (1)ส่วนข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลคงเป็นไปตามข้อ 6 (5) คือในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาเห็นว่า ความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรที่จะใช้ดุลพินิจได้โดยลำพังว่า ความผิดที่เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้มีการจ่ายเงินรางวัลนั้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วหรือไม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาเป็นเงื่อนไขเด็ดขาดที่จะต้องงดการจ่ายเงินรางวัลดังเช่นที่กำหนดไว้ในข้อ 11และข้อ 12 แห่งระเบียบดังกล่าวข้างต้นไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการกระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำกัดในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร อันมีผลทำให้มีการจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ. 2517 ข้อ 4 (1) และจำเลยที่ 2ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาสั่งให้จ่ายเงินรางวัลโดยไม่ได้ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรหรืออธิบดีกรมศุลกากรในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า ความผิดที่เกิดขึ้นจากการตรวจจับสินค้ารายพิพาทนี้เป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้ว และสั่งมิให้จ่ายเงินรางวัลแต่ประการใดคำสั่งให้จ่ายเงินรางวัลของจำเลยที่ 2 จึงหาเป็นคำสั่งที่ผิดต่อระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ.2517 ไม่ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 57 จึงไม่ต้องคืนเงินรางวัลแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง /เมื่อ
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมศุลการปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมศุลการได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุที่จะอนุมัติจ่ายเงินรางวัลได้ตามระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ.2517 และเห็นว่ามิใช่เป็นกรณีความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้ว จึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลแก่จำเลยทั้งห้าสิบเจ็ดไปเมื่อจำเลยที่ 2 ได้ใช้ดุลพินิจสั่งอนุมัติจ่ายเงินรางวัลโดยทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจับกุมสินค้าและการเสนอขออนุมัติเบิกเงินรางวัลได้กระทำโดยถูกต้องตามขั้นตอนตามระเบียบการปฏิบัติราชการแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ดุลพินิจโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จ: คำนิยาม 'เงินเดือน' ไม่รวมค่าครองชีพ และการอุทธรณ์ต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าระเบียบเงินบำเหน็จขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงไม่มีผลใช้บังคับนั้นโจทก์มิได้กล่าวเรื่องนี้มาในคำฟ้องจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานแม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ระเบียบเงินบำเหน็จของจำเลยได้ให้คำนิยามเงินบำเหน็จว่าเงินตอบแทนที่จำเลยจ่ายให้พนักงานเมื่อออกจากงานเงินบำเหน็จจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานนอกเหนือไปจากค่าจ้างตามที่กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานบัญญัติไว้และตามระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดวิธีคำนวณเงินบำเหน็จว่าให้เอาเงินเดือนเดือนสุดท้ายตั้งแล้วคูณด้วยจำนวนปีและเศษของปีตามปฏิทินของเวลาทำงานทั้งได้ให้คำจำกัดความคำว่าเงินเดือนไว้ว่าหมายถึงเงินเดือนหรือค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานแต่ละคนเป็นรายเดือนหรือรายงวดจะเห็นว่าถ้อยคำคำว่าเงินเดือนในระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดให้หมายถึงเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงเท่านั้นหาได้มีความหมายให้นำประโยชน์อื่นๆที่ลูกจ้างได้รับเป็นการตอบแทนการทำงานเข้ามารวมเป็นเงินเดือนด้วยไม่เมื่อเป็นเช่นนี้เงินเดือนตามระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวจึงไม่รวมถึงเงินค่าครองชีพจะนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จหาได้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จไม่รวมค่าครองชีพ – อุทธรณ์ไม่ชอบ หากมิได้ยกข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ระเบียบเงินบำเหน็จขัดต่อประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงไม่มีผลใช้บังคับนั้น โจทก์มิได้กล่าวเรื่องนี้มาในคำฟ้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานแม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
ระเบียบเงินบำเหน็จของจำเลยได้ให้คำนิยาม เงินบำเหน็จว่าเงินตอบแทนที่จำเลยจ่ายให้พนักงานเมื่อออกจากงาน เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานนอกเหนือไปจากค่าจ้างตามที่กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานบัญญัติไว้ และตามระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดวิธีคำนวณเงินบำเหน็จว่า ให้เอาเงินเดือนเดือนสุดท้ายตั้ง แล้วคูณด้วยจำนวนปีและเศษของปีตามปฏิทินของเวลาทำงาน ทั้งได้ให้คำจำกัดความคำว่า เงินเดือน ไว้ว่า หมายถึง เงินเดือนหรือค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานแต่ละคน เป็นรายเดือนหรือรายงวด จะเห็นว่า ถ้อยคำคำว่า เงินเดือน ในระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดให้หมายถึงเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงเท่านั้น หาได้มีความหมายให้นำประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกจ้างได้รับเป็นการตอบแทนการทำงานเข้ามารวมเป็นเงินเดือนด้วยไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินเดือนตามระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวจึงไม่รวมถึงเงินค่าครองชีพ จะนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จหาได้ไม่
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินบำเหน็จจากระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และการไม่อุทธรณ์ประเด็นที่ศาลชั้นต้นตัดสินแล้ว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ระเบียบเงินบำเหน็จขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงไม่มีผลใช้บังคับนั้น โจทก์มิได้กล่าวเรื่องนี้มาในคำฟ้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานแม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ระเบียบเงินบำเหน็จของจำเลยได้ให้คำนิยาม เงินบำเหน็จว่าเงินตอบแทนที่จำเลยจ่ายให้พนักงานเมื่อออกจากงาน เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานนอกเหนือไปจากค่าจ้างตามที่กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานบัญญัติไว้ และตามระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดวิธีคำนวณเงินบำเหน็จว่า ให้เอาเงินเดือนเดือนสุดท้ายตั้ง แล้วคูณด้วยจำนวนปีและเศษของปีตามปฏิทินของเวลาทำงาน ทั้งได้ให้คำจำกัดความคำว่า เงินเดือนไว้ว่า หมายถึง เงินเดือนหรือค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานแต่ละคน เป็นรายเดือนหรือรายงวด จะเห็นว่าถ้อยคำคำว่า เงินเดือน ในระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดให้หมายถึงเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงเท่านั้นหาได้มีความหมายให้นำประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกจ้างได้รับเป็นการตอบแทนการทำงานเข้ามารวมเป็นเงินเดือนด้วยไม่เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินเดือนตามระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวจึงไม่รวมถึงเงินค่าครองชีพ จะนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จหาได้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการอุทธรณ์/ฎีกาของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง และการยกประเด็นโดยศาลฎีกา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง ก. และ พ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ก. มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ถูกกระทบสิทธิโดยคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือว่า ก. เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่อยู่ในฐานะที่จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อขอให้ตั้ง ก. เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชั้นการอุทธรณ์คำสั่งศาล: คำสั่งเกี่ยวกับบังคับคดีต้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก่อน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ซึ่งมิได้บัญญัติให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกาได้เลย ดังนั้นโจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกาโดยตรงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีก่อนยังไม่สิ้นสุด แม้มีการอุทธรณ์ภายในกำหนด
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้มาแล้ว โดยในคดีก่อนศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด หลังจากนั้นโจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในคดีก่อน และต่อมาก็ได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ ดังนี้ แม้คดีที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษา และคดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้คดีก่อนยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด กรณีจึงต้องถือว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่นั้นคดีก่อนของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีก่อนยังอยู่ระหว่างพิจารณา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์ทัน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกับกับคดีนี้มาแล้วโดยในคดีก่อนศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัดหลังจากนั้นโจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในคดีก่อนและต่อมาก็ได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ดังนี้แม้คดีที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษาและคดีถึงที่สุดไปแล้วแต่เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดกรณีจึงต้องถือว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่นั้นคดีก่อนของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ได้ ศาลยกฟ้อง
ตามฟ้องและคำให้การมีประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาททั้งหกสายเป็นทางสาธารณะหรือไม่และในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นสมประโยชน์แก่จำเลยแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดต้องสุจริต ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นได้ การอ้างพยานหลักฐานใหม่ในชั้นฎีกาไม่ชอบ
การที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์ผู้ซื้อที่ดินแปลงพิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลเป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้หรือไม่จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยสุจริตตามที่มาตรา1330แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้หรือไม่เป็นสำคัญดังนั้นเมื่อโจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าโจทก์เป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยการซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบศาลอุทธรณ์ภาค2ก็ชอบที่จะวินิจฉัยว่าการซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลชั้นต้นของโจทก์กระทำโดยสุจริตหรือไม่ เมื่อคำเบิกความของโจทก์ในคดีอาญาตามที่จำเลยแนบมาท้ายฎีกาซึ่งมีใจความแสดงว่าโจทก์เป็นผู้ไม่สุจริตในการซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยเพิ่งอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 33