พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกดอกเบี้ยตามฟ้อง แม้ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ศาลชั้นต้นให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยในอัตราตามฟ้องได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหานี้เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา กู้เบิกเงินเกินบัญชี ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน
โจทก์ฟ้องขอ ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ศาลชั้นต้นให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยในอัตราตามฟ้องได้หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหานี้เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5713/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดและการปฏิบัติตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณามีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาด เป็นวิธีการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี หากจำเลยทั้งสองเห็นว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบและตนเองได้รับความเสียหาย ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีเสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า8 วัน นับแต่ทราบการฝ่าฝืน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งสอง หรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะหรือขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใด ๆ แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27และมาตรา 296 วรรคสอง เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา การเลือกใช้สิทธิอุทธรณ์หรือยื่นคำร้องใหม่ และพฤติการณ์ประวิงคดี
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและเห็นว่าพยานจำเลยที่นำสืบมาแล้วฟังได้ว่าจำเลยไม่ยากจนมีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ ให้ยกคำร้อง จำเลยชอบที่จะขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน เมื่อจำเลยเลือกยื่นคำขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานมาแสดงเพิ่มเติม จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนไต่สวนอีกทางหนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มิได้บังคับว่า เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนนั้น ศาลจะต้องอนุญาต แต่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่ก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานที่จำเลยจะขอนำสืบเพิ่มเติม เป็นพยานหลักฐานเดิมที่จำเลยสามารถนำเข้าสืบได้ในชั้นไต่สวนคำร้องอยู่แล้ว แต่จำเลยไม่พยายามนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาศาลโดยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวคดีให้ล่าช้า อันมีลักษณะประวิงคดีพฤติการณ์จึงไม่สมควรอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการอุทธรณ์ สิทธิอุทธรณ์เป็นรายบุคคล
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 1 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ได้ กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้ส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา79 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1ทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่มาศาล ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันนัดดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ยอมรับตามคำร้องว่าได้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งเดิมแต่ให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบหรือฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม2534 จึงชอบแล้ว ไม่มีเหตุต้องดำเนินกระบวนพิจารณาแจ้งวัดนัดให้จำเลยที่ 1มาฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่
การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2534 นั้น มีผลเฉพาะจำเลยที่ 1 เพราะการอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความรายใดฟังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป ไม่มีผลถึงการอ่านให้คู่ความรายอื่นที่ได้ฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยชอบแล้ว สิทธิในการอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จะถือตามสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2534 นั้น มีผลเฉพาะจำเลยที่ 1 เพราะการอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความรายใดฟังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป ไม่มีผลถึงการอ่านให้คู่ความรายอื่นที่ได้ฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยชอบแล้ว สิทธิในการอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จะถือตามสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดฟังคำสั่งล้มละลายที่ไม่ชอบ และสิทธิอุทธรณ์ของลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 1 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ได้ กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้ส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่มาศาล ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันนัดดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ยอมรับตามคำร้องว่าได้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งเดิมแต่ให้ถือว่าจำเลยที่ 1ทราบหรือฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534จึงชอบแล้ว ไม่มีเหตุต้องดำเนินกระบวนพิจารณาแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 มาฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2534 นั้น มีผลเฉพาะจำเลยที่ 1เพราะการอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความรายใดฟังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป ไม่มีผลถึงการอ่านให้คู่ความรายอื่นที่ได้ฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยชอบแล้ว สิทธิในการอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 2และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดนับแต่วันที่ทราบคำสั่งจะถือตามสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5635/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำลอง, ความรับผิดของตัวการและผู้บริหาร, ละเมิด, ประมาทเลินเล่อ, อายุความ
โจทก์มีมติให้รับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกที่ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบ เช่นนี้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้แทนโจทก์ การที่ศ.ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกแล้วนำมาเก็บไว้ที่ฉางข้าวของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้มอบหมายให้ ศ.ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง แต่การที่ศ.นำข้าวเปลือกจำนวนมากมาเก็บไว้ในฉางข้าวของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นในการกระทำของ ศ.ด้วยแล้วนั้น ตามพฤติการณ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ศ.แสดงว่าโจทก์ได้เชิดหรือรู้แล้วยอมให้ ศ.เชิดตนเองเป็นตัวแทนของโจทก์ในการออกไปรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิก เมื่อสมาชิกที่นำข้าวเปลือกมาขายได้รับเงินไม่ครบถ้วน โจทก์ในฐานะตัวการย่อมต้องรับผิดในอันที่จะต้องชดใช้เงินค่าข้าวเปลือกต่อสมาชิกดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
การที่ ศ.เบียดบังนำข้าวเปลือกบางส่วนออกขายแล้วนำทรายมาเจือปนทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเรียกร้องค่าเสียหายจาก ศ.ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ได้
หากจำเลยได้เรียกหลักประกันจาก ศ.ขณะที่รับ ศ.เข้าทำงานตามระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมบังคับเอาจากหลักประกันดังกล่าวได้ การที่จำเลยทั้งสิบห้าไม่เรียกหลักประกันไว้เช่นนี้ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยทั้งสิบห้าจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสิบห้ารับผิดเนื่องจากไม่เรียกหลักประกันขาดอายุความแล้ว โจทก์อุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสิบห้ารับผิดเนื่องจากไม่เรียกหลักประกันขาดอายุความ ดังนี้ คดีจึงเป็นอันยุติแล้วว่าฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไม่ขาดอายุความ การที่จำเลยทั้งสิบห้าฎีกาในข้อนี้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความอีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
การที่ ศ.เบียดบังนำข้าวเปลือกบางส่วนออกขายแล้วนำทรายมาเจือปนทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเรียกร้องค่าเสียหายจาก ศ.ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ได้
หากจำเลยได้เรียกหลักประกันจาก ศ.ขณะที่รับ ศ.เข้าทำงานตามระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมบังคับเอาจากหลักประกันดังกล่าวได้ การที่จำเลยทั้งสิบห้าไม่เรียกหลักประกันไว้เช่นนี้ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยทั้งสิบห้าจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสิบห้ารับผิดเนื่องจากไม่เรียกหลักประกันขาดอายุความแล้ว โจทก์อุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสิบห้ารับผิดเนื่องจากไม่เรียกหลักประกันขาดอายุความ ดังนี้ คดีจึงเป็นอันยุติแล้วว่าฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไม่ขาดอายุความ การที่จำเลยทั้งสิบห้าฎีกาในข้อนี้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความอีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5635/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการในการรับพนักงานโดยมิได้ทำสัญญา/เรียกหลักประกัน และผลของการเพิกเฉยต่อระเบียบ
โจทก์มีมติให้รับซื้อข้างเปลือกจากสมาชิกที่ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบ เช่นนี้จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้แทนโจทก์ การที่ ศ.ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกแล้วนำมาเก็บไว้ที่ฉางข้าวของโจทก์แม้โจทก์จะมิได้มอบหมายให้ ศ. ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง แต่การที่ ศ. นำข้าวเปลือกจำนวนมากมาเก็บไว้ในฉางข้าวของโจทก์ และจำเลยที่ 1ได้รู้เห็นในการกระทำของ ศ. ด้วยแล้วนั้น ตามพฤติการณ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ศ. แสดงว่าโจทก์ได้เชิดหรือรู้แล้วยอมให้ ศ. เชิดตนเองเป็นตัวแทนของโจทก์ในการออกไปซื้อรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิก เมื่อสมาชิกที่นำข้าวเปลือกมาขายได้รับเงินไม่ครบถ้วน โจทก์ในฐานะตัวการย่อมต้องรับผิดในอันที่จะต้องชดใช้เงินค่าข้าวเปลือกต่อสมาชิกดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอก การที่ ศ. เบียดบังนำข้าวเปลือกบางส่วนออกขายแล้วนำทรายมาเจือปนทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเรียกร้องค่าเสียหายจาก ศ.ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ได้ หากจำเลยได้เรียกหลักประกันจาก ศ. ขณะที่รับศ. เข้าทำงานตามระเบียบของโจทก์ โจทก์ย่อมบังคับเอาจากหลักประกันดังกล่าวได้ การที่จำเลยทั้งสิบห้าไม่เรียกหลักประกันไว้เช่นนี้ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยทั้งสิบห้าจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสิบห้ารับผิดเนื่องจากไม่เรียกหลักประกันขาดอายุความแล้วโจทก์อุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสิบห้ารับผิดเนื่องจากไม่เรียกหลักประกันขาดอายุความ ดังนี้คดีนี้ เป็นอันยุติแล้วว่าฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไม่ขาดอายุความการที่จำเลยทั้งสิบห้าฎีกาในข้อนี้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความอีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีที่ไม่ถูกต้องและการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่กระทบสิทธิคู่ความ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าว โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132 (1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้วมีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจนและเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น